วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สงครามไซเบอร์(Cyber War) กับ รัฐล้มเหลว(Failed State)

คำถามที่หลายคนสงสัย......สงครามไซเบอร์ทำแล้วได้อะไร?

สงครามไซเบอร์คืออะไร  ทำเพื่ออะไร?   

เคยมีผู้ให้นิยามว่า "ปฎิบัติการขององค์กร และหรือ กลุ่มบุคคล และหรือรัฐชาติใดชาติหนึ่งที่กระทำต่อ ระบบคอมพิวเตอร์หรือ เครือข่ายขององค์กร หน่วยงาน หรือรัฐชาติอื่น  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำลาย ก่อกวน ให้ระบบหยุดชะงัก ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ"

ดังนั้น สงครามไซเบอร์จึงเป็นสงครามยุคใหม่(ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย) ที่ใช้เทคโนโลยีและจิตวิทยาในการแสดงออกเพื่อต่อสู้่กับรัฐ จากการข่มขู่ ด้วยการใช้กำลังบังคับ หรือ การใช้อาวุธ เป็นการกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ โดยการแสดงความไม่ปลอดภัยของระบบ หรือ การนำข้อมูลสำคัญมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ  เป็นยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับรัฐที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็๋ว และได้ผลมากขึ้น กว่ารูปแบบเดิมๆ

สงครามไซเบอร์ นำไปสู่รัฐล้่มเหลวได้อย่างไร?

รัฐล้มเหลวหรือรัฐล่มสลาย (อังกฤษfailed state
หมายถึง รัฐที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้

ดังนั้นการใช้สงครามไซเบอร์ อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่เรียกว่า "รัฐล้มเหลว" ได้  หาก การทำสงครามไซเบอร์ ขยายตัวออกไป จนเป็นเหตุทำให้รัฐไม่สามารถบริหารปกครองได้ อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะดำรงค์สถานะของรัฐไว้ได้ในที่สุด......


อ่านเพิ่มเติม:






คำถาม

ผู้ติดตามต้องการดู หน่วยงานพวกนี้ถูกแฉครับ ผมไม่ใช่แฮกเกอร์ ได้ข้อมูลพวกนี้มา ก็ไม่ได้ช่วยอะไรครับ

ขอถามแอ็ดมินฯหน่อยครับ ไม่รู้จริงๆ ทำแบบนี้ทำไม เพราะอะไร เพื่ออะไร มีเหตุผลอะไร เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อส่วนรวมต่อประเทศชาติบ้านเมือง(ประเทศไทย)อย่างไร ไม่ได้กวนนะ ไม่รู้จริงๆ ใครก็ได้ช่วยบอกหน่อย เขาทำอะไรไม่ดียังไง

คำตอบ

คนที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก็คงไม่มีใครเข้าใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์ก็จะมีความรู้สึกที่ต่างออกไป การที่เข้าไปถึงขนาดนั้นนั้นหมายความว่าสามารถที่จะควบคุมคอมพิวเตอร์จากระยะไกลได้สบาย ๆ อาจจะฝั่งโปรแกรมเพื่อที่จะส่งข้อมูล หรืออะไรอีกมากมาย การที่จะสอนคนที่ไม่เป็นคอมพิวเตอร์ให้รู้ในระบบที่เหนือกว่าโปรแกรมเมอร์มันก็ยากสำหรับคนทั่วไปอยู่แล้ว

การที่เปิดข้อมูลพวกนั้นมีหลายเฟสทำอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือสิ่งที่เฟสนี้พยายามทำให้เห็นก็คือขนาดคอมพิวเตอร์ตัวเองยังปกป้องไม่ได้ แล้วจะมาปกป้องข้อมูลที่สำคัญกว่านั้นได้ยังไง

การที่มีใครก็ไม่รู้ เข้ามาในบ้านของเราได้ ทุกซอก ทุกมุม เปิดตู้เย็น กินอาหารได้ เข้าไปเล่น(ว่าว) ทิ้งหลักฐาน ไว้ในในห้องน้ำไว้อีก เหลือแต่ไม่เปิดวาลว์แก็ส แล้วจุดไฟเล่นเท่านั้น คำถามคือ หากเราเป็นเจ้าของบ้าน เราจะรู้สึกอย่างไร? แล้วยิ่งเจ้าของบ้านที่ต้องใช้อุปกรณ์ในบ้าน ในการทำงาน(ตามคำสั่ง) เช่น ออกไปตั้งด่าน ห้ามคนไป แจ้งวัฒนะ หรือ ออกไปห้ามปรามหัวคะแนน หากเราเป็นเจ้าของบ้านจะทำงานได้โดยสะดวกไหม หรือ ต้องคอยแบ่งคนมาดูแลป้องกันบ้านตัวเองอยู่ หรือ ต้องระวังไฟไหม้บ้านด้วย......
นี่คือ สงครามไซเบอร์ ครับ อุปกรณ์ไอทีคือหัวใจในการบริหารจัดการ รัฐสมัยใหม่ หากอุปกรณ์เหล่านี้ ใช้ไม่ได้ มันก็คือ รัฐล้มเหลว นั้นเอง ว่าแต่วันนี้ ระบบจัดซื้อ จัดจ้าง ภาครัฐ ใช้ได้ตามปกติหรือยัง!


อ่านเพิ่มเติม

 คำถามที่เกิดขึ้นตอนนี้คือระบบ cybersecurity หรือความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของหน่วยงานราชการไทยมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะรับการโจมตีรูปแบบนี้ และที่สำคัญแนวทางป้องกันต่อจากนี้ควรจะเป็นอย่างไร 
ไปหาคำตอบนี้ร่วมกับ ดร. ภูมิ ภูมิรัตน นักวิจัยด้านเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัย และที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จีเอเบิล จำกัด

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในตอนนี้ ดร. ภูมิให้คำแนะนำว่า วิธีที่ง่ายที่สุดคือบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องหยุดท้าทายกลุ่มคนเหล่านี้ ซึ่งการให้ข่าวในเชิงการขอความร่วมมือ หรือขอความกรุณาให้หยุดทำน่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้องมากกว่าการขู่ว่าจะปราบปราม

     นอกจากนี้การตัดระบบที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกไปก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกโจมตีข้อมูลสำคัญๆ ได้เช่นกัน

     “ระบบใดก็ตามที่ไม่จำเป็นต้องต่ออินเทอร์เน็ต เช่น ระบบหลังบ้านที่ต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้สะดวก ช่วงนี้คงต้องรีบตัดออกจากอินเทอร์เน็ตโดยด่วน ลดความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่สัก 2-3 สัปดาห์จนเรื่องเงียบลง ระบบไหนปิดได้ก็ควรปิดไปเลย ส่วนระบบไหนที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับโลกภายนอกก็ควรแยกออกจากระบบที่มีความอ่อนไหว อาจจะย้ายข้อมูลเหล่านั้นไปไว้ในระบบ cloud ที่มีความพร้อมมากกว่า ความเสี่ยงในภาพรวมก็จะหายไป”

ล่าสุด Google และ Temasek เปิดเผยผลวิจัยที่คาดการณ์ว่าใน 10 ปีข้างหน้าตลาดธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทยจะเติบโตไปถึง 37,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 1.3 ล้านล้านบาท
     ที่สุดแล้วสงครามนี้อาจมีเดิมพันสูงกว่าที่คิด เพราะชนะหรือแพ้ไม่ได้มีผลต่อหน้าตาของรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั่วโลกที่กำลังจับตามองการรับมือกับภัยไซเบอร์ครั้งนี้ด้วย

อ่านเรื่องเต็ม:


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก