วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ลงฑัณฑ์ที่เรือนจำ วังทวีวัฒนา (ตอนที่ 4) ตอน โทษตระพุ่นหญ้าช้าง พ.ศ.2560

การลงฑัณฑ์ที่เรือนจำ วังทวีวัฒนาก็เหมือน มหันตโทษให้ไปเป็น ตระพุ่นหญ้าช้าง สมัยโบราณ


โทษ ตระพุ่นหญ้าช้าง เป็นการกำหนดโทษสถานหนัก รองจากฟันคอริบเรือน   โดยเป็นโทษ ริบราชบาตรแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง*


พิจารณาลักษณะโทษ ของอาญา ตระพุ่นหญ้าช้าง ดังนี้

หัวเมืองชั้นโทอยู่ห่างไกลจากราชธานี จึงต้องมีการจัดระบบการปกครองเพื่อควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองชั้นโท เพื่อให้มีการปกครองครองที่สอดคล้องกับราชธานีและป้องกันมิให้เจ้าเมืองปกครองตามอำเภอใจหรือคิดเป็นกบฏต่อราชธานี โดยมีกฎหมายที่สำคัญดังนี้
1.กฎหมายอาญาหลวง กำหนดให้เจ้าเมืองปกครองราษฎรด้วยความเป็นธรรม เช่น เจ้าเมืองที่ทำให้ราษฎรไม่อยู่เย็นเป็นสุข เข้าข้างอริราชศัตรู มิได้ทำตามพระราชโองการ ต้องโดนลงโทษสถานหนัก เช่น ฟันคอ ริบเรือน บุตรภรรยาตกและทรัพย์สินตกเป็นของหลวงที่เรียกว่าริบราชบาตรหรือถอดออกจากราชการแล้วให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง หรือให้แห่ตระเวนแล้วเสียบประจาน
กำหนดโทษเกี่ยวกับข้าราชการที่กดขี่ราษฎรไว้อย่างรุนแรง เช่น ริบราชบาตรแล้วให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง หรือตระเวนประจานแล้วขังไว้ 1-3 เดือน หรือให้ประหารชีวิตด้วยการฟันคอริบเรือน หรือ ให้ปรับไหม 2 หรือ 4 เท่า
กำหนดโทษเกี่ยวกับการเบียดบังส่วยอากรโดยการกำหนดโทษสถานหนัก เช่น ฟันคอริบเรือน,ริบราชบาตรแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,เฆี่ยนด้วยลวดหนัง 50 ที , ขังไว้หนึ่งเดือนแล้วถอดลงเป็นไพร่,ปรับไหม กำหนดโทษของการนำไพร่หลวงไปใช้ในประโยชน์ส่วนตัว เช่น ริบทรัพย์สินแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,ปรับไหมหรือเฆี่ยนด้วยลดหนัง 25 ที

อ้างอิง : กฎหมายตราสามดวง เล่ม 4 , (กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2506) ,หน้า 58 -59.

พิจารณาจาก "อีจั่น อีนวล" ที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่มีเรื่องไปเกี่ยวข้องกับพระองค์เจ้าเกษร พระราชธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์กับเจ้าจอมมารดาปิ่น

ลุวันจันทร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑ ปีขาลโทศก เวลายามเศษ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาความ และมีพระราชบัญชาว่า

๑. ยกโทษให้อีจั่น อีนวล อีเลย ไม่ต้องประหารชีวิต แต่ถูกส่งไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง

๒. เพิ่มโทษขุนจ่าเมืองในฐานะที่เป็นกรรมการที่ต้องรักษาหน้าที่ กลับไปประสมโรง จึงให้เพิ่มโทษให้ตะเวนบก ๓ วัน เรือ ๓ วัน และให้ส่งไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง

๓. ยกโทษให้แต่ให้ภาคภัณฑ์ไว้ ได้แก่ เจ้าจอมมารดาปิ่น พระยาเพชรบุรี หลวงยุกกระบัตร หลวงปลัด

๔. ขำ เพียร เปี่ยม ข้าหลวง ให้เฆี่ยนเท่าเดิม แต่ไม่ต้องส่งไปเป็นวิเสท ให้นายเงินรับกลับไป (นายเงินก็คือ เจ้าจอมมารดาปิ่น)

๕. ผู้เกี่ยวข้องที่เหลือ เมื่อถูกเฆี่ยนแล้วให้ปล่อยตัวไป

เรื่องนี้ก็จบลงด้วยผู้ที่ทำผิดก็ถูกทำโทษไปตามระเบียบ และโทษนั้นก็มีทั้งเพิ่มและลดตามควรแก่กรณี ทั้งนี้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

มีข้อควรชี้แจงเกี่ยวกับคำที่ใช้เรียกชื่อบุคคลในเหตุการณ์ ดังจะขอยกพระบรมราชาธิบายในรัชกาลที่ ๔ มาดังนี้

การที่จะใช้คำว่า "อี" เช่นเดียวกับคำว่า "อ้าย" คือ "ตัวแลลูกหมู่ไพร่หลวงมหันตโทษแลนักโทษที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ และขาดบรรดาศักดิ์แล้ว แลตัว แลลูกหมู่ ทาส เชลยทั้งปวงมีคำนำหน้าชื่อว่า อ้าย หญิงเช่นผู้ชายที่มีคำนำหน้าชื่อว่า อ้าย ทั้งปวงนั้นย่อมมีคำหน้าชื่อว่า "อี" ทั้งสิ้น"๑๑

การใช้คำว่า "อำแดง" ใช้กับภรรยาข้าราชการที่ศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐ ลงมา

ส่วนที่ไม่มีคำนำหน้าชื่อ ได้แก่ อนุภริยา ของข้าราชการที่ถือศักดินาตั้งแต่ ๑๐๐๐๐ ลงมาถึง ๔๐๐ หญิงที่เป็นบุตรข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ และหญิงโสด


บุคคลใน พ.ศ.2560 ที่ต้องรับโทษ ลงฑัณฑ์ ในเรือนจำ วังทวีวัฒนา

- พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย(ยังไม่เสียชีวิต) อดีต รอง ผบ.ตร.

- พันจ่าอากาศเอกภพไตร นาถสุวรรณ(ยังไม่เสียชีวิต)

- มนตรี โสตางกูร (ยังไม่เสียชีวิต)
 " คุณหลุยส์ "  กรมวังผู้ใหญ่ของอดีต พระวรชายา  และอดีตกรรมการบอร์ดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท


- พันโทกฤษณพล โภชนดา ผบ.ป.พัน12รอ  

รายล่าสุด (ข่าวไม่กรองว่า ถูกซ่อมที่นี่หรือไม่)  แต่เสียชีวิตแล้ว...


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก