วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เปิดโปง สัมพันธ์ลึก "บิ๊กตู่-เจ้าสัวโซว เคียกเม้ง" กินรวบประเทศไทย ตอนที่ 1 (ลากไส้ ผลประโยชน์ทับซ้อน)

ตอน ลากไส้ ผลประโยชน์ทับซ้อน ของ “ประยุทธ์ - เจ้าสัวช้าง” ผ่านที่ดินมรดก 600 ล้าน

                เงิน 600 ล้านบาท ที่ บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด แลกกับที่ดินในแขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ จำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 50-3-08 ไร่ ของ พ.อ.ประพัฒน์ จันทร์โอชา บิดา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ถือเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ที่สะท้อนความเชื่อมโยงระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับกลุ่มทุนใหญ่ของประเทศ
                
ด้วยมีการขุดคุ้ยว่า แท้จริงแล้ว บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด นั้นมี  ผู้ถือหุ้นใหญ่” ที่จดทะเบียนอยู่ในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ไอส์แลนด์ และเชื่อมโยงกับธุรกิจของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่และธุรกิจเครื่องดื่มแสนล้าน


                พูดง่ายๆคือ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ซื้อที่ดินจาก “ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นั่นเอง จนนำมาสู่เรื่องราวชวนหัวที่ชื่อว่า “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ในที่สุด

ที่มาของผลประโยชน์ทับซ้อน
การที่ บจก.69 พร๊อพเพอร์ตี้  ซึ่งมีกรรมการและผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการบริษัทในเครือของกลุ่มธุรกิจของนายเจริญฯ มาซื้อที่ดินของ พ.อ.ประพัฒน์ จันทร์โอชา บิดาของ พล.อ.ประยุทธ์ฯ  จำนวน 50-3-08 ไร่ ในเขตบางบอน กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใน “เขตพื้นที่สีเขียว” ของกรุงเทพฯ
ซึ่งราคากลางเฉลี่ยสูงสุดไม่เกินตารางวา (ตร.ว.) ละ 10,375 บาท  แต่ซื้อขายกันในราคาถึง 600 ล้านบาท เฉลี่ย ตร.ว.ละ 29,545 บาท สูงเกือบ 3 เท่าตัว
ทั้งที่เป็นที่ดินที่ไม่เหมาะกับการลงทุน และหลังจากซื้อไปแล้วก็ไม่มีการลงทุนใดๆ

แม้ภายหลัง บจก.ทรงวุฒิ บิสซิเนส โดยนายศราวุธ เทียนสุวรรณ (เป็นกรรมการบริษัทในเครือข่ายของนายเจริญฯ) ได้ขายหุ้นทั้งหมดให้กับ วิคเทค โปรพิท คอมปะนี ลิมิเต็ด แต่ก็เป็นนิติบุคคลที่จัดทะเบียนและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ บริติชเวอร์จิน ไอร์แลนด์ และใช้ที่อยู่ร่วมกันกับนิติบุคคลกลุ่มทุนนายเจริญฯ  5 นิติบุคคล ได้แก่
1.ไชนิ เทร็ชเชอ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้น บริษัท สิริวนา จำกัด จำนวน 710,500,000 หุ้น (710.5 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือเท่ากับ 7,105 ล้านบาท) ตั้งเดือน เม.ย.54 จนถึงปัจจุบัน
2.ไรเซน มาร์ค เอ็นเตอร์ไพรส (Risen Mark Enterprise Ltd.,) ผู้ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจน์ จำนวน 6,549,600,000 หุ้น (6,549.6 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 1 บาท หรือเท่ากับ 6,549.6 ล้านบาท (ผู้ถือหุ้น ณ 30 ธ.ค.47-11 ก.ค.48)และลดลงเหลือ 5,537,600,000 หุ้น (5,537.6 ล้านหุ้น) ในช่วง27 มี.ค.49 เหลือ 2,359,815,000 หุ้น เมื่อ 3 ก.ค.49 กระทั่งหายไปหลังปี 51
3. วิน แอลไลต์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ สัญชาติ บี.วี.ไอ. ถือหุ้น บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด จำนวน 97,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ในปี 2549 (มูลค่า 970 ล้านบาท) ต่อมาเพิ่มเป็น 797,000,000 หุ้น ณ 30 เม.ย.50 (มูลค่า 7,970 ล้านบาท)
4. ทีซีซี แอ็ทเส็ทส์ ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ช่วงปี 2550-2552 จำนวน 1,151,500,000 หุ้น (1,151.5 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือ มูลค่า 11,515 ล้านบาท

5. บริษัท แพลนทิออน อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (บี.วี.ไอ.) จำนวน 489,999,994 หุ้น มูลหุ้นละ 10 บาท (มูลค่า 4,899,999,940 บาท หรือประมาณ 4,899.9 ล้านบาท)


และข้อมูลจาก สำนักข่าว อิสรา ว่า ธุรกิจของกลุ่มทุนนายเจริญฯ อย่างน้อย 9 บริษัท คือ บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด บริษัท สิริวนา จำกัด .บริษัท พรรณธิอร จำกัด ทีซีซีแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท แผ่นดินธรรม พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท คริสตอลลา จำกัด และ บริษัท เครือ อาคเนย์ จำกัด (ชื่อเดิมบริษัท ที.ซี.ซี.แคปปิตอล จำกัด)

มีบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งบนเกาะ บริติชเวอร์จิน บี.วี.ไอ. อย่างน้อย 22 บริษัท รวมมูลค่าหุ้นตามทุนจดทะเบียน 70,807.2 ล้านบาท ได้แก่
1.วิน แอลไลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ทรีเด้นท์แชมเบอร์ (WIN ALLIED INTERNATION INC) ถือหุ้น 2 แห่งคือ บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 5,243,000,000 หุ้น (29 พ.ค.47) มูลค่าหุ้นละ 1 บาท และ บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด 97,000,000 หุ้น (ปี 2549 ) เพิ่มเป็น 797,000,000 หุ้น (30 เม.ย.50) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 7,970 ล้านบาท รวมมูลค่า 2 บริษัท 13,213 ล้านบาท
2.STRONG TREND VENTURE LTD. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
3.LANCENT ASSOCIATES LTD ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47)หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
4.FORTUNE SCENE INVESTMENTS LTD. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
5.SOLID GAIN DEVELOPMENT LTD 1บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47)หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
6. CONTINENTAL CONNECTION INC. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,048,600,000 หุ้น (29 พ.ค.47) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,048.6 ล้านบาท
7.ไรเซน มาร์ค เอ็นเตอร์ไพรส ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 6,549,600,000 หุ้น (30 ธ.ค.57) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 6,549.6 ล้านบาท ต่อมาเหลือ 5,537,600,000 หุ้น ( 27 มี.ค.49) และ 2,359,815,000 หุ้น (3 ก.ค.49) กระทั่งหายไปหลังปี 51
8.Trinity Fortune Investment Ltd. ถือ บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 524,000,000 หุ้น (524 ล้านหุ้น) ณ 29 เม.ย.53 หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 524 ล้านบาท
9. MAXTOP MANAGEMENT CORP. ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 3,694,675,000 หุ้น ณ 29 เม.ย.53- 25 เมษายน 2556 หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 3,694,675,000 บาท
10. SPARKLE VIEW DEVELOPMENT LIMITED ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 1,042,543,572 หุ้น (29 เม.ย.54) หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 1,042,543,572 บาท
11. Kindest Place Groupa Limited ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 19,000,000 หุ้น (19 ล้านหุ้น) ณ 25 เม.ย.56 หุ้นละ 1 บาท มูลค่า 19 ล้านบาท
12.Nexus Power Investment Limited ถือหุ้น บมจ.ไทยเบฟเวอร์เรจส์ 420,514,080 หุ้น ณ 25 เม.ย.57 มูลค่าหุ้นละ 1 บาท มูลค่า 420,514,080 บาท
13. ไชนิ เทร็ชเชอ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ถือหุ้น บริษัท สิริวนา จำกัด (บริษัทส่วนตัวนายเจริญ) จำนวน 710,500,000 หุ้น (710.5 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือเท่ากับ 7,105 ล้านบาท) ตั้งเดือน เม.ย.54 จนถึงปัจจุบัน
14. ทีซีซี แอ็ทเส็ทส์ ลิมิเต็ด ถือหุ้น บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด จำนวน 1,151,500,000 หุ้น (1,151.5 ล้านหุ้น) ช่วงปี 2550-2553 มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือ มูลค่า 11,515 ล้านบาท
15.บริษัท แพลนทิออน อินเตอร์เนชันแนล ถือหุ้น บริษัท พรรณธิอร จำกัด 489,999,994 หุ้น (ณ 29 เม.ย.52) มูลหุ้นละ 10 บาท (มูลค่า 4,899,999,940 บาท หรือประมาณ 4,899.9 ล้านบาท) มูลค่า 4,899,999,940 บาท
16.บลูสกาย โฮลดิ้ง กรุ๊ป อิงค์ ( บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด จำนวน 94,900,000 หุ้น (94.9 ล้านหุ้น) มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมมูลค่า 949 ล้านบาท
17.บริษัท ทีซีซี กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด ถือหุ้น บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด จำนวน 1,151,499,000 หุ้น มูลค่าละ 10 บาท (ณ 29 เม.ย.56-30 เม.ย.57) หรือ มูลค่า 11,514,990,000 บาท และ บริษัท ทีซีซีแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ณ 26 เม.ย.56 จำนวน 97,999,800 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท มูลค่า 979,998,000 บาท รวมมูลค่า 12,494,988,000
18.วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จำนวน 49,000 หุ้น ณ 16 พ.ค.56 ต่อมา เพิ่มเป็น 9,800,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หรือ 98 ล้านบาท
19.สปริง คริสตัล แอสเซ็ทส์ จำกัด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท แผ่นดินธรรม พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 9,900,001 หุ้น (9.9 ล้านหุ้น) มูลค่า หุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 99 ล้านบาท (29 เม.ย.57)
20.คริสตอลลา อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมเต็ด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท คริสตอลลา จำกัด 5,880,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมมูลค่า 588,000,000 บาท (30 ม.ค.56-30 ม.ค.57)
21.บริษัท เพลนดิไวซ อินเวสต์เม้นต์ จำกัด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท เครือ อาคเนย์ จำกัด (ชื่อเดิมบริษัท ที.ซี.ซี.แคปปิตอล จำกัด) จำนวน 117,600,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 1,176 ล้านบาท (30 ธ.ค.51-30 เม.ย.52)
22.เดอะ เซาท์อีสท์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (บี.วี.ไอ.) ถือหุ้น บริษัท เครือ อาคเนย์ จำกัด จำนวน 117,600,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เท่ากับ 1,176 ล้านบาท (26 มี.ค.53-30 เม.ย.57)
ในจำนวนนี้พบว่า 8 บริษัทใช้ที่อยู่เดียวกันคือตู้ ปณ. 146 โรดทาวน์ เทอโทลา บริติชเวอร์จิน ไอสแลนด์ คือ วิน แอลไลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ,ไรเซน มาร์ค เอ็นเตอร์ไพรส ,MAXTOP MANAGEMENT CORP. ,ไชนิ เทร็ชเชอ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ดม ทีซีซี แอ็ทเส็ทส์ ลิมิเต็ด ,บริษัท แพลนทิออน อินเตอร์เนชันแนล ,บลูสกาย โฮลดิ้ง กรุ๊ป อิงค์ ( บี.วี.ไอ.) และ วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด

จากนั้นยังปรากฎในงบการเงินของบริษัทระบุว่า เมื่อ 15 สิงหาคม 2556 บริษัทได้ซื้อสิทธิสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจำนวน 403.87 ล้านบาทจากบริษัทแห่งหนึ่งเพื่อขายสิทธิให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน จำนวน 407 ล้านบาท เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 เกิดกำไรจากการจำหน่าย 3.13 ล้านบาท  หลักฐานดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่าการซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว เป็นการซื้อในราคาสูงเกินจริง  ในลักษณะการให้ผลประโยชน์แก่ พล.อ.ประยุทธ์ฯ  และเมื่อได้เงินเข้าบัญชีแล้ว พ.อ.ประพัฒน์ฯ ได้โอนเงินจำนวน 570 บาท ให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ฯ ยืนยันกับผู้สื่อข่าวที่ไปสอบถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ฯ เป็นผู้รับผิดชอบจัดการเรื่องการซื้อขายที่ดินทั้งหมดเอง    (สำนักข่าว ผู้จัดการ)
แม้ในบันทึกการให้จะระบุว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ฯ ซึ่งเป็นบุตรชายคนโต มีสิทธิอย่างสมบูรณ์ในการดูแลเงินจำนวนนี้ให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องของ พล.อ.ประยุทธ์ฯ แทนตามเห็นสมควร และ พล.อ.ประยุทธ์ฯ ก็ได้นำยอดเงินดังกล่าวไปแสดงบัญชีทรัพย์สินกับทาง ป.ป.ช.

จึงเท่ากับว่า พล.อ.ประยุทธ์ฯ  ซึ่งขณะนั้นมีดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ได้มีการขายที่ดินในราคาที่สูงเกินจริงจนผิดปกติให้กับนายเจริญฯ  ในลักษณะอำพรางผู้ซื้อที่แท้จริง  ในลักษณะเดียวกันกับที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซุกหุ้นและซื้อขายหุ้นโดยไม่เสียภาษีผ่านนิติบุคคลที่ตั้งบนบริติชเวอร์จิน ไอร์แลนด์ เช่นกัน
ต่างกันที่นายเจริญฯ ไม่มีชื่อตัวเองในนิติบุคคลที่รับซื้อ และมีบริษัทที่จัดตั้งในประเทศ(บจก.69 พร็อพเพอร์ตี้) ซื้อที่ดินก่อน แล้วจึงโอนหุ้นส่วนใหญ่ให้นิติบุคคลที่จัดตั้งใน บริติชเวอร์จิน ไอร์แลนด์ แต่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในประเทศ หรือบริติชเวอร์จิน ไอร์แลนด์ ต่างเป็นของกลุ่มทุนนายเจริญฯ  

มีต่อ.....


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก