วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ยากแค่ไหนหากขอลี้ภัยในอังกฤษ

ท่ามกลางกระแสข่าวว่า น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีขอลี้ภัยในประเทศอังกฤษ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยจากอดีตนายกฯ หญิงหรือทางการของสหราชอาณาจักร บีบีซีไทย คุยกับคนไทย 2 ราย ที่ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัย รายหนึ่งได้สถานะแล้ว อีกรายรอฟังคำตอบด้วยใจจดจ่อ

"รู้สึกว่า ตัวเองไม่มีตัวตน ไร้รัฐ ไร้เสรีภาพ"
"วัน" แม่ลูกหนึ่งซึ่งมีสามีเป็นชาวต่างชาติ หนีภัยคุกคามทางการเมืองมาจากประเทศไทยหลังรัฐประหาร 2557 ครอบครัวของเธอที่เมืองไทยถูกตำรวจมาเยี่ยมเยือน 2-3 ครั้ง
เธอเริ่มยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยครั้งแรกกับกระทรวงมหาดไทย ของสหราชอาณาจักร (Home Office) เมื่อสองปีก่อน แต่ต่อมายกเลิกเพราะตามสามีไปทำงานในต่างประเทศ
ในช่วง ก.ค. 2559 หลังย้ายกลับมายังสหราชอาณาจักร เธอกลับมายื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยอีกครั้งผ่านองค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยนานาชาติในเรื่องนี้โดยเฉพาะ องค์กรนี้ทำคดีให้ผู้ลี้ภัยที่มีฐานะยากจนฟรี แต่ขอเก็บค่าบริการเล็กน้อยกับบุคคลที่มีกำลังจ่ายได้ ซึ่งรวมถึงเธอ
หลังการยื่นขอสถานะ เธอได้สิทธิพำนักในสหราชอาณาจักร สามารถขอรับเบี้ยยังชีพ และที่พักชั่วคราวได้ แต่เธอเลือกไม่ขอ เพราะ อาศัยความช่วยเหลือจากครอบครัวสามี เธอไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ไม่สามารถทำงานในประเทศได้ แม้แต่ทำงานช่วยเหลือองค์กรการกุศล ไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ ต้องไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นทุก 2 สัปดาห์
"ทำอะไรก็ไม่ได้เลย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีตัวตน ไร้รัฐ ไร้เสรีภาพ" วัน เล่าถึงความรู้สึกขณะรอผลคำขอสถานะผู้ลี้ภัย เธอทำได้เพียงเลี้ยงลูกชายที่บ้านสามีไปวันวัน
ยิ่งลักษณ์Image copyrightGETTY IMAGES
ฝันร้ายกลายเป็นดี
ปลายเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว ข่าวร้ายก็มาถึงเธอ เมื่อคำขอสถานะผู้ลี้ภัยถูกปฏิเสธ ทางการอังกฤษไม่เชื่อว่าทางการไทยจะทำร้ายเธอ ถ้าเดินทางกลับไปประเทศบ้านเกิด ตามคำข่มขู่ของเจ้าหน้าที่ไทย แต่ข่าวร้ายก็เป็นข่าวดีในชั่วขณะ เพราะเธอได้วีซ่าชั่วคราว เธอสามารถเปิดบัญชีธนาคาร และทำธุรกรรมอื่น ๆ ได้ พร้อมกับการอุทธรณ์ขอเป็นผู้ลี้ภัยอีกครั้งในอีก 1 เดือนต่อมา
ในคำอุทธรณ์ครั้งนี้ เธอต่อสู้ว่า หากกลับประเทศไทย เธออาจถูกประชาชนกลุ่มรุมทำร้าย คำต่อสู้ครั้งนี้ของเธอมีน้ำหนักมากกว่าเดิม ทำให้เธอได้รับแจ้งผ่านทนายขององค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือเธอว่าคำร้องของเธอได้รับการอนุมัติแล้วในเดือนสิงหาคม ปีนี้
"ดีใจมากที่ได้ทราบข่าวนี้ จากนี้ไป เขาจะออกบัตรผู้ลี้ภัยให้ ออกเอกสารเดินทางของผู้ลี้ภัย เราก็จะทำงานได้ และเดินทางได้"
home officeImage copyrightGETTY IMAGES
หมายจับคือหลักฐานสำคัญในการขอลี้ภัย
ส่วนอีกรายหนึ่ง คือ อดีตนักศึกษาหญิงจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในกรุงเทพฯ ซึ่งเพิ่งจบการศึกษาไม่นาน และเดินทางมายังกรุงลอนดอนตั้งแต่กลางปี 2559 เธอกำลังทำเรื่องขอรับวีซ่าผู้ลี้ภัยในสหราชอาณาจักรพร้อมคู่ชีวิต
อดีตนักศึกษาผู้นี้เล่าว่าตนเองถูกออกหมายจับในข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ขึ้นไป และความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ
สำหรับเหตุผลที่ตัดสินใจขอลี้ภัยนั้นเป็นเพราะรู้สึกกลัวความไม่ปลอดภัย ไม่ต้องการเดินทางไปรายงานตัวกับศาลทหารตามเงื่อนไขการประกันตัว และไม่ต้องการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดว่าไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ
ค่าใช้จ่ายเกือบแสนบาท
ผู้ขอลี้ภัยคนนี้บอกบีบีซีไทยว่าได้เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 ปอนด์ (ประมาณ 88,000 บาท) ในการว่าจ้างทนายความให้เป็นผู้ดำเนินเรื่องสมัครขอลี้ภัยกับกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 โดยใช้หลักฐานสำคัญคือหมายจับของศาลที่ระบุข้อหาทั้ง 2 ข้อหาดังกล่าว ซึ่งทนายความเห็นว่าเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนัก
สำหรับขั้นตอนในการขอลี้ภัยนั้น บัณฑิตหญิงคนดังกล่าวและทนายความจะต้องหารือร่วมกันว่าจะเขียนคำแถลง (Statement) ประกอบการยื่นขอลี้ภัยอย่างไร โดยนอกจากหมายจับแล้ว ยังได้ให้รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในอดีต เช่น ในขณะยังเป็นนักศึกษาเป็นข้อมูลร่วมด้วย
จากนั้นทนายความเป็นผู้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมดและโทรศัพท์นัดหมายกับกระทรวงมหาดไทยอังกฤษ เพื่อขอยื่นเรื่องที่หน่วยคัดครองผู้ขอลี้ภัยที่เมืองครอยดอน ชานกรุงลอนดอน ในวันเดียวกันนั้นเจ้าหน้าที่ได้ถ่ายภาพ สแกนลายนิ้วมือ และสอบถามรายละเอียดส่วนตัวอีกเพียงเล็กน้อย ก่อนจะออกบัตรประจำตัวผู้สมัครขอลี้ภัยให้ และบอกให้รอรับจดหมายเพื่อนัดมาสัมภาษณ์ โดยเธอทั้งต้องส่งมอบนังสือเดินทางไทยให้ทางการอังกฤษในคราวเดียวกัน
ลอนดอนImage copyrightGETTY IMAGES
ทางการอังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
ในช่วงเดือนมีนาคมปีนี้ เธอได้รับการติดต่อให้ไปสัมภาษณ์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ ในครั้งนี้มีการซักถามอย่างละเอียดถึงเหตุผลที่ขอลี้ภัย คดีที่ถูกกล่าวหา ความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยอย่างไรหากต้องเดินทางกลับไทย
ขณะนี้ได้รอการพิจารณามาครบ 1 ปี แล้ว และเตรียมจะติดต่อกับกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะได้รับอนุญาตให้ทำงานในระหว่างรอฟังผล ซึ่งทนายความที่ว่าจ้างไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าขั้นตอนจะเสร็จสิ้นเมื่อใด
"ไม่ห่วงว่าจะไม่ได้ เพราะคิดว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐาน เราไม่ใช่ผู้ลี้ภัยที่จะเข้ามาขอพี่งพาอาศัย แต่เราต้องการการคุ้มครอง เราไม่กลัวว่าจะถูกส่งตัวกลับเพราะทางการอังกฤษพูดกับเราต่อหน้าอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีทางให้ข้อมูลใด ๆ ของเราไม่ว่ากับใครก็ตาม" อดีตนักศึกษาซึ่งพักอาศัยในอังกฤษโดยได้รับเงินจากทางบ้านเป็นค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ในขั้น "ไม่เดือดร้อน" กล่าว
สำหรับคู่ชีวิตซึ่งได้ยื่นขอลี้ภัยในวันเดียวกัน ไม่ได้ถูกเชิญไปสัมภาษณ์ด้วยเนื่องจากขอลี้ภัยในฐานะบุคคลในครอบครัว หากผู้ขอลี้ภัยหลักได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยแล้วคู่ชีวิตก็จะได้ด้วยเช่นกัน
"ถึงวันนี้ก็ยังคิดว่าตัดสินใจถูกที่ไม่เดินทางกลับประเทศไทย เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลทหารก็จะยังอยู่อีกนานแม้จะมีการเลือกตั้งก็ตาม เพราะรัฐธรรมนูญออกแบบไว้อย่างนั้น"
ที่มา:BBC THAI


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก