วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เตือน 4 จังหวัดภาคอีสาน เตรียมรับน้ำเขื่อนลำปาว(มีคลิป)

 เตือน 4 จังหวัดภาคอีสาน เตรียมรับน้ำเขื่อนลำปาว(มีคลิป)



กรมชลประทานเตือนจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี ซึ่งเป็น จังหวัดท้ายเขื่อนลำปาวอาจได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำ ขณะที่แม่น้ำชีระดับน้ำจะสูงขึ้น 50 – 60 ซม.

วันนี้ (2 .. 60)กรมชลประทานเร่งระบายน้ำจากเขื่อนลำปาวเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าสู่เขื่อนลำปาวอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่วันที่ 26..ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำทั้งสิ้น 649.94 ล้านลูกบาศก์เมตร จนทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และขณะนี้มีปริมาณน้ำในเขื่อน 1,678 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 85 ของความจุกักเก็บจากความจุเก็บกักสูงสุด 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งต้องรองรับน้ำฝนที่จะลงมาเพิ่มหลังจากนี้ โดยตอนนี้คณะกรรมการจังหวัดกาฬสินธุ์พร้อมด้วยนายอำเภอและผู้นำชุมชนใน อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์มีมติให้เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนลำปาวในระดับ 30 ล้านลูกบาศ์กเมตรต่อวัน

พร้อมกันนี้ ได้แจ้งเตือนให้ประชาชน จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานีที่ต้องรับน้ำจากเขื่อนลำปาวเป็นรายอำเภอแต่ละจังหวัดว่าพื้นที่ใดที่ควรเฝ้าระวัง ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาทั้งหมดแล้ว


อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้มีน้ำท่วมบ้านเรือนที่อยู่ท้ายเขื่อนในอำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสยและลำน้ำชีจะมีระดับน้ำสูงขึ้น 50 – 60 เซนติเมตร ซึ่งทางกรมชลประทานได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพนังกั้นน้ำชีแล้วและวางแผนการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ทั้งเรื่องเตรียมศูนย์พักพิง เตรียมเรือและรถยกสูงสำหรับการเดินทาง ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคและการดูแลความปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชนเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่


ขณะที่เขื่อนหลักๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนอกจากเขื่อนลำปาวที่มีปริมาณน้ำมากแล้ว พบว่ายังมีเขื่อนน้ำอูนที่มีปริมาณน้ำเกินความจุอ่างถึงร้อยละ 124 และเขื่อนน้ำพุงเกินความจุร้อยละ 105 ส่งผลให้จังหวัดสกลนครมีน้ำท่วมสูงก่อนหน้านี้


ทั้งนี้ กรมชลประทานเร่งระบายน้ำที่ท่วมในเขตเมืองด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 26 เครื่องเพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม หากไม่มีฝนตกลงมาเติมในพื้นที่ พื้นที่เขตเมืองสกลนครจะเข้าสู่ภาวะปกติภายในวันที่ ..นี้


ส่วนสถานการณ์การระบายน้ำที่เขื่อนลำปาว หลังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเฉลี่ยวันละ 108 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานได้แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยง
โดยนายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และขณะนี้มีปริมาณน้ำในเขื่อน 1,678 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุเก็บกัก จากความจุเก็บกักสูงสุด 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการคาดการณ์พบว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายวัน ดังนั้นจึงได้ดำเนินการระบายน้ำจากเขื่อนลำปาวเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างในเขื่อนสำหรับรองรับปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมา



สำหรับการเพิ่มการระบายน้ำดังกล่าว ส่งผลให้น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรใน อ.ฆ้องชัย และ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ จากนั้นจะส่งผลให้ลำน้ำชีมีระดับน้ำสูงขึ้นประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร นอกจากนั้น จะต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ใน 4 จังหวัด คือ จ.กาฬสินธุ์,จ.ร้อยเอ็ด,จ.ยโสธร และ จ.อุบลราชธานี ซึ่งต้องรับน้ำจากเขื่อนลำปาว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เตือน 4 จังหวัดภาคอีสาน มี "กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี" เตรียมพร้อมรับมือการระบายน้ำจาก "เขื่อนลำปาว"


อนึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับกรมชลประทานวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่า มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนลำปาวจำนวนมาก ทำให้ต้องเพิ่มการระบายน้ำออกจากเขื่อนลำปาวตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2560 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณท้ายเขื่อนลำปาวใน 4 จังหวัด ประกอบด้วยกาฬสินธุ์ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอฆ้องชัย และอำเภอร่องคำร้อยเอ็ด ได้แก่ อำเภอเชียงขวัญ อำเภอธวัชบุรี อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอจังหาร และอำเภอเสลภูมิยโสธร ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง

 " และอุบลราชธานี ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเขื่องใน อำเภอวารินชำราบ และอำเภอสว่างวีระวงศ์ จึงได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสาน 4 จังหวัดดังกล่าวเตรียมพร้อมรับระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น "พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ปภ.ได้เน้นย้ำหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ให้ประสานการเชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของพนังกั้นน้ำ รวมถึงจัดทำแนวคันกั้นน้ำล้อมรอบสถานที่สำคัญ และพื้นที่เขตเศรษฐกิจของจังหวัด เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์น้ำหลาก ตลอดจนติดตามข้อมูลปริมาณฝน สถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อวางแผนการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาสำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย1784ตลอด24ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก