วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

เปิดปมทุจริตโครงการ 9101(มีคลิป)

ป.ป.ท.รุดสอบปมร้องทุจริตโครงการ 9101

               วันที่ 23 ก.ย. 60 นายประยงค์ ปรียาจิตต์  เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานป.ป.ท.เขตพื้นที่ต่างๆ ตรวจสอบข้อร้องเรียนว่ามีการทุจริตในโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน โดยให้เริ่มต้นตรวจสอบจากข้อร้องเรียนจากประชาชน ที่ยื่นร้องเรียนเป็นบัตรสนเท่ห์เข้ามาที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของป.ป.ท.และช่องทางรับเรื่องร้องเรียนที่รัฐบาลได้จัดไว้แล้วขยายผลการตรวจสอบไปยังจุดต่างๆที่มีการร้องเรียนทุจริต พร้อมสั่งการให้เฝ้าระวังและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการแต่ละพื้นที่ให้เกิดความโปร่งใส

               สำหรับโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของเกษตรกรในระดับฐานราก และช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการสนับสนุนเงินลงทุนเริ่มต้นให้กับเกษตรกรในชุมชน 9,101 แห่ง แห่งละ 2.5 ล้านบาท รวม 22,800 ล้านบาท โดยคาดการณ์จะมีเกษตรกรได้ประโยชน์ 4 ล้านคน จากจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 5-6 ล้านคน โดยแต่ละชุมชนจะต้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อยชุมชนละ 500 คน ในแต่ละโครงการเกษตรกรจะต้องดำเนินการ 8 โครงการ ตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การทำฟาร์มชุมชน การเลี้ยงสัตว์เล็ก การทำประมง และการปรับปรุงบำรุงดิน 
ที่มา:คมชัดลึก
จากข่าวการทุจริตโครงการ 9101 ในโลกออนไลน์
โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ เป็นโครงการใหม่ของรัฐบาล คสช.
รัฐบาลทุ่มงบลงไปกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท แจกฟรี ให้กลุ่มเกษตรกร
ทั่วประเทศ 9,101 กลุ่ม ได้รับเงินไปลงทุนทดลอง
ชุมชนละ 2.5 ล้านบาท

ครึ่งหนึ่งจ่ายเป็นค่าแรงงานเกษตรกร กลุ่มละ 1.25 ล้านบาท
อีกครึ่งหนึ่งจ่ายเป็นค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรม
อีกกลุ่มละ 1.25 ล้าน
กำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย
และมีความประพฤติดีกลุ่มละ 500 คน ให้ร่วม กันประชุมหารือ
จะฝึกอบรมพัฒนา การเกษตรด้านใด
เช่น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง หรืออบรมการปรับปรุงคุณภาพดิน
หรือทดลองทำฟาร์มเกษตรชุมชน ฯลฯ
เกษตรกรยังไม่ทันได้ประชุมปรึกษาหารือกันเอง
กลับมีข้าราชการรวบหัวรวบหางเอาพ่อค้ารับเหมาจัดโครงการ
และจัดหาอุปกรณ์ต่างๆครบวงจร โดยเกษตรกรไม่มีส่วนร่วม
อะไรเลย แถมตั้งราคาขายแพงกว่าราคาตลาด
เช่น เครื่องพ่นยาตั้งราคาเครื่องละ 13,000 บาท
แต่ราคาตลาดซื้อได้แค่ 3,000 บาท
แม้แต่ “ขี้ไก่” ที่ใช้ผลิตปุ๋ยหมัก ยังขายราคากิโล 4 บาทขาดตัว
บางพื้นที่มีเกษตรกรร่วมโครงการไม่ถึง 500 คน
แต่กลับเบิกจ่ายค่าแรงเกษตรกรเต็มโควตา 500
เมื่อก่อนด่านักการเมืองโกงกิน ยุคนี้ไม่มีนักการเมือง มีแต่ทหาร
แต่ข่าวทุจริตวินาศสันตะโร มีทุกวัน ยิ่งกว่าสมัยนักการเมือง

วันนี้(4 ส.ค.60)ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ ได้รับการร้องเรียนจาก ชาวบ้าตำบลตรึม อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ว่า ข้อเท็จจริงที่ชาวบ้านต้องยอมรับชะตากรรมที่เจ้าหน้าที่เกษตร และผู้รับเหมาใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ จากโครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ ส่อทุจริต ขี้วัว+ขี้ควาย ชาวบ้านขาย ก.ก.ละ 2 บาท ก็ดีใจแต่ไม่ได้ขาย แต่ขี้วัว+ขี้ควาย+ดินเหนียว ผู้รับเหมาบังคับใช้กรรมการซื้อกิโลละ 4 บาท โดยเกษตรเป็นผู้หาผู้รับเหมามาให้ อ้างว่าด่วน ผู้ใหญ่ขอมาต้องซื้อราคานี้ ขี้ไก่ชาวบ้านขาย ก.ก.ละ 2 บาทก็ดีใจแล้วแต่ไม่ได้ขาย แต่ขี้ไก่และแกลบดิบ ผู้รับเหมาบังคับกรรมการซื้อกิโลละ 4 บาท ราคาแกลบเผาโรงงานที่โรงไฟฟ้า ขายกิโลละ 50 สต. แต่ผู้รับเหมาให้คณะกรรมการกิโลละ 4 บาท เงินที่ซื้อวัสดุ จำนวน 1 ล้านบาทกว่า คิดว่าประโยชน์เท่าไหร่ ผู้รับเหมาได้เงินเท่าไหร่ เคยร้องเรียน ปปช. ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ก็แล้ว  เรื่องยังเงียบ ขอให้ผู้สื่อข่าวที่เป็นกระบอกเสียงของประชาชน ช่วยตีแผ่ความจริงเรื่องนี้ด้วย

ผู้สื่อข่าวรุดลงพื้นที่ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว โดยเข้าขอข้อมูลจากศูนย์ดำรงธรรมอ.ศีขรภูมิ ว่ามีชาวบ้านมาร้องเรียนขอความเป็นธรรม ในเรื่องโครงการ โครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ ของ ตำบลตรึม หรือไม่ ปรากฏว่า จากการการตรวจสอบงานสารบรรณ บรรทุกหนังสือลงรับ การรับเรื่อง ร้องเรียน ร้องทุกข์ต่างๆในรอบปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่า ว่ามีการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้ เข้าพบเกษตรตำบลตรึม ผู้ประสานงาน ดูแลโครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ เพื่อตรวจสอบถึง การบริหารจัดการ เป็นเรื่องของ คณะกรรมการ เป็นคนดำเนินการ จัดซื้อ จัดจ้างแรงงาน ภายในชุมชน หมู่บ้าน โดยผ่านกระบวนการประชาคม และได้เดินทางไปติดตาม โครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ ที่บ้านจบก ต.ตรึม อ.ศีขรภูมิ พบว่านายทองใส หงส์เพชร กำนันตำบลตรึม และคณะกรรมการ โครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ กำลังทำงานโดยการช่วยกัน ตากปุ๋ย ให้แห้ง ก่อน จำหน่ายในราคาถูก ให้กับชาวบ้าน เพื่อลดต้นทุน ค่าปุ๋ย คืนความสุข ให้เกษตรกร มีการจ้างแรงงาน วันละ 305 บาท มีเงินหมุนเวียนภายใน ชุมชน หมู่บ้าน เป็นอย่างดี





นายทองใส หงส์เพชร กำนันตำบลตรึม กล่าวว่า หลังจากได้รับนโยบายมา เกษตรอำเภอ ได้เรียกไปประชุมในระดับอำเภอ ประชุมเสร็จก็ได้มาประชุมในระดับพื้นที่ โดยมีผู้ใหญ่ทุกหมู่บ้าน ทั้ง 18 หมู่บ้านมาประชุมกัน ที่ศาลาการเปรียญวัดบ่อน้ำใส ต.ตรึม หลังจากนั้นได้ให้ชาวบ้าน ได้เลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ส่วนปัญหาหารร้องเรียน เนื่องจากต้องกรมูลวัวจำนวนมาก ปุ๋ยมูลสัตว์ที่ไม่ได้ซื้อจากชาวบ้านเพราะ มีการทำนาเร็ว วัว ถูกขังไว้ในคอก ทำให้ขนมูลสัตว์ยาก และมีน้อย  ประกอบกับเป็นโครงการเรียกด่วน ถ้าจะรอ คงจะไม่เพียงพอ และล่าช้าออกไปอีก ขาดซื้อโครงการยังล่าช้า
ส่วนการร้องเรียน ชาวบ้านอาจจะไม่เข้าใจ ดีใจที่มีการร้องเรียน เพราะทำให้มีการทำงานดีขึ้น ตนขอฝากผ่านสื่อ ถึงคนร้องเรียน ว่า ตนและคณะกรรมการ อาสามาทำงานด้วยใจ ต้องการเห็นตำบลของเรามีความเจริญ  ต้องยอมรับว่า โครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ เป็นโครงการทีเร่งด่วน ไม่เหมือนโครงการที่ สมาชิก อบต. เข้าสภาฯ โครงการนี้ ใช้เวลาแค่ 10 วัน เรื่องเอกสาร และบริหารจัดการทุกๆอย่าง เรียบการ ต้องมาจากกรม ความผิดพลาดต่างๆหน้าจะมาจากกรม หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่กำหนดนโยบายแบบนี้ ตนและชาวบ้านขอขอบคุณ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้กำหนดโครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ เป็นการ สร้างงาน กระจายรายได้ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สู่ชุมชน
นางนภัสสร แผ่นจันทร์ เกษตรตำบลตรึม กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกร จะทำงานในรูป คณะกรรมการ เพื่อบริหารจัดการ ซื้อ หา และจ้างแรงงานภายในชุมชน หมู่บ้าน ตนมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการเขียน โครงการ เอกสารบางอย่าง พูดง่ายๆคือ ช่วยตรวจสอบเอกสารว่า ถูกต้องหรือไมอย่างไร ส่วนการซื้อปุ๋ย เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการในการพิจารณา ตนไม่มีอำนาจจะไปบังคับได้ ตำบลตรึม มี 2 ชุมชน ตรึม 1 และตรึม 2 ส่วนการซื้อปุ๋ย ไม่ได้ระบุ ว่าชื่อแบบไหน แต่ต้องผ่านการประชาคม ของคนในหมู่บ้าน ที่ทราบมา ปรากฏว่า ชาวบ้านนำมูลสัตว์ไว้ใช้เอง ไม่ประสงค์นำมาขาย  ก็ยอมรับว่า โครงการ 9101 ตามร้อยเท้าพ่อ เป็นโครงการที่เร่งรัด ในเงื่อนเวลา ชาวบ้าน คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องตั้งตัวไม่ทัน
ภาพ/ข่าว ธนินท์ทัศน์ ภูแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.สุรินทร์


EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก