ลงฑัณฑ์ที่เรือนจำวังทวีวัฒนา ก็เหมือน โทษทัณฑ์ "ตะพุ่นหญ้าช้าง" ในสมัยโบราณ
กฎ ระเบียบ ของบ้านเมือง ของกองทัพมี ไม่ควรใช้วิธีป่าเถื่อน แบบลงโทษฑัณฑ์ให้ไปเป็น ตะพุ่นหญ้าช้าง มาใช้ใน พ.ศ. 2560 นี้โทษทัณฑ์ในสมัยโบราณที่หนักหนาสาหัสขึ้นไปอีกชั้นแต่ไม่ถึงขั้นถูกประหารชีวิตก็คือถูกลงพระราชอาญาให้ไปเป็น "ตะพุ่นหญ้าช้าง" อย่างไม่กำหนดเวลา คือเป็นคนหาหญ้ามาเลี้ยงช้างนั่นเอง
ในสมัยโบราณช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่ใช้ในยามเกิดศึกสงคราม มีทั้งช้างศึกซึ่งถูกฝึกให้สู้รบโดยตรงและช้างที่ใช้เป็นพาหนะบรรทุกเสบียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์หรือให้ชักลากปืนใหญ่ ดังนั้นจึงต้องใช้ช้างเป็นจำนวนมากในกองทัพ ซึ่งภาระการเลี้ยงดูช้างจึงเป็นงานที่หนักเอาการเพราะช้างแต่ละตัวต้องการหญ้าและพืชผักผลไม้ในแต่ละวันจำนวนมาก
ภาระนี้จึงตกเป็นของ "ตะพุ่นหญ้าช้าง" ซึ่งต้องไปหาหญ้าและพืชผักมาให้ช้างกิน ช้างตัวหนึ่งจะมีตะพุ่นหญ้าช้างคอยดูแลรับผิดชอบตั้งแต่ 2-3 คนขึ้นไป
ตะพุ่นหญ้าช้างไม่มีรายได้ใด ๆ ทั้งสิ้น แม้แต่ข้าวปลาอาหารการกินก็ต้องไปเอาจากที่บ้านมากินเอง การทำงานออกไปเกี่ยวหญ้าหาพืชผักต้องเริ่มต้นตั้งแต่เช้า ได้หญ้าได้พืชผักอาหารของช้างมาแล้วก็ต้องแบกหามกลับมาที่โรงช้าง เวลาควาญนำช้างออกไปอาบน้ำที่แม่น้ำตะพุ่นก็ต้องตามไปอาบน้ำให้ช้างด้วย เมื่อช้างกลับเข้าโรงแล้วจึงจะเสร็จสิ้นภาระในวันนั้น
การถูกลงโทษให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้างจะเรียกว่าเป็นโทษหนักระดับปานกลางคงพอได้ เพราะไม่ถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวนแม้จะมีอิสระสามารถออกไปสู่โลกภายนอกได้ เวลาไปเกี่ยวหญ้าหาอาหารให้ช้าง แต่จะฉวยโอกาสหนีไปอยู่กับลูกเมียที่บ้านชั่วพักชั่วครู่ไม่ได้ เนื่องจากมีผู้คุมไปคอยกำกับดูแล และต้องทำงานไม่หยุดมือตลอดเวลา ถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องรักษาไปตามยถากรรม ยิ่งคนที่ถูกพิพากษาลงโทษให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้างตลอดชีวิต ถือว่าเป็นบาปเคราะห์อันสาหัสทีเดียว เพราะกลายเป็นชีวิตที่ไร้ค่าตราบสิ้นลมหายใจ
ตะพุ่นหญ้าช้าง หรือ คนหาหญ้าให้ช้างกิน เป็นโทษสำหรับให้ผู้กระทำความผิดทำงานหนักตลอดระยะเวลาที่ถูกลงโทษ แต่กำหนดระยะเวลาการถูกลงโทษในสมัยโบราณไม่มีกฎเกณฑ์ชัดเจนว่าจะได้รับโทษนานเท่าไหร่ เช่น กี่เดือน กี่ปีจึงจะพ้นโทษ หากได้รับโทษก็เท่ากับต้องรับโทษไปเรื่อย ๆ เว้นแต่จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานอภัยโทษให้เท่านั้น
เพราะฉะนั้นผู้ที่ถูกลงโทษให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้างจึงต้องรับโทษนานหลายปีจนกว่าผู้คุมและผู้มีอำนาจสูงขึ้นไปจะเกิดเมตตา เห็นว่าได้รับโทษน่าจะพอเพียงแล้วจึงทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษให้
แต่ถ้าผู้ใดถูกกำหนดโทษโห้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง ราษฎรที่เป็นชายฉกรรจ์ (โบราณเรียกว่า "สกรรจ์" ) ยังถูกเกณฑ์ไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างด้วย เนื่องจากข้าหลวงมีเป็นจำนวนมาก กำลังนักโทษที่เป็นตะพุ่นหญ้าช้างไม่พอเพียงหาหญ้ามาให้ช้างกิน ทางการจึงต้องเกณฑ์ราษฎรมาทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง โดยมีกำหนดให้เข้ามารับราชการเป็นตะพุ่นหนึ่งเดือนออกหนึ่งเดือน หมายถึงเป็นตะพุ่นเดือนเว้นเดือน แต่ถ้าผู้ใดไม่ต้องการมาเป็นตะพุ่นหญ้าช้างต้องเสียเงินเข้าหลวงเป็นเงิน 9 บาทต่อปีก็จะได้รับการยกเว้น
ที่มา : Pantip
หลังจากโพสต์เรื่องนี้ไป เพียง 1 ชั่วโมงได้มี แฟนเพจฯ มาแสดงความคิดเห็นกันมากมาย อาทิเช่น...
EmoticonEmoticon