วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561

เมื่อครูบาศรีวิชัย ถูกสั่งกักขัง 3 เดือน 8วัน โดยคำสั่งของ หัวหน้า กบฎบวรเดช


รู้หรือไม่ว่า ฝ่ายอาณาจักร แทรกแซง ฝ่ายศาสนจักร มาตั้งแต่กรณี การกักขัง ครูบาศรีวิชัย โดย  “พลโทหม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร” อุปราชเทศาภิบาลมณฑลพายัพ"

"...ครูบาเจ้าศรีวิชัยถูกกักตัวที่วัดศรีดอนไชย (เป็นเวลานานถึง ๓ เดือน ๘ วันโดยไม่มีการไต่สวนคดีใดๆ เลย) ชาวเชียงใหม่เมื่อทราบข่าว ก็พยายามฝ่าฝืนผู้คุมที่เฝ้าประตูมากราบเยี่ยมครูบาเจ้าศรีวิชัย นับแต่คหบดีเชื้อสายจีนเช่น หลวงอนุสารสุนทร และเพื่อนของท่านคือ พญาคำวิจิตรธุระราษฎร์ จากนั้นแต่ละวันก็มีผู้คนทะลักหลามไหลเข้ามาเยี่ยมครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๓,๐๐๐ คน..."



Pensupa Sukkata is with บ่าวยอง หละปูน and 26 others.
18 June 2017
กรณีการย้ายครูบาเจ้าศรีวิชัยขณะถูกกักตัวในวัดพระธาตุหริภุญชัย ข้อหา “อุปัชฌาย์เถื่อน” “กบฏต่อราชอาณาจักร” และ “อ้างตัวเป็นผู้วิเศษ” จากลำพูนมาเชียงใหม่ในช่วงต้นปี ๒๔๖๓ นั้น หากพินิจพิเคราะห์ให้ดี จะพบว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจอยู่หนึ่งคน
บุคคลนั้นคือ “พลโทหม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร” อุปราชเทศาภิบาลมณฑลพายัพ (ดำรงตำแหน่งนี้ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๘ – ๒๔๖๕) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็น พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำกบฏบวรเดช (คณะกู้บ้านเมือง) พยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖
มีข้อสังเกตว่า การตัดสินใจแบบปุบปับฉับพลันทันด่วนครั้งนั้น หาใช่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวงการสงฆ์ล้านนาไม่ ไม่ใช่ทั้งคำสั่งจากมหาเถรสมาคม และไม่ใช่ทั้งคำขอร้องจากเจ้าคณะจังหวัดลำพูน
แต่ทันทีที่พลโทหม่อมเจ้าบวรเดช รับทราบข่าวว่ามีคนติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัยจำนวนมากกว่า ๒,๐๐๐ คน ที่เดินทางมาจากลี้และค่อยๆ สมทบมากขึ้นเรื่อยๆ (คล้ายการก่อม็อบ) เพื่อมาอารักขากึ่งกดดันเจ้าคณะจังหวัดลำพูน ไม่ให้ลงโทษครูบาเจ้าศรีวิชัย
หม่อมเจ้าบวรเดช จึงตัดสินใจนิมนต์ครูบาเจ้าศรีวิชัยพร้อมภิกษุ ๔ รูป ย้ายจากจังหวัดลำพูน เดินทางโดยรถเครื่องมอเตอร์คาร์ (รถยนต์ ที่จ้างเหมาจากร้านของเถ้าแก่โหงว) ไปฝากมอบไว้กับพระโพธิรังษี มารชีศาสนธิการ สังฆปาโมกข์ (จันแก้ว คนฺธาโร พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๔๗๖) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดเชตุพน ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่
แต่เนื่องจากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ติดกิจธุระเรื่องการเตรียมสอบนักธรรมสนามหลวง หม่อมเจ้าบวรเดชจึงขอให้ส่งครูบาเจ้าศรีวิชัยไปไว้กับ “พระครูสุคันธศีล” (ครูบาคันธา หรือพระศรีโหม้ คนฺธาโร) เจ้าอาวาสวัดศรีดอนไชย และเจ้าคณะแขวงเมืองเชียงใหม่ (เทียบได้กับรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่) เอกสารใช้คำว่าวัดป่ากล้วยทุ่งช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่
เหตุการณ์ช่วงนี้น่าสนใจมาก หากอ่านข้ามๆ เผินๆ ก็คิดว่า การย้ายครูบาเจ้าศรีวิชัยจากลำพูนไปเชียงใหม่ “น่าจะเป็นคำสั่งของพระครูญาณมงคล วัดมหาวัน เจ้าคณะจังหวัดลำพูนกระมัง”
แต่ที่ไหนได้ เป็นการตัดสินใจของฝ่ายบ้านเมือง
ขณะที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยถูกกักตัวที่วัดศรีดอนไชย (เป็นเวลานานถึง ๓ เดือน ๘ วันโดยไม่มีการไต่สวนคดีใดๆ เลย) ชาวเชียงใหม่เมื่อทราบข่าว ก็พยายามฝ่าฝืนผู้คุมที่เฝ้าประตูมากราบเยี่ยมครูบาเจ้าศรีวิชัย นับแต่คหบดีเชื้อสายจีนเช่น หลวงอนุสารสุนทร และเพื่อนของท่านคือ พญาคำวิจิตรธุระราษฎร์ จากนั้นแต่ละวันก็มีผู้คนทะลักหลามไหลเข้ามาเยี่ยมครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๓,๐๐๐ คน
เมื่อปริมาณผู้คนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ความหวาดกลัวในเรื่องผีบุญของผู้มีอำนาจก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งกลัวผู้คนเหล่านั้นจะป้องกันแย่งชิงตัวครูบาเจ้าศรีวิชัยออกจากที่กุมขัง
เจ้าอาวาสวัดศรีดอนไชยจึงให้สามเณรไปขอเสมียนอำเภอช่วยปิดกั้นที่ประตูวัด ห้ามคนเข้าออก ถ้าห้ามแล้วไม่หยุด ก็ให้จดชื่อเอาไว้ เพื่อจักนำไปแจ้งแก่เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ และอุปราชเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เอาตัวไปทำโทษ
แม้จะข่มขู่อย่างไร ก็ไม่อาจต้านทานแรงศรัทธาประชาชนได้ ผู้คนยังยัดเยียดเบียดกันเข้ามากราบครูบาเจ้าศรีวิชัย
ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิสดารอุปมาเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “ดังภุมราแม่ผึ้งพาบริวารไปเที่ยวเสาะสูบเอารสละอองเกสรดอกไม้คือความหอมหวานของศีลธรรมแห่งตนบุญเจ้าศรีวิชัย มนุษย์ตนใดจักมาจดชื่อแม่ผึ้งได้ เว้นแต่พระอรหันต์เท่านั้น”
ถือเป็นสถานการณ์คับขันเกินกว่าที่จะควบคุม พระครูโพธิรังษี เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ หารือกับพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร ว่าควรทำอย่างไร
หม่อมเจ้าบวรเดชได้ตัดสินใจให้ย้ายหรือส่งตัวครูบาเจ้าศรีวิชัยลงไปยังกรุงเทพฯ เพื่อให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ในเอกสารเรียกสมเด็จเจ้าคณะมณฑลสยาม) ชำระโทษ
ถือเป็นการแก้ปัญหาด้วยวิธีการ “ย้ายตัวบุคคลที่มีปัญหาไปกักตัวที่อื่น” อีกเป็นครั้งที่สองของหม่อมเจ้าบวรเดช
ที่นำมาลงนี้ ต้องการให้เห็นหน้าที่อีกบทบาทหนึ่งของพระองค์เจ้าบวรเดชบ้าง ในช่วงที่ยังหนุ่มแน่น เป็นข้าหลวงอยู่มณฑลพายัพ เพราะเชื่อว่าคนทั่วไปรู้จักท่านแต่เพียงเรื่องราว “กบฏบวรเดช” เท่านั้น ว่าท่านเคยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจคดีอธิกรณ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยมาแล้ว
ทั้งนี้มิใช่จะมาประณามว่าท่านเป็น “ผู้ร้าย” แต่อย่างใดไม่ หากแต่อยากชวนชี้ให้ช่วยกันวิเคราะห์ว่า หากช่วงเวลานั้น อุปราชเทศาภิบาลมณฑลพายัพเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่หม่อมเจ้าบวรเดช ผลการตัดสินใจจะออกหัวออกก้อยแบบเดียวกันนี้ไหม จะแตกต่างไหม
ในเมื่อไม่มีกฎหมายมาตราใดระบุว่าต้องปฏิบัติเช่นนั้นเช่นนี้ต่อกรณีพระสงฆ์ที่มีผู้ติดตามมากมาย (เช่นอาจยุติปัญหาให้จบลงแค่ที่ลำพูน โดยเชิญเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์มาเป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองขอร้องครูบาเจ้าศรีวิชัยให้ยุติความเคลื่อนไหว หรืออาจ.... )
การตัดสินใจทั้งสองครั้งของพลโทบวรเดช จึงเป็นกลไกสำคัญยิ่ง ถือเป็นจุดพลิกผันชีวิตครูบาเจ้าศรีวิชัยเลยก็ว่าได้ ซึ่งเดิมท่านต้องอธิกรณ์จากคดีเล็กๆ ในระดับจังหวัดลำพูนเท่านั้น กลับกลายเป็นถูกผลักส่งสู่คดีใหญ่ในระดับภูมิภาคล้านนา (นับแต่ย้ายคดีให้ไปเป็นที่รู้จักในสังคมเชียงใหม่) และในที่สุดก็ถูกชงขึ้นเป็นคดีระดับชาติ และนานาชาติ มีหนังสือพิมพ์ฝรั่งลงข่าว เมื่อถูกส่งไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช และครูบาต้องถูกกักตัวที่วัดเบญนานถึง ๓ เดือนเศษ
หรือท่านคิดว่า ใครก็ตามที่ต้องมาทำหน้าที่ตรงนี้ ก็ต้องตัดสินใจเหมือนกับหม่อมเจ้าบวรเดช เท่านั้น?

3 ความคิดเห็น


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก