วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เก็บส่วย "น้ำ" จากคูคลอง ฤานี่คือจุดเริ่มต้น "สงครามประชาชน"

Tags

เตรียมเก็บ ส่วยน้ำ  จาก ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ..
น้ำสาธารณะ เท่านั้นหมายถึงแหล่งน้ำสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ครอบคลุม แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และไม่เกี่ยวกับแหล่งน้ำที่ประชาชน ขุดไว้ใช้เอง แต่ต้องเก็บกักได้เท่าที่จำเป็น เช่น กิจกรรมการเพาะปลูก สวนผลไม้ ถ้าถึงหน้าแล้ง ต้องมีระดับน้ำที่เหลือในจุดที่ยอมรับได้ ไม่ใช่เต็มตลอดเวลา และถ้าไม่ไปสูบน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ 
ค่าส่วยน้ำ ลูกบาศ์เมตรละ 0.50 บาท และหากใช้น้ำ 1000 ลูกบาศ์เมตร ก็เท่ากับ ค่าส่วยน้ำไร่ละ 500 บาท  และอัตราใช้น้ำต่อไร่ อ่านที่นี่  ภาคเหนือ   ภาคอีสาน   ภาคกลาง   ภาคตะวันออก   ภาคใต้

อ่านสัมภาษณ์พิเศษ 
"วรศาสน์ อภัยพงษ์" อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ต่อความพร้อมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ..โดยแบ่งการจัดสรรน้ำเป็น 3 ประเภท ยืนยันกลุ่มเกษตรกร จะถูกเก็บน้ำไม่เกิน 50 สตางค์ต่อลบ.ม. กำหนดเพดานปริมาณน้ำ ใครได้ประโยชน์ คาดประกาศใช้ปลายปีนี้
มีความชัดเจนว่า ประเทศไทยเข้าสู่ความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำ ทำให้รัฐบาลต้องมีกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ และผลักดันร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ...ที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช.หากมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายจะอยู่ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรนํ้าแห่งชาติ หรือ กนช.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่สำคัญการจัดสรรน้ำเป็นหนึ่งหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ

ทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ต่อประเด็นที่ยังมีข้อสงสัย ทั้งความเป็นธรรมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ ใครจะได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงตัวเลข อัตราจัดเก็บค่าใช้น้ำในภาคส่วนต่างๆ

ความแตกต่างของร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำฉบับนี้


สิ่งที่สังคมกำลังสนใจ คือ ทรัพยากรน้ำที่มีจำกัดนี้ จะสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร รัฐบาลมองเห็นความจำเป็น ถ้าไม่เริ่ม ร่างกฎหมายน้ำ ในช่วงปฏิรูปประเทศ  ถ้าไม่จัดระเบียบการใช้น้ำ ความขัดแย้งในการแย่งชิงน้ำจะเกิดขึ้น เรามีตัวอย่างในประเทศอินเดีย ระหว่างแคว้นกับแคว้น ศาลพิพากษาให้แคว้นที่มีน้ำต้องปล่อยน้ำลงมา เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำ และในไทยก็เคยมีปัญหาการเปิด ปิดประตูระบายน้ำ ดังนั้นต้องกำหนดกติกา เพื่อลดความขัดแย้งให้ได้  
ในร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำพ.ศ... ยืนยันว่าจะดูแลเฉพาะ น้ำสาธารณะ เท่านั้นหมายถึงแหล่งน้ำสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ครอบคลุม แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และไม่เกี่ยวกับแหล่งน้ำที่ประชาชน ขุดไว้ใช้เอง แต่ต้องเก็บกักได้เท่าที่จำเป็น เช่น กิจกรรมการเพาะปลูก สวนผลไม้ ถ้าถึงหน้าแล้ง ต้องมีระดับน้ำที่เหลือในจุดที่ยอมรับได้ ไม่ใช่เต็มตลอดเวลา และถ้าไม่ไปสูบน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำสาธารณะ จะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ 


 หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทผู้ใช้น้ำ  
เรากำหนดน้ำ สาธารณะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.เพื่อใช้ในการดำรงชีพความจำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ น้ำใช้ในการเกษตรเพื่อมีรายได้เลี้ยงครอบครัว น้ำอุปโภคบริโภค น้ำในอุตสาหกรรมขนาดเล็กในครัวเรือน น้ำตามจารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่น น้ำรักษาสมดุลในระบบนิเวศ เป็นต้น 
โดยน้ำประเภทที่ 1 นี้ในแต่ละลุ่มน้ำเขาต้องรู้ว่าประชาชนในพื้นที่ ความจำเป็นใช้น้ำ มีอยู่เท่าไหร่ เมื่อรู้ปริมาณแล้ว จะถูกจัดสรรไว้ก่อน และประเภทนี้ จะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะมีตัวเลข และวัดความจำเป็นในการใช้น้ำของประชาชน ในแต่ละแหล่งน้ำว่ามีมากน้อยเท่าไหร่ กำหนดเป็นตัวเลขพื้นฐาน แล้วจะมีการจัดสรรน้ำส่วนนี้ไว้ก่อนเบื้องต้น จะทำให้เห็นตัวเลขตัดยอดน้ำว่ากลุ่มนี้ใช้น้ำสัดส่วนเท่าไหร่
ส่วนประเภทที่ 2 คือ น้ำที่นำไปเพิ่มมูลค่าผลผลิต สูงกว่าปริมาณน้ำที่ต้องการระดับเท่าไหร่ เช่น  เกษตรกร ทำรายได้สูงแล้ว อยากขยายพื้นที่ทำเพิ่ม เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น การใช้น้ำสาธารณะก็ต้องดึงเข้ามาในส่วนนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องขออนุญาตใช้น้ำสาธารณะ  ซึ่งหลักเกณฑ์การขออนุญาตต้องบอกว่าจะนำน้ำสาธารณะเอาเข้ามาในช่วงเวลาไหน ปริมาณที่นำเข้ามา เก็บที่ไหน ตรงนี้มีความสำคัญ และจัดลำดับการใช้ เช่น ถ้าเป็นภาคการเกษตร จะได้รับการพิจารณาในลำดับต้นๆ เกษตร ปศุสัตว์ จะถูกจัดสรรเข้าในกลุ่มแรก


 อัตราค่าใช้น้ำแต่ละประเภทกำหนดอย่างไร
หลักเกณฑ์ การใช้น้ำของกลุ่มเกษตรกร ปศุสัตว์ การเก็บค่าใช้จ่าย “ไม่เกิน” ลูกบาศก์เมตรละ 50 สตางค์ ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับประชาชนที่อยู่บริเวณกรมชลประทาน ที่มีการเก็บค่าน้ำในปัจจุบัน   
ประเด็นสำคัญคือ ยังมีข้อแม้ว่าในช่วงนั้นมีภัยแล้ง หรือมีศัตรูพืช ผลผลิตจำหน่ายไม่ดี รายได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาจ่าย ก็สามารถยกเว้นไม่เก็บค่าน้ำได้ ตามมาตรา 47 ระบุว่า หากนำน้ำไปใช้แล้วไม่เกิดมูลค่าทางผลผลิต ก็สามารถยกเว้นการเก็บค่าน้ำสาธารณะได้ ส่วนภาคอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี  ที่ใช้น้ำในปริมาณไม่มาก ตรงนี้ก็มีการใช้น้ำในประเภทที่ 2 นี้ และเก็บค่าน้ำลูกบาศก์เมตรละไม่เกิน 50 สตางค์ และสามารถยกเว้นได้ในกรณีที่ผลผลิตไม่ดี ส่งจำหน่ายไม่ได้เช่นกัน
ความยืดหยุ่นนี้ จะส่งผลดีต่อผู้ที่มีรายได้น้อย และกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการลงทุน ถือว่าเป็นราคาที่ถูกมากภาครัฐไม่ได้เน้นเรื่องรายได้จากการเก็บค่าน้ำสาธารณะ แต่ต้องการให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพ ถ้าน้ำมีมูลค่า การนำไปใช้ การดูแลไม่ให้สูญเสีย จะทำให้เกิดวินัยในการใช้น้ำ 
อุตสาหกรรมใหญ่-สนามกอล์ฟ จ่ายแพงกว่า
สำหรับประเภทที่ 3 ได้แก่ กลุ่มการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร กิจกรรมทางกีฬา สนามกอล์ฟ ถ้าเขามีน้ำเพียงพอ แต่ถ้าอยากได้โควต้าน้ำสาธารณะ ก็ต้องขอใช้สิทธิจากคณะกรรมการลุ่มน้ำ และต้องดูสมดุลน้ำ และเงื่อนไขที่จะเอาน้ำมาใช้กับกิจกรรมใหญ่ ก็ถูกกำหนดเรื่องสถานที่เก็บกักน้ำ ที่สำคัญจะส่ง เสริมให้สร้างแหล่งเก็บกักน้ำของตัวเอง และถ้าเอกชนมีแหล่งน้ำจะเป็นประโยชน์กับประเทศ
หากต้องการใช้น้ำสาธารณะจะต้องไปขออนุญาต โดยคิดค่าน้ำในราคาไม่เกิน 1 – 3 บาท ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการลงทุนทำธุรกิจ แต่ถ้าธุรกิจมีความเสียหาย และไม่สามารถจ่ายค่าน้ำก็สามารถขอยกเว้นได้เช่นกัน
ในการจัดสรรน้ำ คณะกรรมการลุ่มน้ำจะต้องดูในเรื่องของสมดุลน้ำคือน้ำจะต้องรักษาระบบนิเวศได้เพียงพอ จึงต้องมีเงื่อนไขอย่างละเอียดในทุก ๆ ขั้นตอน และพยายามส่งเสริมให้กลุ่มทุนสร้างแหล่งน้ำเป็นของตนเอง ถ้าเอกชนทั้งหลายมีศักยภาพมีแหล่งน้ำในพื้นที่เมื่อไหร่ ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์เนื่องจากเรามีปริมาณกักเก็บน้ำที่เพิ่มขึ้น แต่ปัญหาของประเทศตอนนี้ คือพื้นที่กักเก็บน้ำยังน้อยเกินไป แม้ว่าจะมีเขื่อนขนาดใหญ่ 34 แห่ง ใน 26 จังหวัด และเขื่อนขนาดกลางอีกกว่า 400 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำสาธารณะอีกกว่า 100,000 แห่ง ปัญหาที่พบคือฝนตกลงมาเท่าใดก็ระเหยกลับไปเท่านั้น เพราะฉะนั้นในหน้าแล้งจึงเกิดการขาดแคลนน้ำแบบที่เกิดอยู่ในปัจจุบัน


ใครจะได้สิทธิ-ประโยชน์ใช้น้ำมากที่สุด


คนที่จะได้สิทธิ์โควต้าใช้น้ำ และการเข้าถึงโควต้าเป็นสิ่งสำคัญ คนเข้าใจผิด อยากให้มองมุมกลับว่าในการเข้าถึงแหล่งน้ำประเภทที่ 2 โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ถ้าจะให้เข้าถึงสิทธิ์การใช้น้ำสาธารณะ เปเป็นธรรมในสังคมคือ "เพดานจะต้องไม่สูงเกินไป" เพราะค่าน้ำมีความยืดหยุ่น ตัวเพดาน เราเคยมีฐานข้อ มูลในปี 2550 ว่า  รายได้ครัวเรือน 17,000 จะมีรายได้จากภาคเกษตรเข้ามาสนับสนุนโครงสร้างรายได้ และเกษตรกรที่จะมีรายได้เพียงพอ เช่น การทำนาควรกำหนดกี่ไร่ และกี่ไร่ขึ้นไปถึงจะกำหนดใช้น้ำได้ เช่น ทำนาปลูกข้าวกำหนดไว้ไม่เกิน 50 ไร่ ส่วนปศุสัตว์ ตอนนั้นกำหนดถ้าเลี้ยงวัวกำหนดไว้ 20 ตัว เป็นต้น โดยตัวเลขนี้ ก่อนการออกกฎกระทรวง ต้องสอบถามความเห็นประชาชน อธิบายให้เข้าใจถึงการกำหนดเพดาน
เชื่อว่าสิทธิการเข้าถึงน้ำจะต้องเท่าเทียมกัน ถ้าไม่ทำแบบนี้พบว่าในแหล่งน้ำสาธารณะหลายแห่งคนที่มีศักยภาพสูง เข้าไปสูบน้ำ โดยที่ไม่มีกฎหมาย วันละ 500- 1,000 ลูกบาศก์เมตรดึงน้ำ ยิ่งหน้าแล้งถ้าสูบมากก็จะกระทบกับการใช้น้ำ กฎหมายนี้ จึงไม่ดูแลเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถามว่าใครได้ประโยชน์ สังคมได้ประโยชน์แน่นอน ไม่มีความขัดแย้ง มีกลไกมาป้องกัน ส่วนภาคอุตสาหกรรมก็ดูแล เพราะเป็นเศรษฐกิจของประเทศ สรุปน้ำทั้งประเทศต้องใช้ประโยชน์สูงสุด

กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ 

คาดว่าช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.นี้ จะมีผลบังคับใช้ร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ...จากนั้น ภายใน 180 วันจะมีการออกกฎหมายลูก ที่เกี่ยวข้องกับ  พร้อมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนทั่วประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะอัตราการเก็บค่าน้ำก่อนจะออกเป็นกฎกระทรวงต่อไป
สำหรับมติ กนช.ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้สั่งการให้ย้ายกรมทรัพยากรน้ำ ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี  เนื่องจากที่ผ่านมาการบริหารจัดการน้ำมีหลายหน่วยงานและขาดหน่วยงานที่จะมาควบคุมกำกับโดยตรง ทำให้ขั้นตอนสั่งการมีความล่าช้า การย้ายไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี จะทำให้สะดวกในการแก้ปัญหาน้ำที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศไทย
นับถอยหลังหากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ ต้องจับตาว่า "น้ำสาธารณะ" ใครจะเข้าถึง และได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งลดความขัดแย้งได้จริงหรือไม่ 
จันทร์จิรา พงษ์ราย /ผานิต ฆาตนาค ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ 

ที่มา: Thai PBS

มันมาเหมือนน้ำจากเขื่อนแตก เร็ว รุนแรง เสียงดัง น่ากลัวมาก ทำให้แลเห็นสงครามน้ำเกิดแน่ ถ้าไม่หยุดกฎหมายเก็บภาษีน้ำจากชาวไร่ชาวนาเกษตรกรเสียทันที
ไม่มีใครรู้จริงๆ ว่า รัฐบาลท่านจะเก็บภาษีใช้น้ำ  เพราะประเทศไทยใจขณะนี้ไม่มี “ผู้แทนราษฎร” ไม่มีนักการเมืองที่ชาวบ้านลงคะแนนเสียงมอบหมายให้ไปเป็นผู้แทนของตัวเอง ผู้เป็นราษฎร ไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนฯ เป็นปากเป็นเสียง ชาวบ้านจึงไม่รู้ว่า ร่างกฎหมายบริหารจัดการน้ำฉบับใหม่ ที่ สนช.ที่เกิดจากคณะรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 รับหลักการวาระแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 จะเก็บเงินค่าใช้น้ำจากชาวไร่ชาวนา ชาวปศุสัตว์ ผู้เลี้ยงวัวควาย ทั้งหลาย 
ไม่รู้เพราะชาวบ้านไม่มีผู้แทนราษฎร
เน้นตรงนี้นะครับ
ว่ากันตามจริง มีการดำเนินการเรื่องน้ำมานานแล้ว เริ่มจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามในคำสั่งที่ 43/2558 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 โอน "สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ" (สบอช.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ตั้งหลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ไปเป็นของ "สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ" สังกัด กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพย์ฯ และท่านก็ได้ไปเยี่ยมกรมน้ำ พร้อมแถลงข่าว จะให้การดูแลน้ำมาสังกัดหน่วยงานเดียว เพราะเวลานี้มันมีหน่วยงาเยอะแยะไปหมด ซึ่ง... ฟังแล้วเห็นด้วยทันที
ต่อมา 9 ส.ค.2560 มีการประชุม คณะกรรมการน้ำแห่งชาติ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน และเห็นชอบ  ให้ใช้อำนาจมาตรา 44 โอนกรมน้ำมาขึ้นสำนักนายกรัฐมนตรี แล้วก็มีข่าวครึกโครม รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ให้สัมภาษณ์นักข่าวหลายครั้ง เหตุใดจึงต้องใช้มาตรา 44  แต่โดน “ไพศาล พืชมงคล” ที่ปรึกษาของ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ เขียนทักท้วงไว้ในเฟซบุ๊กเรื่องจึงเงียบไปจนบัดนี้ 
Paisal Puechmongkol
14 สิงหาคม • 
ระวังว่าคำสั่งตาม ม44เรื่องโอนกรมน้ำมาสำนักนายกจะเป็นโมฆะ
1เรื่องนี้เกี่ยวกับกฎหมายปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม สามารถออกเป็นพระราชกฤษฎีกาได้
2ถ้าจำเป็นก็แก้ไขกฎหมายได้ ถ้าเร่งด่วนก็ออกพระราชกำหนดได้ 
3คำสั่งตามมาตรา44และ265สำหรับให้มีผลทางนิติบัญญัติต้องจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจออกพระราชกำหนดได้ทัน ไม่งั้นขัดรัฐธรรมนูญ
ก็ต้องเตือนติงไว้เพราะถ้าพลาดจะเสียหายมากทั้งจะเสียคนด้วย
ก่อนจะออกช่วยตรวจกันหน่อย
แล้วก็มาเปรี้ยงโครมด้วยข่าว รัฐบาลออกกฎหมายเก็บภาษีน้ำจากเกษตรกร และอีกหลายๆกิจการ
พวกนักข่าวก็เพิ่งรู้ บรรดานักการเมืองก็เพิ่งรู้
“ชาวนา” มารู้ว่าจะมีการเก็บภาษีน้ำก็ 28 ก.ย.2560 เมื่อ “นายวรศาสน์ อภัยพงษ์” อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แถลงถึงการจัดทำร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ… ที่จะครบกำหนดการพิจารณาของ สนช.ในวันที่ 27 ต.ค.2560 นี้แล้ว
ทันที ...กระแสต่อต้านเกิด
มันมาดั่งกระแสน้ำจากเขื่อนแตก
นายระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมชาวนาไทย  แถลงแก่นักข่าวเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2560 
“แกนนำชาวนาทั่วประเทศ จะเข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความชัดเจนการออกกฎหมายเก็บค่าน้ำ ภายในสัปดาห์หน้า เนื่องจากขณะนี้ร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำ ได้ผ่านสนช.รับวาระแรกไปแล้ว กำลังจะเข้าวาระสาม ทำให้เกษตรกรจะต้องรีบออกมาไปหานายกรัฐมนตรี ให้ชะลอร่างนี้ไม่นำเข้าพิจารณาในวาระสาม และให้ยืนยันว่าต้องไม่ให้เกษตรกร ซื้อน้ำทำเกษตร เพราะส่งผลกระทบในวงกว้างแน่นอน เรื่องนี้พวกเราไม่มีใครถอย จะต่อต้านจนกว่าจะมีการแก้ไขร่างนี้ให้ได้ ต้องขอคำยืนยัน จากรัฐบาลจะแก้ไขให้ชาวไร่ชาวนา ต้องไม่เก็บค่าน้ำ เพราะน้ำมาจากฟ้า น้ำคือชีวิต รวมทั้งภาครัฐมีการบริหารจัดการน้ำได้ดีแล้วหรือไม่ ที่ผ่านมาเกษตรกรเจอปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ได้มาช่วยพวกเราแค่ไหน เรื่องนี้ทำให้เกษตรกรทั้งประเทศ เสียความรู้สึกมาก ได้เห็นในร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วที่ยังระบุว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโค 20 ตัว ต้องเสียค่าน้ำ ดังนั้นอย่ามาหลอกว่าไม่กระทบเกษตรกรรายย่อย ผมเชื่อว่าเรื่องนี้นายกฯถูกวางยา และอาจหมกเม็ด มาในโครงสร้างจัดตั้งกระทรวงน้ำ” 
เกษตรกรทั้งประเทศเสียความรู้สึกมาก
ขอให้ประชาชนไทยประเภทคอการเมืองอ่านคำพูดนี้ของ “ระวี รุ่งเรือง” นายกสมาคมชาวนาไทย  หลายๆ รอบนะครับ อ่านแล้วมันซึ้ง
ฉลามเขียว ค่อนข้างเชื่อว่า ลุงระวีกับแกนนำชาวนาจะมาไม่ถึงทำเนียบรัฐบาล จะถูกสกัดกั้นเสียก่อน
กฎหมายน้ำฉบับใหม่ ที่สนช.จะต้องพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 ต.ค.2560 ไม่ยากกับการทำความเข้าใจ ท่านอธิบดีกรมน้ำ นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ ให้สัมภาษณ์นักข่าวหลายรอบ หลายสำนัก อธิบายไว้ละเอียด ประเทศไทยมีน้ำท่าที่มาจากฝนปีละเฉลี่ย 1,455 มม./ปี คิดเป็นปริมาณนํ้าท่าทั้งประเทศประมาณ 2.85 แสนล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปี  กักเก็บนํ้าผิวดินได้ 34% (หรือ 9.71 หมื่นล้านลบ.ม./ปี) และ มีนํ้าบาดาลที่ใช้การได้ 1.59 หมื่นล้านลบ.ม./ปี 
รวมแล้วมีปริมาณนํ้าที่ใช้การได้ 1.13 แสนล้านลบ.ม./ปี ส่วนที่เหลือเป็นนํ้าที่ไหลซึมลงใต้ดินและไหลลงสู่ทะเล 
ขณะที่ความต้องการใช้นํ้าของประเทศราว 1.51 แสนล้านลบ.ม./ปี ซึ่งมากกว่าปริมาณนํ้าที่ใช้การได้
หากคำนวณปริมาณนํ้าท่าเฉลี่ยต่อคนต่อปีคนไทย 65 ล้านคน มีนํ้าใช้ 3,200 ลบ.ม.ต่อคนต่อปี นํ้าแค่นี้ทำนาได้ ไม่เกิน 3 ไร่ เพราะการทำนาจะต้องใช้นํ้าไม่ตํ่ากว่า 1,500 ลบ.ม.ต่อไร่ 
ขณะที่ดัชนีโลกมีความต้องการใช้นํ้าเฉลี่ยที่ 5,000 ลบ.ม.ต่อคนต่อปี ปริมาณนํ้าของไทยถือว่ามีความเสี่ยงและเข้าขั้นวิกฤติแล้ว ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายออกมารองรับเพื่อให้การใช้นํ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ”
กฎหมายได้กำหนดประเภทการใช้น้ำไว้ 3 ประเภทคือ 
  • ประเภทที่ 1 ใช้นํ้าเพื่อการดำรงชีพ ไม่ต้องเสียค่าใช้นํ้า 
  • ประเภทที่ 2 ใช้นํ้าด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ เก็บค่าน้ำไม่เกิน 50 สตางค์ต่อลบ.ม. 
  • ด้านการท่องเที่ยว โรงแรม สถานที่พักผ่อน ร้านอาหาร เก็บค่าน้ำ 1-3 บาทต่อลบ.ม. และธุรกิจสนามกอล์ฟ การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาสัมปทาน เก็บค่าน้ำไม่เกิน 3 บาทต่อลบ.ม. 
  • และประเภทที่ 3 สำหรับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ และกิจการอื่นๆ ที่ใช้น้ำในปริมาณมากตามมติ ของกนช. เก็บค่าน้ำไม่ต่ำกว่า 3 บาทต่อลบ.ม.
“คาดว่าในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.จะมีผลบังคับใช้กฎหมายร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จากนั้นภายใน 180 วัน จะออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง กับพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนทั่วประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องอัตราการเก็บค่าน้ำ ก่อนจะออกเป็นกฎกระทรวง”
หลังจากเกิดประแสต่อต้าน ฝ่ายรัฐบาลท่านก็แก้นะครับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าว “เท่าที่ได้รับรายงานมาในขณะนี้ กระบวนการพิจารณาของสนช.ยังไม่มีการหยิบยกมาตรการเก็บค่าใช้น้ำจากเกษตรกรมาพูดคุยด้วยซ้ำ จึงเป็นการด่วนสรุปเร็วเกินไปว่าจะเก็บค่าใช้น้ำจากเกษตรกร รัฐบาลชุดนี้ไม่มีแนวคิดจะเก็บค่าน้ำกับเกษตรกรอย่างแน่นอน เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเกษตรกร สวนทางกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดต้นทุนให้กับเกษตรกร”
ก็ขอกราบเรียนถามท่านพลเอกฉัตรชัยว่า อ่านแถลงข่าวของท่านอธิบดีกรมน้ำแล้วหรือยังครับ
ท่านรัฐมนตรีฉัตรชัยครับ ทางดับปัญหานี้มีทางเดียว ทำให้กฎหมายฉบับนี้ตกไปซะ
ที่มา: ฉลามเขียว


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก