วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

"เสี่ยเจริญ" ทุ่มงบหมื่นล้านบาท ซื้อ "เคเอฟซี" ในไทย


เมื่อวันที่ 8 ส.ค. บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ของ นายเจริญ วัฒนภักดี ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์ ว่า มอบหมายให้ บริษัท คิว.เอส.อาร์. เอเซีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของไทยเบฟ ทำสัญญาซื้อขายกับ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเข้าซื้อกิจการร้านเคเอฟซีในประเทศไทย 240 แห่ง และร้านที่กำลังอยู่ระหว่างกำลังพัฒนาในประเทศไทย คาดว่าใช้เงินลงทุนในเบื้องต้น ประมาณ 11,300 ล้านบาท 

ทั้งนี้ การเข้าซื้อกิจการร้านเคเอฟซี เป็นการขยายธุรกิจอาหารของเครือไทยเบฟ และเครือข่ายที่กว้างขวางของร้านเคเอฟซีในประเทศไทย จะช่วยให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลายจุดทั่วประเทศ และเข้าใจแนวโน้มและความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งจะดำเนินการเสร็จเดือน ธ.ค. 60








นงนุช บูรณะเศรษฐกุล รองประธานฝ่ายธุรกิจด้านอาหารของ ThaiBev ได้แสดงความเห็นว่า “การเข้าซื้อร้านสาขาของ KFC ไม่ใช่แค่การขยายโอกาสสำหรับธุรกิจเกี่ยวกับอาหารของ ThaiBev เท่านั้น แต่เครือข่ายสาขาของ KFC ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ยังทำให้เครือของเราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วประเทศ จะทำให้เราเข้าใจในเทรนด์ และยังคงยืนอยู่แถวหน้าของวงการได้ต่อไป"  

นี่คือองค์ประกอบสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว เมื่อรวมกับร้านอาหารที่ทาง QSR บริหารอยู่แล้ว เราจึงอยู่ในจุดที่ดีมาก ที่จะสามารถขยาย KFC ให้กระจายในประเทศไทยไปมากกว่านี้ เราเองยังคาดหวังที่จะได้ร่วมงานกับ Yum Restaurants International (Thailand) เพื่อบรรลุเป้าหมาย และไมใช่แค่ในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้วย ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา ยัม เรสเทอรองตส์ฯ ได้ประกาศหาผู้ที่สนใจเข้ามาซื้อกิจการสาขาของร้านเคเอฟซีในไทยทั้งหมด ที่บริหารโดยยัมฯ 244 สาขา 
โดยได้แต่งตั้งให้บริษัท ไพร้ซ์ วอเตอร์ เฮาส์ เป็นที่ปรึกษาการซื้อขาย ในเวลานั้นร้านเคเอฟซีในไทยมีทั้งหมดเกือบ 600 สาขา แบ่งเป็นของ ยัม เรสเทอรองตส์ ฯ 244 สาขา, บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (ซีอาร์จี) บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ซื้อแฟรนไชส์เปิดสาขาในเซ็นทรัลและโรบินสัน 219 สาขา และบริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด (อาร์ดี) ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตผู้บริหารเคเอฟซีเดิม อีก 130 สาขายัม เรสเทอรองตส์ฯ ให้เหตุผลว่า ต้องการปรับกลยุทธ์มาสู่บทบาทของการเป็นผู้ให้บริการแฟรนไชส์ 100% โดยหลังขายกิจการแล้ว จะหยุดการลงทุนขยายสาขา เพื่อปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทางแฟรนไชส์ โดยมุ่งเน้นการบริหาร พัฒนาแบรนด์และสนับสนุนแฟรนไชส์ เพื่อให้การขยายสาขา การตลาด การพัฒนาต่างๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งแฟรนไชส์จะเป็นผู้ลงทุนสาขา ส่วนงบการตลาดนั้นจะมาจากการหักเปอร์เซ็นต์จากยอดขายของแต่ละรายเพื่อเข้ากองกลาง โดยมีทีมการตลาดของยัมฯ เป็นผู้ดูแลบริหาร ตั้งเป้าหมายให้มีร้านเคเอฟซีในไทยครบ 800 สาขา ภายในปี 2563 นับการรุกเข้าสู่ธุรกิจ “อาหาร” ในรูปแบบฟาสต์ฟู้ด ของกลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจฯ  


ซึ่งมีธุรกิจร้านอาหารอยู่ในมือภายใต้แบรนด์ "โออิชิ" มาจากการซื้อกิจการ บริษัท บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด ต่อจาก ตัน ภาสกรนที ผู้ก่อตั้งเมื่อปี 2549 กระทั่งต่อมาได้เข้ามาบริหารเบ็ดเสร็จ และตันลาออกจากโออิชิ กรุ๊ป ซึ่งมีทั้งธุรกิจอาหาร ประกอบด้วย ร้านโออิชิ แกรนด์, ร้านโออิชิ บุฟเฟต์, ร้านชาบูชิ และร้านโออิชิ ราเมน รวมทั้งยังมีธุรกิจอาหารพร้อมรับประทาน และธุรกิจเครื่องดื่ม ชาเขียวสำเร็จรูป เป็นต้น มีทุนจุดทะเบียนและชำระแล้วเป็น 300 ล้านบาท และมีบริษัทย่อยจำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท โออิชิ ราเมน จำกัด และ บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด

ที่มา : Positioning



EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก