ตอนที่ 3 รวมความเห็นต่างๆ ที่ พงศกร รอดชมภู ตอบในโพสต์ต่างๆ เกี่ยวกับ แนวคิดสหพันธ์รัฐ
พงศกร รอดชมภู
รูปแบบรัฐคือการต่อรองอำนาจ สงวนอำนาจไว้ที่พื้นที่ตนเอง
เมื่อเริ่มต้นสงวนอำนาจโดยที่ไม่มีอะไรเหลือ ก็เท่ากับเตะหมูเข้าปาก พื้นที่ซึ่งเจริญกว่า ไม่ต้องแบ่งเงินมาช่วยอีกต่อไป
พื้นที่อย่าง กทม. ตะวันออก ภูเก็ต จะกลายเป็นสิงคโปร์ทันที เพราะมีพลเมืองให้ดูแลน้อย รวยลูกเดียว
เชียงใหม่ อาจดีกว่าคนอื่น โคราชอาจดีกว่าคนอื่น แต่อุ้มคนทั้งภาคไหวหรือ
ภาคใต้ไม่มีภูเก็ตก็ตายเหมือนกัน
เมื่อพื้นที่ที่ตอนนี้มีเงินอยู่แล้วและต่อไปไม่ต้องเอาภาษีไปอุ้มพื้นที่อื่น เขาก็รวยสบาย
พื้นที่อื่นก็ต้องหารายได้จากพื้นที่ภายในตนเอง จะมีเงินได้อย่างไร เริ่มต้นการเป็น federation ก็คือการหยุดการกระจายรายได้นั่นเอง ตรงไป ตรงมา ไม่มีอะไรมากกว่านี้
ที่ประเทศอื่นๆเขาเป็น federation คือเขาต่างมีดี มารวมกันก็จริง แต่รู้ว่าตัวเองมีทรัพยากรมากจึงไม่ยอมมอบให้ส่วนกลางเอาไปถลุง
วิธีดูว่าเป็น federation แล้วจะรอดหรือไม่ ดูง่ายๆ ที่กรมปกครองส่วนท้องถิ่น ดูการเก็บภาษีว่า พื้นที่ไหนเก็บได้มาก น้อย
พื้นที่เก็บภาษีได้มาก เขาปกติก็โวยรัฐเสมอว่าเขาเลี้ยงคนทั้งประเทศ เขาขอสัดส่วนภาษีท้องถิ่นเพิ่ม
คนในพื้นที่ทั้งหลาย แค่เดินไปถามสรรพากรจังหวัด ถ้าเก็บภาษีได้มาก เหลือเข้าส่วนกลางเอาไปใช้มาก พื้นที่นั้นขอเป็น federation ดูจะมีเหตุผลกว่า
พิสูจน์ด้วยตัวเลขครับ อย่าใช้จินตนาการ
พงศกร รอดชมภู
ต้องเข้าใจก่อนว่า การเป็น federation คือการต่อรองอำนาจ แล้วมารวมตัวกันจัดการของใครของมัน ในมลรัฐอาจปกครองแบบใดก็ได้ อาจกระจายหรือรวมศูนย์อำนาจก็ได้ มลรัฐอื่นและรัฐบาลกลางจะไม่ยุ่ง
ส่วนกระจายอำนาจเป็นเรื่องที่ส่วนกลางถ้าเป็นรัฐเดี่ยวก็รัฐบาลกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ถ้าเป็นรัฐรวมแต่ละรัฐกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นตัวเอง
คนละเรื่องกัน
ผมยกตัวอย่างความเป็นมาของการรวมตัวเป็นสหพันธรัฐของเยอรมนีและยูเออีมาแล้ว
ประเทศอย่างสหรัฐฯและออสเตรเลียก็คล้ายกันคือชาวยุโรปชาติต่างๆไปตั้งอาณานิคม ในสหรัฐฯและออสเตรเลียต่างก็มี นิวอัมสเตอร์ดัม และนิวฮอลแลนด์ จากชาวดัชท์ แต่สุดท้ายอาณานิคมอังกฤษใหญ่กว่าจึงใช้ภาษาอังกฤษ
รัฐเล็กๆรวมตัวกันเพื่อให้มีอำนาจมากขึ้น
แต่ตอนนี้ก็ยังมีหลายรัฐอยากแยกตัวเป็นอิสระแต่ประชาชนไม่เห็นด้วย กรณีสหรัฐฯเท่าที่ทราบก็มีรัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐเท๊กซัส เป็นต้น
ออสเตรเลียก็ต้องติดตามกันไป
ตอนนี้อ่านที่มา ที่ไปของออสเตรเลียกันก่อนครับ
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย
พงศกร รอดชมภู
ที่จริง อบต. อบจ. ควรเลิก แล้วเป็นเทศบาลให้หมด แต่เพราะส่วนภูมิภาคคือมหาดไทยยังต้องการคุมเงินและอำนาจอยู่ หากเป็นเทศบาลจะขาดลอยออกเป็นอิสระ
ผู้ว่าฯ นายอำเภอคือส่วนภูมิภาคที่สมัยก่อนไกลกัน ก็ส่งข้าหลวงไปดูแล สมัยนี้น่าจะเปลี่บนบทบาทเป็นผู้กำกับราชการ ตรวจสอบการทุจริต เหมือนสมัยก่อนที่ไปดูความเรียบร้อยหัวเมือง น่าจะดีกว่าครับ
ส่วน ผูกขาดอำนาจ เป็นเรื่องปกติ อยู่ที่ชาวบ้านจะคิดเองเป็นไหม และหากทุจริตก็ใช้ ผู้ว่าฯ นายอำเภอ ตรวจสอบได้เพราะหมุนเวียนคนใหม่มาตลอดเวลา รัฐบาลก็ฝึกอบรมให้เข้มข้น รักชาติ รักประชาชนให้มากๆก็ใช้ได้
ส่วนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรมีไว้ กทม.ไทยเลิกไปแล้ว บอกว่าเหมือนสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯดันยังมีหัวหน้าหมู่บ้านคอยดูแลความเรียบร้อยเพราะคุ้นเคย สนิทกัน ตำรวจก็คนพื้นที่รู้จักคนหมด ครับ เอาไงเอาให้แน่ แต่อย่าคิดเองแบบไทยๆ
พงศกร รอดชมภู
รูปแบบรัฐคือการต่อรองอำนาจ สงวนอำนาจไว้ที่พื้นที่ตนเอง
เมื่อเริ่มต้นสงวนอำนาจโดยที่ไม่มีอะไรเหลือ ก็เท่ากับเตะหมูเข้าปาก พื้นที่ซึ่งเจริญกว่า ไม่ต้องแบ่งเงินมาช่วยอีกต่อไป
พื้นที่อย่าง กทม. ตะวันออก ภูเก็ต จะกลายเป็นสิงคโปร์ทันที เพราะมีพลเมืองให้ดูแลน้อย รวยลูกเดียว
เชียงใหม่ อาจดีกว่าคนอื่น โคราชอาจดีกว่าคนอื่น แต่อุ้มคนทั้งภาคไหวหรือ
ภาคใต้ไม่มีภูเก็ตก็ตายเหมือนกัน
เมื่อพื้นที่ที่ตอนนี้มีเงินอยู่แล้วและต่อไปไม่ต้องเอาภาษีไปอุ้มพื้นที่อื่น เขาก็รวยสบาย
พื้นที่อื่นก็ต้องหารายได้จากพื้นที่ภายในตนเอง จะมีเงินได้อย่างไร เริ่มต้นการเป็น federation ก็คือการหยุดการกระจายรายได้นั่นเอง ตรงไป ตรงมา ไม่มีอะไรมากกว่านี้
ที่ประเทศอื่นๆเขาเป็น federation คือเขาต่างมีดี มารวมกันก็จริง แต่รู้ว่าตัวเองมีทรัพยากรมากจึงไม่ยอมมอบให้ส่วนกลางเอาไปถลุง
วิธีดูว่าเป็น federation แล้วจะรอดหรือไม่ ดูง่ายๆ ที่กรมปกครองส่วนท้องถิ่น ดูการเก็บภาษีว่า พื้นที่ไหนเก็บได้มาก น้อย
พื้นที่เก็บภาษีได้มาก เขาปกติก็โวยรัฐเสมอว่าเขาเลี้ยงคนทั้งประเทศ เขาขอสัดส่วนภาษีท้องถิ่นเพิ่ม
คนในพื้นที่ทั้งหลาย แค่เดินไปถามสรรพากรจังหวัด ถ้าเก็บภาษีได้มาก เหลือเข้าส่วนกลางเอาไปใช้มาก พื้นที่นั้นขอเป็น federation ดูจะมีเหตุผลกว่า
พิสูจน์ด้วยตัวเลขครับ อย่าใช้จินตนาการ
พงศกร รอดชมภู
ต้องเข้าใจก่อนว่า การเป็น federation คือการต่อรองอำนาจ แล้วมารวมตัวกันจัดการของใครของมัน ในมลรัฐอาจปกครองแบบใดก็ได้ อาจกระจายหรือรวมศูนย์อำนาจก็ได้ มลรัฐอื่นและรัฐบาลกลางจะไม่ยุ่ง
ส่วนกระจายอำนาจเป็นเรื่องที่ส่วนกลางถ้าเป็นรัฐเดี่ยวก็รัฐบาลกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ถ้าเป็นรัฐรวมแต่ละรัฐกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นตัวเอง
คนละเรื่องกัน
ผมยกตัวอย่างความเป็นมาของการรวมตัวเป็นสหพันธรัฐของเยอรมนีและยูเออีมาแล้ว
ประเทศอย่างสหรัฐฯและออสเตรเลียก็คล้ายกันคือชาวยุโรปชาติต่างๆไปตั้งอาณานิคม ในสหรัฐฯและออสเตรเลียต่างก็มี นิวอัมสเตอร์ดัม และนิวฮอลแลนด์ จากชาวดัชท์ แต่สุดท้ายอาณานิคมอังกฤษใหญ่กว่าจึงใช้ภาษาอังกฤษ
รัฐเล็กๆรวมตัวกันเพื่อให้มีอำนาจมากขึ้น
แต่ตอนนี้ก็ยังมีหลายรัฐอยากแยกตัวเป็นอิสระแต่ประชาชนไม่เห็นด้วย กรณีสหรัฐฯเท่าที่ทราบก็มีรัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐเท๊กซัส เป็นต้น
ออสเตรเลียก็ต้องติดตามกันไป
ตอนนี้อ่านที่มา ที่ไปของออสเตรเลียกันก่อนครับ
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย
พงศกร รอดชมภู
ที่จริง อบต. อบจ. ควรเลิก แล้วเป็นเทศบาลให้หมด แต่เพราะส่วนภูมิภาคคือมหาดไทยยังต้องการคุมเงินและอำนาจอยู่ หากเป็นเทศบาลจะขาดลอยออกเป็นอิสระ
ผู้ว่าฯ นายอำเภอคือส่วนภูมิภาคที่สมัยก่อนไกลกัน ก็ส่งข้าหลวงไปดูแล สมัยนี้น่าจะเปลี่บนบทบาทเป็นผู้กำกับราชการ ตรวจสอบการทุจริต เหมือนสมัยก่อนที่ไปดูความเรียบร้อยหัวเมือง น่าจะดีกว่าครับ
ส่วน ผูกขาดอำนาจ เป็นเรื่องปกติ อยู่ที่ชาวบ้านจะคิดเองเป็นไหม และหากทุจริตก็ใช้ ผู้ว่าฯ นายอำเภอ ตรวจสอบได้เพราะหมุนเวียนคนใหม่มาตลอดเวลา รัฐบาลก็ฝึกอบรมให้เข้มข้น รักชาติ รักประชาชนให้มากๆก็ใช้ได้
ส่วนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรมีไว้ กทม.ไทยเลิกไปแล้ว บอกว่าเหมือนสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯดันยังมีหัวหน้าหมู่บ้านคอยดูแลความเรียบร้อยเพราะคุ้นเคย สนิทกัน ตำรวจก็คนพื้นที่รู้จักคนหมด ครับ เอาไงเอาให้แน่ แต่อย่าคิดเองแบบไทยๆ
EmoticonEmoticon