ปิติ ภิรมย์ภักดี หรือ ต๊อด เกิดเมื่อ 3 กันยายน พ.ศ. 2522 เป็นนักธุรกิจทายาทธุรกิจเบียรสิงห์ บุตรของนายสันติ ภิรมย์ภักดี และนางอรุณี ภิรมย์ภักดี จบการศึกษาจาก High school Wilbraham, Monson Academy ปริญญาตรีเกียรตินิยมสาขาวิศวะอุตสาหกรรม Worcester Polytechnic Institute (WPI)ปัจจุบันเป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด
ต่อมาได้สมรสกับ นุ่น-วรนุช วงษ์สวรรค์ ดารา นักแสดงหญิง หลังจากคบหากันเป็นเวลากว่า 4 ปี โดยมีพิธีมงคลสมรสเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพมหานคร
สืบสาแหรก ต้นตระกูล ภิรมย์ภักดี
ตระกูล “ภิรมย์ภักดี” เริ่มต้นจากรุ่นแรกคือ พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2415 ณ บ้านปลายสะพานยาว วัดบพิตรพิมุข (เชิงเลน) ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลจักรวรรดิ์ อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เรียนหนังสือกับบิดาตอนยังเด็ก พออายุ 11 ปี เรียนกับพระอาจารย์เนียม วัดเชิงเลนได้ 1 ปีเศษก็เรียนฝึกหัดวาดเขียนที่บ้านหลวงฤทธิ์ฯ และเรียนหนังสืออังกฤษกับท่านอาจารย์ หมอ เอ.ยี.แมคฟาแลนด์ ที่โรงเรียนหลวงสวนอนันต์ ได้ประมาณ 2 ปี โรงเรียนก็ย้ายมาสอนที่สุนันทาลัย สามารถสอบไล่ได้ที่ 1 ในทุกวิชาของโรงเรียน และในปี พ.ศ. 2433 ได้เป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียนสุนันทาลัย ต่อมาก็ได้ไปเป็นครูสอนเด็กที่โรงเลี้ยงเด็กอนาถา จากนั้นในปี พ.ศ. 2435 เจ้าพระยาภาสวงศ์ เสนาบดี ได้ทดลองให้ทำหน้าที่ตำแหน่งเลขานุการกระทรวงธรรมการ เมื่อจะลาออกแต่ครูใหญ่ไม่ให้ออก จึงตัดสินใจไม่เอาทั้ง 2 อย่าง จากนั้นทำงานเป็นเสมียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษที่โรงเลื่อยของห้างกิมเซ่งหลี และห้างเด็นนิมอตแอนด์ดิกซัน จนเห็นลู่ทางธุรกิจจึงมาเริ่มมาเป็นเจ้าของกิจการค้าไม้ เดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา และก่อตั้งโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทยในปี 2476
เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีนโยบายเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตเบียร์มาก่อน จึงยุติลงที่การอนุมัติโรงเบียร์แห่งแรกบนเนื้อที่ 9 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านบางกระบือ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 6 แสนบาท ในปี พ.ศ. 2477 พระยาภิรมย์ภักดีก็ได้นำเอาเบียร์สดใส่ถังไปเปิดให้ผู้คนดื่มฟรีในงานสโมสรคณะราษฎร ปรากฏว่าเป็นที่พอใจกันยิ่งนัก ข่าวได้แพร่สะพัดออกไป มีลูกค้าจับจองสินค้าออกสู่ตลาด จนได้จำหน่ายเบียร์รุ่นแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 มีตรายี่ห้อต่าง ๆ กัน ทั้งตราว่าว ตราพระปรางค์ ตรากุญแจ ตรารถไฟ ตราหมี ปรากฏว่าเบียร์ตราสิงห์ได้รับความนิยมมากที่สุด ต่อมาจึงค่อยๆ หยุดผลิตยี่ห้ออื่นไป เหลือเพียงเบียร์สิงห์
“พระยาภิรมย์ภักดี” มีความรู้ความสามารถ แต่งตำราการคิดคำนวณ หน้าไม้สำเร็จรูป แต่งตำราว่าวพนัน ได้โปรดเกล้าฯ เป็นนายเรือตรี ร.น. เสือป่าและกัปตันเรือเดินทะเล ได้เป็นกรรมการสโมสร และสนาม และยังบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างเช่น ได้ถวายตัวเป็นสมาชิกเสือป่า สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างกระโจมแตรในสวนลุมพินี สร้างโรงเรียนอนาถา เป็นต้น ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นหลวงภิรมย์ภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย และได้เปลี่ยนเป็น “พระยาภิรมย์ภักดี” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2467 และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภิรมย์ภักดี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.2493
ทั้งนี้ พระยาภิรมย์ภักดี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ได้แก่ วิทย์ ภิรมย์ภักดี (บุตรบุญธรรมจากการรับบุตรของน้องชาย), ประจวบ ภิรมย์ภักดี และจำนงค์ ภิรมย์ภักดี
สาย “ประจวบ ภิรมย์ภักดี”
สำหรับประจวบ ภิรมย์ภักดี เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2455 เป็นบุตรของพระยาภิรมย์ภักดีและนางกิม โดยประจวบ ภิรมย์ภักดี เป็นผู้รับช่วงต่อของธุรกิจต่อจากพระยาภิรมย์ภักดี หลังจากที่พระยาภิรมย์ภักดีเสียชีวิต ทั้งนี้ ประจวบ ภิรมย์ภักดี มีบุตรทั้งหมด 5 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สันติ ภิรมย์ภักดี และปิยะ ภิรมย์ภักดี โดยสันติ ภิรมย์ภักดี แต่งงานกับอรุณี ภิรมย์ภักดี มีลูกคือ ปิติ(ต๊อด) และภูริต (สันต์) ภิรมย์ภักดี
EmoticonEmoticon