วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รู้จักอาจารย์ยิ้ม ผ่านจดหมายฉบับสุดท้ายของ วิลลา


หลังจาก อาจารย์ยิ้ม(รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ) ได้จากไป หลายคนก็แปลกใจว่าทำไม ผู้ชายคนนี้ ถึงได้มีผู้คนมากมายพูดถึง ดังนั้นจะพาเพื่อนๆไปรู้จักเขาให้ลึกซื้งขึ้นจากจดหมายฉบับนี้   ซึ่ง ผช.ดร.วิลลา วิลัยทอง ลูกศิษย์/เพื่อนร่วมงาน คนนี้ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬา  ที่เขียนจดหมายฉบับนี้ได้ละเมียด ละไม แบบนักอักษรศาสตร์ จนอยากเอามาแบ่งปัน ให้สังคมได้รับรู้ และขอขอบคุณ เจ้าของจดหมายเอาไว้ ณ ที่นี้


28 กันยายน 2560
อาจารย์ขา
หนูเริ่มเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงอาจารย์เมื่อเวลา 8.44 น. นับเป็นเวลา 1 วันหลังจากอาจารย์จากพวกเราไป อาจารย์กำลังอ่านจดหมายฉบับนี้อยู่นะคะ “อาจารย์สบายดีนะคะ” หนูขอถามอาจารย์ก่อนบ้าง อาจารย์จะได้ไม่ถามหนูก่อนว่า “วิลลาเป็นยังไงบ้าง” เหมือนกับการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์กับอาจารย์ครั้งสุดท้ายขณะอาจารย์พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
อาจารย์คืออาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนแรกที่หนูได้พบ ถ้าอาจารย์ยังจำได้ ปี 2545 อาจารย์ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าภาคฯ ให้มาคุยกับเด็กที่เพิ่งจบปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ ส่งจดหมายขอสมัครเข้าเป็นอาจารย์หรือนักวิจัย อาจารย์พาหนูไปนั่งทานข้าวเที่ยงที่โรงอาหารเก่าของคณะฯ พูดคุยอย่างเป็นกันเอง และแนะนำให้หนูไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก
ธันวาคมปี 2550 หนูเข้าเป็นอาจารย์ใหม่ของภาควิชา ได้รับมอบหมายให้สอน “ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่” คู่กับอาจารย์ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งในสายอาชีพ วิชานี้เป็นรายวิชาบังคับสำหรับนิสิตเอกและโทประวัติศาสตร์ มักมีนิสิตต่างภาคต่างคณะมาลงเรียนเป็นประจำ บรรยากาศการตื่นตัวและเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนในครึ่งแรกของทศวรรษ 2550 ทำให้การสอนมีพลวัต เราตื่นเต้นที่เห็นจำนวนนิสิตลงทะเบียนเพิ่มขึ้นทุกปีและมีความหลากหลายทางความคิด ส่วนหนึ่งคือ แฟนพันธุ์แท้หรือติ่งของอาจารย์ ข่าวว่า อาจารย์ใจดี (และให้เกรดไม่โหดด้วย)
อาจารย์ให้หนูออกแบบเนื้อหา การวัดผล และเลือกช่วงเวลาที่จะสอน อาจารย์บอกว่า “หนูเลือกเลย ผมสอนได้ทุกอย่าง” หนูจึงเลือกช่วงเวลาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ส่วนอาจารย์สอนตั้งแต่การเข้าสู่สมัยใหม่ของสยาม การทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา อาจารย์ช่วยรับหน้าที่เปิดประเด็นหินๆ ให้เข้าใจง่าย เช่น สยามสมัยจารีตเป็นอย่างไร สมัยใหม่คืออะไร การตีความการเข้าสู่สมัยใหม่มีกี่แบบ อย่างไรบ้าง หนูจะเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดการเรียนการสอนวิชาให้กับนิสิตในสัปดาห์แรก การแนะนำอาจารย์และหนังสือของอาจารย์ ทั้ง แผนชิงชาติไทยและสายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย คือสิ่งที่หนูภาคภูมิใจ
ปีแรกที่สอน หนูเข้าฟังอาจารย์สอนทุกครั้ง ตั้งใจจดเนื้อหาเสมือนเป็นนิสิต สนุกสนานไปกับเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ช่วยให้พวกเราไม่หลับไปพร้อมกับข้อมูลเข้มข้นชุดอื่นๆ ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ชั่วโมงในแต่ละอาทิตย์ อาจารย์ช่วยเบิกทางสู่โลกแห่งการสอนประวัติศาสตร์
การเรียนรู้ผ่านการสอนร่วมกับอาจารย์ดำเนินไปพร้อมกับการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมกับอาจารย์ โดยเฉพาะให้กับนิสิตที่ขึ้นชื่อว่า คอการเมือง ขาวัฒนธรรม ชอบทฤษฎี อึด เอาจริงเอาจัง ไม่ได้มาเล่นๆ คุยตรงๆ คนหนึ่งคือ ดร (ดร. ธิกานต์ ศรีนารา) ผู้ทำเรื่อง “ความคิดทางการเมืองของ “ปัญญาชนฝ่ายค้าน” ภายหลังการตกต่ำของกระแสความคิดสังคมนิยมในประเทศไทย พ.ศ. 2524 – 2534” (2555) อีกคนคือกุ้ง (ดร. ชาติชาย มุกสง) ผู้ศึกษาเรื่อง “รัฐโภชนาการใหม่กับการเปลี่ยนแปลงวิถีการกินในสังคมไทย พ.ศ. 2542-2517” (2556)
พวกเราปรับตัวหาแนวทางการทำงานร่วมกันได้ไม่ยากนัก อาจารย์เป็นศูนย์กลางของการเจรจาต่อรอง ห้องทำงานของหนูคือพื้นที่นัดพบ หลายครั้งแทนที่จะพูดถึงเนื้อหาวิทยานิพนธ์ เรากลับนอกเรื่องไปการบ้านการเมือง จุดยืนทางความคิด มโนสาเร่ หัวเราะเอิ๊กอ๊ากกันลั่นห้อง อาจารย์จำได้นะคะ อาจารย์ให้อิสระและปล่อยให้หนูทำงานตามถนัดเช่นเคย อาจารย์ดูแลภาพรวมหรือระดับมหภาค เช่น โครงเรื่อง ข้อเสนอหลัก การใช้หลักฐาน ส่วนหนูคอยเก็บรายละเอียด ซักถามประเด็นตกหล่นพร้อมเก็บความรู้จากอาจารย์ ดรและกุ้งเข้าคลังตุนไว้ เป็นกองหนุน ดูข้างหลังให้มั่นใจว่าวิทยานิพนธ์พร้อมส่ง
หนูคงอาจจะเหมือนนิสิตอีกหลายๆ คน เมื่อผลิตงานทางประวัติศาสตร์เสร็จสักชิ้น และถ้าได้รับคำชมจากอาจารย์ หัวใจก็จะพองโตและมีกำลังใจในการทำงานชิ้นต่อไป พ.ศ. 2553 ภาควิชาประวัติศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์และกองทุน จิตรภูมิศักดิ์ จัดงานสัมมมนา 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ หนูได้ร่วมนำเสนอบทความ หลังจากนั้นมีการจัดพิมพ์หนังสือรวมบทความจากงานสัมมนา มีอาจารย์เป็นบรรณาธิการ หนูใช้เวลาทำงานชิ้นนี้นานกว่าที่กำหนด เพราะยิ่งทำยิ่งสนุก หนูได้ข้อมูลและข้อคิดจากอาจารย์หลายประเด็น จากเดิมจะเขียนเรื่องชีวิตประจำวันของจิตร ภูมิศักดิ์ความยาวประมาณ 30 หน้า สุดท้ายเขียนไปกว่า 90 หน้า พอเขียนเสร็จ รีบส่งให้อาจารย์อ่าน อาจารย์ชอบและบอกว่าดี แต่ยังไงก็ต้องขอตัดให้เหลือ 30 หน้านะ ภายหลังงานชิ้นนี้คือหนังสือเรื่อง “ทัณฑะกาลของจิตร ภูมิศักดิ์และผู้ต้องขังการเมือง” (2556)
อาจารย์ชวนหนูขึ้นพูดเรื่องจิตรอีกครั้งในงาน 50 ปี แห่งการจากไปของจิตร ภูมิศักดิ์เมื่อปีที่แล้ว หนูขอปฏิเสธเพราะเห็นว่าการพูดปิดท้ายนั้นค่อนข้างเกินความสามารถของตนและได้เปลี่ยนเรื่องการวิจัยไปแล้ว อาจารย์พูดจนหนูยอมขึ้นเวทีจนได้ สิ่งที่หนูพูดคือ การย้อนกล่าวถึงประเด็นจากงาน 80 ปีในพ.ศ. 2553 และสรุปประเด็นในปี 2559 ชี้ให้เห็นว่าผู้ศึกษา 2 ช่วงมองจิตรเหมือนหรือต่างกันอย่างไร หวังว่าหนูไม่ได้ทำให้อาจารย์ผิดหวังนะคะ
ครึ่งหลังของทศวรรษ 2550 อาจารย์ลาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ 1 ปี หนูลาไป 1 ปี เราประชุมภาควิชาด้วยกันบ้าง คุยโทรศัพท์เรื่องงานบ้าง ทานข้าวกันบ้าง บางครั้งหนูขอความช่วยเหลือด่วนจากอาจารย์ อาจารย์ก็ไม่เคยปฏิเสธ หนูดีใจมากที่อาจารย์ได้อ่านงานทางวิชาการสองชิ้นสุดท้ายของหนูก่อนที่หนูจะลาออกจากการเป็นอาจารย์จุฬา อาจารย์ได้เห็นการเติบโตของหนูในช่วงเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา
หนูไปเยี่ยมอาจารย์เมื่อบ่ายวันอังคารที่ 26 กันยายน 2560 ก่อนหนูกลับบ้านวันนั้น หนูยืนข้างเตียงและโน้มตัวบอกอาจารย์ว่าหนูลากลับบ้านแล้วนะคะ อาจารย์นอนหลับตา ส่งเสียงดังผ่านเครื่องช่วยหายใจด้วยความลำบาก พยายามบอกกับหนูว่าอาจารย์รับทราบ
หนูขอถือโอกาสนี้กล่าวขอบพระคุณอาจารย์อย่างเป็นทางการนะคะ สำหรับทุกๆ สิ่งที่อาจารย์ได้ให้แก่หนู นิสิตนักศึกษา วงการประวัติศาสตร์ และสังคมไทย
ด้วยความเคารพรักอาจารย์เป็นอย่างสูง
วิลลา วิลัยทอง


ต้นฉบับในเฟส ด้านล่างนี้

28 กันยายน 2560
อาจารย์ขา
หนูเริ่มเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงอาจารย์เมื่อเวลา 8.44 น. นับเป็นเวลา 1 วันหลังจากอาจารย์จากพวกเราไป อาจารย์กำลังอ่านจดหมายฉบับนี้อยู่นะคะ “อาจารย์สบายดีนะคะ” หนูขอถามอาจารย์ก่อนบ้าง อาจารย์จะได้ไม่ถามหนูก่อนว่า “วิลลาเป็นยังไงบ้าง” เหมือนกับการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์กับอาจารย์ครั้งสุดท้ายขณะอาจารย์พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
อาจารย์คืออาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนแรกที่หนูได้พบ ถ้าอาจารย์ยังจำได้ ปี 2545 อาจารย์ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าภาคฯ ให้มาคุยกับเด็กที่เพิ่งจบปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ ส่งจดหมายขอสมัครเข้าเป็นอาจารย์หรือนักวิจัย อาจารย์พาหนูไปนั่งทานข้าวเที่ยงที่โรงอาหารเก่าของคณะฯ พูดคุยอย่างเป็นกันเอง และแนะนำให้หนูไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก
ธันวาคมปี 2550 หนูเข้าเป็นอาจารย์ใหม่ของภาควิชา ได้รับมอบหมายให้สอน “ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่” คู่กับอาจารย์ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งในสายอาชีพ วิชานี้เป็นรายวิชาบังคับสำหรับนิสิตเอกและโทประวัติศาสตร์ มักมีนิสิตต่างภาคต่างคณะมาลงเรียนเป็นประจำ บรรยากาศการตื่นตัวและเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนในครึ่งแรกของทศวรรษ 2550 ทำให้การสอนมีพลวัต เราตื่นเต้นที่เห็นจำนวนนิสิตลงทะเบียนเพิ่มขึ้นทุกปีและมีความหลากหลายทางความคิด ส่วนหนึ่งคือ แฟนพันธุ์แท้หรือติ่งของอาจารย์ ข่าวว่า อาจารย์ใจดี (และให้เกรดไม่โหดด้วย)
อาจารย์ให้หนูออกแบบเนื้อหา การวัดผล และเลือกช่วงเวลาที่จะสอน อาจารย์บอกว่า “หนูเลือกเลย ผมสอนได้ทุกอย่าง” หนูจึงเลือกช่วงเวลาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ส่วนอาจารย์สอนตั้งแต่การเข้าสู่สมัยใหม่ของสยาม การทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา อาจารย์ช่วยรับหน้าที่เปิดประเด็นหินๆ ให้เข้าใจง่าย เช่น สยามสมัยจารีตเป็นอย่างไร สมัยใหม่คืออะไร การตีความการเข้าสู่สมัยใหม่มีกี่แบบ อย่างไรบ้าง หนูจะเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดการเรียนการสอนวิชาให้กับนิสิตในสัปดาห์แรก การแนะนำอาจารย์และหนังสือของอาจารย์ ทั้ง แผนชิงชาติไทยและสายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย คือสิ่งที่หนูภาคภูมิใจ
ปีแรกที่สอน หนูเข้าฟังอาจารย์สอนทุกครั้ง ตั้งใจจดเนื้อหาเสมือนเป็นนิสิต สนุกสนานไปกับเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ช่วยให้พวกเราไม่หลับไปพร้อมกับข้อมูลเข้มข้นชุดอื่นๆ ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ชั่วโมงในแต่ละอาทิตย์ อาจารย์ช่วยเบิกทางสู่โลกแห่งการสอนประวัติศาสตร์
การเรียนรู้ผ่านการสอนร่วมกับอาจารย์ดำเนินไปพร้อมกับการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมกับอาจารย์ โดยเฉพาะให้กับนิสิตที่ขึ้นชื่อว่า คอการเมือง ขาวัฒนธรรม ชอบทฤษฎี อึด เอาจริงเอาจัง ไม่ได้มาเล่นๆ คุยตรงๆ คนหนึ่งคือ ดร (ดร. ธิกานต์ ศรีนารา) ผู้ทำเรื่อง “ความคิดทางการเมืองของ “ปัญญาชนฝ่ายค้าน” ภายหลังการตกต่ำของกระแสความคิดสังคมนิยมในประเทศไทย พ.ศ. 2524 – 2534” (2555) อีกคนคือกุ้ง (ดร. ชาติชาย มุกสง) ผู้ศึกษาเรื่อง “รัฐโภชนาการใหม่กับการเปลี่ยนแปลงวิถีการกินในสังคมไทย พ.ศ. 2542-2517” (2556)
พวกเราปรับตัวหาแนวทางการทำงานร่วมกันได้ไม่ยากนัก อาจารย์เป็นศูนย์กลางของการเจรจาต่อรอง ห้องทำงานของหนูคือพื้นที่นัดพบ หลายครั้งแทนที่จะพูดถึงเนื้อหาวิทยานิพนธ์ เรากลับนอกเรื่องไปการบ้านการเมือง จุดยืนทางความคิด มโนสาเร่ หัวเราะเอิ๊กอ๊ากกันลั่นห้อง อาจารย์จำได้นะคะ อาจารย์ให้อิสระและปล่อยให้หนูทำงานตามถนัดเช่นเคย อาจารย์ดูแลภาพรวมหรือระดับมหภาค เช่น โครงเรื่อง ข้อเสนอหลัก การใช้หลักฐาน ส่วนหนูคอยเก็บรายละเอียด ซักถามประเด็นตกหล่นพร้อมเก็บความรู้จากอาจารย์ ดรและกุ้งเข้าคลังตุนไว้ เป็นกองหนุน ดูข้างหลังให้มั่นใจว่าวิทยานิพนธ์พร้อมส่ง
หนูคงอาจจะเหมือนนิสิตอีกหลายๆ คน เมื่อผลิตงานทางประวัติศาสตร์เสร็จสักชิ้น และถ้าได้รับคำชมจากอาจารย์ หัวใจก็จะพองโตและมีกำลังใจในการทำงานชิ้นต่อไป พ.ศ. 2553 ภาควิชาประวัติศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์และกองทุน จิตรภูมิศักดิ์ จัดงานสัมมมนา 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ หนูได้ร่วมนำเสนอบทความ หลังจากนั้นมีการจัดพิมพ์หนังสือรวมบทความจากงานสัมมนา มีอาจารย์เป็นบรรณาธิการ หนูใช้เวลาทำงานชิ้นนี้นานกว่าที่กำหนด เพราะยิ่งทำยิ่งสนุก หนูได้ข้อมูลและข้อคิดจากอาจารย์หลายประเด็น จากเดิมจะเขียนเรื่องชีวิตประจำวันของจิตร ภูมิศักดิ์ความยาวประมาณ 30 หน้า สุดท้ายเขียนไปกว่า 90 หน้า พอเขียนเสร็จ รีบส่งให้อาจารย์อ่าน อาจารย์ชอบและบอกว่าดี แต่ยังไงก็ต้องขอตัดให้เหลือ 30 หน้านะ ภายหลังงานชิ้นนี้คือหนังสือเรื่อง “ทัณฑะกาลของจิตร ภูมิศักดิ์และผู้ต้องขังการเมือง” (2556)
อาจารย์ชวนหนูขึ้นพูดเรื่องจิตรอีกครั้งในงาน 50 ปี แห่งการจากไปของจิตร ภูมิศักดิ์เมื่อปีที่แล้ว หนูขอปฏิเสธเพราะเห็นว่าการพูดปิดท้ายนั้นค่อนข้างเกินความสามารถของตนและได้เปลี่ยนเรื่องการวิจัยไปแล้ว อาจารย์พูดจนหนูยอมขึ้นเวทีจนได้ สิ่งที่หนูพูดคือ การย้อนกล่าวถึงประเด็นจากงาน 80 ปีในพ.ศ. 2553 และสรุปประเด็นในปี 2559 ชี้ให้เห็นว่าผู้ศึกษา 2 ช่วงมองจิตรเหมือนหรือต่างกันอย่างไร หวังว่าหนูไม่ได้ทำให้อาจารย์ผิดหวังนะคะ
ครึ่งหลังของทศวรรษ 2550 อาจารย์ลาไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ 1 ปี หนูลาไป 1 ปี เราประชุมภาควิชาด้วยกันบ้าง คุยโทรศัพท์เรื่องงานบ้าง ทานข้าวกันบ้าง บางครั้งหนูขอความช่วยเหลือด่วนจากอาจารย์ อาจารย์ก็ไม่เคยปฏิเสธ หนูดีใจมากที่อาจารย์ได้อ่านงานทางวิชาการสองชิ้นสุดท้ายของหนูก่อนที่หนูจะลาออกจากการเป็นอาจารย์จุฬา อาจารย์ได้เห็นการเติบโตของหนูในช่วงเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา
หนูไปเยี่ยมอาจารย์เมื่อบ่ายวันอังคารที่ 26 กันยายน 2560 ก่อนหนูกลับบ้านวันนั้น หนูยืนข้างเตียงและโน้มตัวบอกอาจารย์ว่าหนูลากลับบ้านแล้วนะคะ อาจารย์นอนหลับตา ส่งเสียงดังผ่านเครื่องช่วยหายใจด้วยความลำบาก พยายามบอกกับหนูว่าอาจารย์รับทราบ
หนูขอถือโอกาสนี้กล่าวขอบพระคุณอาจารย์อย่างเป็นทางการนะคะ สำหรับทุกๆ สิ่งที่อาจารย์ได้ให้แก่หนู นิสิตนักศึกษา วงการประวัติศาสตร์ และสังคมไทย
ด้วยความเคารพรักอาจารย์เป็นอย่างสูง
วิลลา วิลัยทอง


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก