วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

"ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง จนการแช่แข็งประเทศไทย by กปปส.และ มวลเหล่ามหาประชาชนที่ร่วมมือกับทหาร จนนำไปสู่ การรัฐประหาร " คือ สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศนี้พินาศสิ้นมาจนบัดนี้


" "ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง จนการแช่แข็งประเทศไทย by กปปส.และ มวลเหล่ามหาประชาชนที่ร่วมมือกับทหาร จนนำไปสู่ การรัฐประหาร" คือ สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศนี้พินาศสิ้นมาจนบัดนี้    

อย่าไปโทษเรื่องอื่น ที่ประเทศเพื่อนบ้านจะได้รับการคาดหมายจากไอเอ็มเอฟว่าจะแซงไทย มันเกิดจากความคลั่ง ไร้สติ ของคนจำนวนน้อยที่มีกองกำลังและเนติบริกรหนุนหลังทำอะไรไม่ผิดนี่ล่ะครับ
รับกรรมกันไป รู้ตัววันนี้ยังแก้ไขยาก สมองที่ถูกพิมพ์ความคิดที่ผิดลงไป มีผลระยะยาวน่าสยดสยองยิ่งนัก อีก ๒๐ ปีข้างหน้าคงมีค่าเท่าประเทศในกลางทวีปอาฟริกาเท่านั้นแน่ๆ


ไทยโพสต์ ตอลัมน์โลกใบใหม่ ๒๐ มค ๖๑
ฝ่าความอ่อนล้า ตกต่ำปัจจุบัน.....สู่อนาคตใหม่
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่าภายในปี 2022 ข้างหน้านี้ ฟิลิปปินส์จะแซงหน้าเศรษฐกิจไทย ขึ้นแท่นเขตเศรษฐกิจอันดับ 2 ของอาเซียน ต่อจากอินโดนีเซีย! ซึ่งมุมมองของ มูรายามะ ฮิโรชิ แห่งนิกเกอิ เอเชี่ยน รีวิว ได้มองย้อนสังคมเศรษฐกิจไทยจากอดีตสู่อนาคตเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกันไว้อย่างน่าคิด!
ย้อนกลับไปเมื่อประเทศไทยเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” คราวนั้น ประเทศไทยเผชิญปัญหาหนักหน่วงมาก แต่ก็ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับหลายประเทศรอบข้าง และไทยเรายังสามารถสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ในปี 2003 ไอเอ็มเอฟ ชี้ว่าการขยายตัวเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดดเด่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน จีดีพี ของไทยขยายตัวถึงร้อยละ 7.2 ขณะที่ฟิลิปปินส์โตขึ้นแค่ร้อยละ 5 และอินโดนีเซียที่ประชากรมากที่สุดก็เติบโตเพียงร้อยละ 4.8 เท่านั้น ซึ่งคำนวณรายได้จีดีพีต่อหัวของไทยอยู่ที่ 2,380 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงมากกว่าสองประเทศคืออินโดและฟิลิปปินส์รวมกันทีเดียว!
พอย่างเข้าปี 2013 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยกลับถดถอยติดดิน เติบโตอยู่ระหว่างร้อยละ 0 – 3.2 ต่อปีเท่านั้น ขณะที่เพื่อนบ้านทุกประเทศพุ่งทะยานไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง! วันนี้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ราวร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา! แต่ประเทศอาเซียนทั้งหมดก็เติบโตมากกว่าไทย ไม่ว่าลาว เวียดนาม พม่า อินโด ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ฯ โดยทุกประเทศเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ถึงเกือบร้อยละ 10 ในทุกประเทศ มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เตี้ยต่ำเรี่ยพื้นอยู่แต่ลำพัง!
มูรายามะ สะท้อนความถดถอยของเศรษฐกิจไทยว่า นอกจากปัญหาการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนแล้ว การที่ไทยไม่สามารถพัฒนา “อุตสาหกรรมหลัก” ใหม่ ๆ ขึ้นมาเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ไทยใช้เป็นพลังการขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจขึ้นมาเพิ่มอีกทางหนึ่ง ก็เป็นปัญหาที่น่าคิด ซี่งจะว่าไปแล้วทั้งการเมืองและความอ่อนล้าขาดความทะเยอทะยาน ทำให้เศรษฐกิจไทยไร้พลังที่จะเติบโตมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน!
ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนได้สร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ขึ้นจากอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นเวียดนามให้ความสนใจในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแม้วันนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ของเวียดนามจะยังไม่ประสบความสำเร็จเช่นประเทศไทย แต่เวียดนามก็ประสบความสำเร็จในการดึงเอาซัมซุง อิเลคโทรนิค ยักษ์ใหญ่สมาร์ทโฟนระดับโลกไปลงหลักปักฐานการผลิตที่เวียดนามได้!
มูรายามะ มองตัวเลขจากไอเอ็มเอฟ ที่คาดว่านับจากปี 2017 ไปอีก 5 ปี จีดีพีต่อหัวของไทยจะเพิ่มเป็น 7,560 ดอลลาร์ ซึ่งนับว่าในระดับสูงของภูมิภาค แต่ก็ไม่ห่างจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเช่นแต่ก่อนแล้ว อินโดจะขยับขึ้นมาที่ 5,660 ดอลลาร์ ฟิลิปปินส์ 4,630 ดอลล่าร์ และเวียดนาม 3,330 ดอลล่าร์ ขณะที่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประชากรไทยเพิ่มขึ้นแค่ 3 ล้านคน(จากคาดการณ์ของสหประชาชาติ) ซึ่งจากที่ไทยเคยได้เปรียบจากตลาดแรงงานก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การจะหันไปพึ่งเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่างพม่า ลาว กัมพูชา ก็มีแรงงานอยู่อย่างจำกัด เมื่อเทียบกับการขยายตัวของประชากรในอินโด ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ที่มีอัตราการขยายตัวของประชากรสูง! ขีดจำกัดของไทยในแง่แรงงาน การผลิต และการบริโภคจึงกลายเป็นตัวกำหนดที่มีนัยสำคัญ ทำให้มูรายามะชี้ว่าในปี 2022 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์มีแนวโน้มจะแซงไทยขึ้นไปเป็นที่ 2 รองจากอินโดนีเซีย!!!
มุมวิเคราะห์ดังกล่าวน่าคิดพิจารณายิ่ง แต่ถ้านำบทวิเคราะห์มามองผ่านกระแสเปลี่ยนผ่านของศตวรรษ ก็จะพบความจริงที่หนักหนาสาหัสว่า ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่เป็นปัญหาแค่การเมือง ความทะเยอทะยานทางด้านอุตสาหกรรม หรือประชากรเท่านั้น! แต่เป็นปัญหาที่โยงใยซ้อนทับกันทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว ปมปัญหาที่ขมวดขดสุมทับกันเหล่านี้เป็นอุปสรรค์ความถดถอยที่ฉุดรั้งการเติบโต การขยายตัว และการปรับตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ!
ความถดถอยของสังคมไทยทำให้ผู้คนมากมายต้องก้มหน้าถามตัวเองว่า เราพากันมาถึงวันนี้ได้ไง? เราสร้างระบบการเมืองที่ห่วงพวกพ้องแต่กลับไม่ห่วงประเทศชาติบ้านเมือง! เราคลั่งไคล้ฟูมฟายกับการเลือกตั้งให้ความสำคัญมากกว่าความเป็นประชาธิปไตยที่สร้างความเสมอภาคเป็นธรรมและความบริสุทธิ์ยุติธรรมของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย! หลายครั้งเราสับสนจนเชื่อว่าคอรัปชั่นเป้นความปรกติเป็นวัฒนาธรรมของสังคมเรา! เราเชื่อในใบปริญญาให้ความสำคัญกับมันมากกว่าความรู้ ความสามารถของบุคคล! เราเชื่อและสยบยอมระบบอุปถัมภ์มากกว่าระบบคุณธรรม! เราผลิตสร้างดราม่าว่าด้วยความรวย-ความจน มากกว่าจะประดิษฐ์คิดสร้างนวัตกรรมและการคิดริเริ่มสร้างเศรษฐกิจ! ฯลฯ
หันพิจารณาดูเรื่องคนส่วนใหญ่ในภาคเกษตรกรรม โลกที่เปลี่ยนไปได้ขับเคลื่อนเกษตรกรรมเข้าสู่เกษตรกรรมฐานความรู้และการพัฒนาศักยภาพใหม่ ด้วยระบบข้อมูลและเทคโนโลยี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ของเรายังปรับตัวไม่ได้ ยังเป็นเกษตรฐานทรัพยากรที่พึ่งพาธรรมชาติ ความเชื่อเดิม ๆ และรอคอยรัฐอยู่เช่นเดิมในโลกใบเก่า! รัฐก็ยังต้องแก้ปัญหาราคาผลผลิตตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรเช่นเดิม ไม่มีการปรับตัว-ปรับสร้างผลผลิตใหม่ หรือพัฒนาระบบการจัดการการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของระบบตลาด หรือไม่พัฒนานวัตกรรมในแปลงปลูกในระบบการผลิตให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง! นี่คือปัญหาที่เกาะกินในลักษณะ “สนิมเกิดแต่เนื้อในตน”
การปรับตัวครั้งใหญ่ของทิศทางการพัฒนาวันนี้ที่มุ่งก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจ 4.0 จึงเป็นแนวทางที่สำคัญและมีความหมายต่อการรื้อสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างยิ่ง! วันนี้เราต้องดิ้นรนก้าวให้พ้นออกจากกับดักความเคยชินแบบเก่า ๆ การตั้งเป้าหมายสู่ 4.0 ต้องสร้างการปรับตัวของระบบโดยรวมทั้งระบบ ทั้งรื้อสร้างระบบการศึกษา ทั้งจัดปรับระบบระเบียบกฎหมายและการทำงานตามแบบราชการ ทั้งการยกระดับมาตรฐานการผลิต การบริโภค และรวมถึงทิศทางเป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยรวม ซึ่งหมายถึงการสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่อย่าง อีอีซี เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการบริหารประเทศในทิศทางนี้เท่านั้น ที่จะนำพาประเทศก้าวออกจากความตกต่ำเรื้อรัง ไปสู่ความมีอนาคตได้ นอกจากที่ว่านี้แล้ว ก็เป็นเพียงแค่วาทกรรม หรือ ดราม่าที่ไร้ราคาเท่านั้น!!!


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก