จะเป็นอย่างไร หากในอนาคต ก่อนที่จะจะแชทกับเพื่อนผ่านไลน์หรือเฟซบุ๊ก หรือส่งอีเมล์หาใครสักคน เราจะต้องเตือนตนเองไว้ตลอดว่า ทุกข้อความที่ส่งไปนั้นอาจจะมี “บุคคลที่สาม” เข้ามาแอบดูได้
นี่อาจเป็นเรื่องสมมุติที่เกิดขึ้นได้จริง หากร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... หรือร่าง “พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์” ถูกนำมาบังคับใช้
กฎหมายนี้เคยเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมเมื่อต้นปี 2558 หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล จำนวน 8 ฉบับ หนึ่งในนั้นได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ซึ่งมีเนื้อหาชวนหวาดเสียว อยู่ในมาตรา 35 เมื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐอย่างกว้างขวาง ทั้งเข้าถึงเอกสาร บัญชี หรือหลักฐานใดๆ รวมถึงดักฟังการสื่อสารได้ทุกชนิด โดยไม่มีกระบวนการ “ตรวจสอบถ่วงดุล” ใดๆ ทั้งสิ้น กระทั่งขอให้ศาลอนุมัติก็ยังไม่ต้อง
ที่สำคัญคือไม่กำหนด “บทลงโทษ” กรณีที่เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยทุจริต
ครั้งนั้น ผู้ใช้เน็ตจำนวนมากออกมาลุกฮือแสดงความไม่เห็นด้วย กระทั่งรัฐบาลทหารต้องยอมถอย เก็บร่างกฎหมายนี้เข้าลิ้นชัก
เวลาผ่านมา 2 ปีเศษ จนใครหลายคนอาจลืมความหงุดหงิดครั้งนั้นไปแล้ว ชื่อของ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ก็ถูกปลุกผีขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ประชุม ครม. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ได้ออก “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” สาระสำคัญคือการตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง มีนายกฯ (พล.อ.ประยุทธ์) เป็นประธาน ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนและนโยบายด้วยความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติ รวมถึงเตรียมการรองรับล่วงหน้า กรณีที่ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์จะออกมาบังคับใช้
นั่นแปลว่า รัฐบาลเอาจริงกับการผลักดันกฎหมายฉบับนี้
อาศัยช่วงเวลาที่ถูกเราลืมเลือนหรือเบื่อจะติดตาม ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฉบับที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว (เรียกง่ายๆ ว่าเป็นเวอร์ชั่นที่ 2) ก็เดินไปตามเส้นทางของมัน ทั้งผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกา ถูกนำมารับฟังความคิดเห็น จนเหลืออีกแค่ไม่กี่ก้าว คือเข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม. และส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบ ก็จะออกมาใช้กับพวกเราทุกคนแล้ว
เมื่อลองไปอ่านร่าง 2.0 ก็จะพบว่า มาตรา 35 ถูกเปลี่ยนเป็นมาตรา 34 แต่เนื้อหายังคล้ายเดิม ทั้งให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงเอกสารหรือดักฟังได้ ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ “เงื่อนไข” ที่ต้องขออนุมัติจากศาลก่อน ยกเว้นกรณีจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ ถึงจะทำไปก่อนแล้วค่อยแจ้งต่อศาล
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนด “บทลงโทษ” เจ้าหน้าที่ กรณีใช้อำนาจโดยทุจริตด้วย
ผู้รู้ในแวดวงเทคโนโลยีระบุว่า กฎหมายแบบ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ไม่ใช่สิ่งที่แปลก เป็น Thailand Only อะไร ในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ก็มีกฎหมายลักษณะนี้มาบังคับใช้ หลังเหตุการณ์ 9/11 หรือกว่า 16 ปีแล้ว
ข้อแตกต่างอยู่ในรายละเอียด ทั้งการกำหนดให้มีศาลเข้ามาถ่วงดุล (ของไทยเพิ่งมีในร่าง 2.0) หรือการวางกลไกให้ 3 ฝ่าย ได้แก่บุคคลทั่วไป เอกชน และภาครัฐ ทำงานร่วมกันเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ปัจจุบันมีภัยคุกคามอยู่มากมาย แต่ในร่างกฎหมายนี้ของไทย กลับให้อำนาจเหมือนภาครัฐเข้ามาแทรกแซงหรือสั่งการในลักษณะ top-down เท่านั้น
ที่สำคัญ คณะกรรมการควรจะให้เป็นอิสระ ไม่ใช่ดึงมาจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีเวลาทำงานเต็มที่ และไม่อยู่ใต้การบงการหรือการชี้นำของรัฐ
นอกจากนี้ กฎหมายลักษณะใกล้เคียงกันนี้ของชาติตะวันตก โดยเฉพาะในยุโรป ยังมีอีกอย่างที่ไม่มีในกฎหมายของไทย ไม่ว่าจะใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ฉบับแก้ไข) พ.ศ.2560 จนถึงร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ นั่นคือกลไกการสร้างความโปร่งใส หรือ Transparency ด้วยการเผยแพร่มติของคณะกรรมการ เพื่อที่ประชาชนจะได้รู้ว่าได้ตัดสินใจอะไรไปบ้าง เพราะอย่าลืมว่า ทุกๆ การตัดสินใจ (เช่น บล็อกเว็บ) จะส่งผลกระทบกับสิทธิของประชาชน
หลายคนบอกว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ เวอร์ชั่น 2 จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นแล้ว แต่ถ้าเทียบกับของต่างชาติ ก็ยังดีไม่พอ
ที่สำคัญยังเปิดช่องในการสร้างความแคลงใจ ด้วยการไม่วางกลไกให้ผู้มีอำนาจต้องเปิดเผยการตัดสินใจครั้งสำคัญๆ
ในต่างประเทศ การถกเถียงในประเด็น “ความมั่นคง - ความเป็นส่วนตัว” มีมาช้านาน เพราะยิ่งให้อำนาจรัฐมาก ความเป็นส่วนตัวของประชาชนก็ยิ่งลดน้อยลง
ต่อให้เราสนับสนุนและเชื่อใจรัฐบาลสุดลิ่มทิ่มประตู และมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย หรือเป็นภัยต่อใครแน่ๆ โดยเฉพาะบนโลกไซเบอร์ แต่อำนาจบางอย่างเมื่อเราปล่อยไปแล้วก็ยากแก่การควบคุม หากร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ออกมาเป็นกฎหมาย โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไข ความรับผิดชอบ และการตรวจสอบถ่วงดุลที่เหมาะสม ก็มีความเป็นไปได้ว่า สักวันหนึ่ง เรา-ซึ่งหมายถึงใครก็ได้ อาจถูกใครบางคน “ส่อง” ดังที่บรรยายไว้ในย่อหน้าแรกของบทความนี้
ที่มา: พงศ์ บัญชา Voice TV
นี่อาจเป็นเรื่องสมมุติที่เกิดขึ้นได้จริง หากร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... หรือร่าง “พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์” ถูกนำมาบังคับใช้
กฎหมายนี้เคยเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมเมื่อต้นปี 2558 หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผ่านชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล จำนวน 8 ฉบับ หนึ่งในนั้นได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ซึ่งมีเนื้อหาชวนหวาดเสียว อยู่ในมาตรา 35 เมื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐอย่างกว้างขวาง ทั้งเข้าถึงเอกสาร บัญชี หรือหลักฐานใดๆ รวมถึงดักฟังการสื่อสารได้ทุกชนิด โดยไม่มีกระบวนการ “ตรวจสอบถ่วงดุล” ใดๆ ทั้งสิ้น กระทั่งขอให้ศาลอนุมัติก็ยังไม่ต้อง
ที่สำคัญคือไม่กำหนด “บทลงโทษ” กรณีที่เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยทุจริต
ครั้งนั้น ผู้ใช้เน็ตจำนวนมากออกมาลุกฮือแสดงความไม่เห็นด้วย กระทั่งรัฐบาลทหารต้องยอมถอย เก็บร่างกฎหมายนี้เข้าลิ้นชัก
เวลาผ่านมา 2 ปีเศษ จนใครหลายคนอาจลืมความหงุดหงิดครั้งนั้นไปแล้ว ชื่อของ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ก็ถูกปลุกผีขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ประชุม ครม. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ได้ออก “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” สาระสำคัญคือการตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง มีนายกฯ (พล.อ.ประยุทธ์) เป็นประธาน ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนและนโยบายด้วยความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติ รวมถึงเตรียมการรองรับล่วงหน้า กรณีที่ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์จะออกมาบังคับใช้
นั่นแปลว่า รัฐบาลเอาจริงกับการผลักดันกฎหมายฉบับนี้
อาศัยช่วงเวลาที่ถูกเราลืมเลือนหรือเบื่อจะติดตาม ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฉบับที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว (เรียกง่ายๆ ว่าเป็นเวอร์ชั่นที่ 2) ก็เดินไปตามเส้นทางของมัน ทั้งผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกา ถูกนำมารับฟังความคิดเห็น จนเหลืออีกแค่ไม่กี่ก้าว คือเข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม. และส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบ ก็จะออกมาใช้กับพวกเราทุกคนแล้ว
เมื่อลองไปอ่านร่าง 2.0 ก็จะพบว่า มาตรา 35 ถูกเปลี่ยนเป็นมาตรา 34 แต่เนื้อหายังคล้ายเดิม ทั้งให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงเอกสารหรือดักฟังได้ ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ “เงื่อนไข” ที่ต้องขออนุมัติจากศาลก่อน ยกเว้นกรณีจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ ถึงจะทำไปก่อนแล้วค่อยแจ้งต่อศาล
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนด “บทลงโทษ” เจ้าหน้าที่ กรณีใช้อำนาจโดยทุจริตด้วย
ผู้รู้ในแวดวงเทคโนโลยีระบุว่า กฎหมายแบบ พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ไม่ใช่สิ่งที่แปลก เป็น Thailand Only อะไร ในประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ก็มีกฎหมายลักษณะนี้มาบังคับใช้ หลังเหตุการณ์ 9/11 หรือกว่า 16 ปีแล้ว
ข้อแตกต่างอยู่ในรายละเอียด ทั้งการกำหนดให้มีศาลเข้ามาถ่วงดุล (ของไทยเพิ่งมีในร่าง 2.0) หรือการวางกลไกให้ 3 ฝ่าย ได้แก่บุคคลทั่วไป เอกชน และภาครัฐ ทำงานร่วมกันเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ปัจจุบันมีภัยคุกคามอยู่มากมาย แต่ในร่างกฎหมายนี้ของไทย กลับให้อำนาจเหมือนภาครัฐเข้ามาแทรกแซงหรือสั่งการในลักษณะ top-down เท่านั้น
ที่สำคัญ คณะกรรมการควรจะให้เป็นอิสระ ไม่ใช่ดึงมาจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีเวลาทำงานเต็มที่ และไม่อยู่ใต้การบงการหรือการชี้นำของรัฐ
นอกจากนี้ กฎหมายลักษณะใกล้เคียงกันนี้ของชาติตะวันตก โดยเฉพาะในยุโรป ยังมีอีกอย่างที่ไม่มีในกฎหมายของไทย ไม่ว่าจะใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ฉบับแก้ไข) พ.ศ.2560 จนถึงร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ นั่นคือกลไกการสร้างความโปร่งใส หรือ Transparency ด้วยการเผยแพร่มติของคณะกรรมการ เพื่อที่ประชาชนจะได้รู้ว่าได้ตัดสินใจอะไรไปบ้าง เพราะอย่าลืมว่า ทุกๆ การตัดสินใจ (เช่น บล็อกเว็บ) จะส่งผลกระทบกับสิทธิของประชาชน
หลายคนบอกว่า แม้ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ เวอร์ชั่น 2 จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นแล้ว แต่ถ้าเทียบกับของต่างชาติ ก็ยังดีไม่พอ
ที่สำคัญยังเปิดช่องในการสร้างความแคลงใจ ด้วยการไม่วางกลไกให้ผู้มีอำนาจต้องเปิดเผยการตัดสินใจครั้งสำคัญๆ
ในต่างประเทศ การถกเถียงในประเด็น “ความมั่นคง - ความเป็นส่วนตัว” มีมาช้านาน เพราะยิ่งให้อำนาจรัฐมาก ความเป็นส่วนตัวของประชาชนก็ยิ่งลดน้อยลง
ต่อให้เราสนับสนุนและเชื่อใจรัฐบาลสุดลิ่มทิ่มประตู และมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย หรือเป็นภัยต่อใครแน่ๆ โดยเฉพาะบนโลกไซเบอร์ แต่อำนาจบางอย่างเมื่อเราปล่อยไปแล้วก็ยากแก่การควบคุม หากร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ออกมาเป็นกฎหมาย โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไข ความรับผิดชอบ และการตรวจสอบถ่วงดุลที่เหมาะสม ก็มีความเป็นไปได้ว่า สักวันหนึ่ง เรา-ซึ่งหมายถึงใครก็ได้ อาจถูกใครบางคน “ส่อง” ดังที่บรรยายไว้ในย่อหน้าแรกของบทความนี้
ที่มา: พงศ์ บัญชา Voice TV
EmoticonEmoticon