หลายคนคงทราบกันดีแล้วว่า "ดอกพุทธรักษา" ถือเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำวันพ่อ หลายคนคงคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ มาถึงวันพ่อ ก็ต้องหา ดอกพุทธรักษากัน แต่จนมาเดี่ยวนี้ เคยสงสัยกันหรือไม่ครับ ว่าเจ้าดอกพุทธรักษาเนี่ย มันหายไปไหนในช่วงปีที่ผ่านมาและทำไม จึงต้องหายไป?
ดอกพุทธรักษามีประวัติความเป็นมาอย่างไร และทำไมเค้าถึงใช้ดอกพุทธรักษาเป็นดอกไม้ประจำวันพ่อ
"พุทธรักษา" มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Canna indica เป็นไม้ในเขตร้อน ตามบันทึกถูกพบครั้งแรกในหมู่เกาะเวสอินดี้และแถบอเมริกาใต้ พบได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอนในเขตต่าง ๆ ซึ่งถูกนำมาพัฒนาเป็นไม้ประดับและขยายพันธุ์ให้ดีขึ้นโดยชาวยุโรปค่ะ
หากเราย้อนหลัง ไปในอดีตสักร้อยปี จะพบว่าพุทธรักษาเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและถูกนำมาปลูกอย่าง แพร่หลายในสวนทั้งขนาดเล็กและใหญ่ หลังจากนั้นไม่นานความนิยมก็ลดลงแต่ก็ฟื้นกลับมาอีกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พุทธรักษาเป็นไม้ดอกระดับนานาชาติ โดยหลาย ๆ ประเทศยอมรับให้เป็นไม้หลักในการตบแต่งสถานที่ที่สำคัญ ๆ ด้วยลักษณะช่อดอกที่หลากสีสัน สร้างความเร้าใจให้กับนักจัดสวนยุคใหม่ที่เน้นไม้ที่ปลูกง่ายและสวยงามอยู่เสมอ
พุทธรักษา มีชื่อเรียกอื่นเช่นกัน อย่าง พุทธศร หรือ บัวละวงศ์ ชื่อไทยของพุทธรักษานั้นไม่มีการบันทึกว่าตั้งโดยผู้ใด แต่เป็นชื่อที่ไพเราะมีความหมายเหมาะกับวัฒนธรรมของบ้านเราที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติครับ
ชื่อสากลที่เรียกว่า แคนนาส์ (Cannas) มาจากศัพท์ของภาษากรีกที่เขียนเป็นอังกฤษว่า Kanna ที่หมายถึง ต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นอ้อ มีการเรียกไม้นี้ในต่างประเทศอย่างหลากหลาย อาทิเช่น แคนนา ลิลี่ (Canna lily) อินเดียนช็อตแพล้น (Indian short plant) เป็นต้น
และรู้หรือไม่ครับว่า ดอกพุทธรักษาสามารถนำมาเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ อย่างในประเทศปาปัวนิวกินี มีการรับประทานหัวต้นพุทธรักษาเป็นอาหารหลักเหมือนหัวเผือกหัวมัน ประเทศไทยเราสมัยโบราณก็มีนำหัวพุทธรักษามาต้มรับประทานบำรุงปอด แก้อาเจียนหรือไอเป็นเลือด บางครั้งนำดอกมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลที่มีหนอง เมล็ดบดพอกแก้ปวดศรีษะ ส่วนพันธุ์พุทธรักษาปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันในสรรพคุณ จึงขอแนะนำว่าอย่าพึ่งไปลองรับประทาน ควรใช้ทดลองตามสรรพคุณแต่ภายนอกร่างกายจะดีกว่าครับ
พุทธรักษาเป็นไม้ที่หาเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในที่น้ำท่วมหรือที่แห้งแล้งก็ได้ เพียงแต่ถ้าที่แห้งลักษณะต้นจะเล็กและดูเหมือนต้นไม่สมบูรณ์ สวยงามเท่าต้นที่อยู่ในพื้นที่แฉะชื้น จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นว่าพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยรอบที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ทางกรุงเทพมหานครจะนำเอาต้นพุทธรักษามาลงปลูกเป็นแถวเป็นแนว บังกอหญ้ารก ๆ ให้พ้นจากสายตาคนที่สัญจรไปมา เนื่องจากพุทธรักษาเป็นไม้ที่เมื่อลงปลูกแล้ว ไม่ต้องไปสนใจก็สามารถงอกงามให้ดอกสีสวยจับตาผู้คนที่ผ่านไปได้ดี โดยถ้าลงมือปลูกช่วงหน้าฝนด้วยแล้ว ไม่ต้องไปรดน้ำให้แตกหน่อแตกขยายพุ่ม เพราะความที่สามารถหาน้ำและอาหารกินได้เองที่ริมถนน ทุ่งวัชพืชจึงค่อย ๆ แปรสภาพกลายเป็นทุ่งพุทธรักษาครับ
พุทธรักษาเป็นไม้ที่หาเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในที่น้ำท่วมหรือที่แห้งแล้งก็ได้ เพียงแต่ถ้าที่แห้งลักษณะต้นจะเล็กและดูเหมือนต้นไม่สมบูรณ์ สวยงามเท่าต้นที่อยู่ในพื้นที่แฉะชื้น จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นว่าพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยรอบที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ทางกรุงเทพมหานครจะนำเอาต้นพุทธรักษามาลงปลูกเป็นแถวเป็นแนว บังกอหญ้ารก ๆ ให้พ้นจากสายตาคนที่สัญจรไปมา เนื่องจากพุทธรักษาเป็นไม้ที่เมื่อลงปลูกแล้ว ไม่ต้องไปสนใจก็สามารถงอกงามให้ดอกสีสวยจับตาผู้คนที่ผ่านไปได้ดี โดยถ้าลงมือปลูกช่วงหน้าฝนด้วยแล้ว ไม่ต้องไปรดน้ำให้แตกหน่อแตกขยายพุ่ม เพราะความที่สามารถหาน้ำและอาหารกินได้เองที่ริมถนน ทุ่งวัชพืชจึงค่อย ๆ แปรสภาพกลายเป็นทุ่งพุทธรักษาครับ
ดังนั้นถ้าใคร มีที่ปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ และไม่มีเวลาดูแล การปลูกพุทธรักษาให้เต็มพื้นที่ หรือปลูกหน้าที่ให้บังที่ด้านในเพื่อความสวยงาม ก็เป็นทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่งเช่นกันนะครับ
นอกจากนี้แล้ว คนไทยยังไมีความเชื่อเกี่ยวกับดอกพุทธรักษา โดยคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่เชื่อกันว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว คนไทยยังไมีความเชื่อเกี่ยวกับดอกพุทธรักษา โดยคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่เชื่อกันว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง
ซึ่งตั้งแต่มีการกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติขึ้นมาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 ก็ได้มีการกำหนดให้ดอกพุทธรักษาสีเหลือง มาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อ คงเพราะด้วยชื่ออันเป็นมงคลของคำว่า"พุทธรักษา" อันหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และ สีเหลือง อันเป็นสีประจำวันพระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อจึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ดอกพุทธรักษา จึงถือเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ที่สำคัญประจำวันพ่อนั่นเองครับ
ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ประจำวันพ่อ ว่าแต่ ความหมายของดอกพุทธรักษาคืออะไร การดูแลและเพาะปลูกดอกพุทธรักษาต้องทำอย่างไร เรามีบทความมาฝาก
หมู่มวลดอกไม้จำนวนมากมายที่มีอยู่ในประเทศไทย มีดอกไม้สีเหลืองที่ชูช่อเด่นเป็นสง่าอย่าง "ดอกพุทธรักษา" ถูกเลือกให้เป็นตัวแทนดอกไม้นานาชนิดเพื่อเป็น "สัญลักษณ์แห่งวันพ่อ" ดังนั้นก่อนที่จะนำดอกพุทธรักษาไปกราบพ่อในช่วงเทศกาลวันพ่อ เราลองมารู้จักกับดอกพุทธรักษาให้มากขึ้นกันก่อนดีกว่า ..
ประวัติดอกพุทธรักษา
ดอกพุทธรักษา เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี โดยถูกพบครั้งแรกบนหมู่เกาะเวสต์อินดี้ แถบอเมริกาใต้ ก่อนที่จะถูกพัฒนาและขยายพันธุ์มาเรื่อย ๆ ทั้งในยุโรปและเอเชีย โดยดอกพุทธรักษาสามารถปรับตัวให้ทนต่อสภาพอากาศต่าง ๆ ได้ สำหรับในประเทศไทยนั้นแม้จะไม่มีบันทึกไว้ว่าใครเป็นผู้ตั้งชื่อดอกไม้สีเหลืองชนิดนี้ แต่ต้นพุทธรักษาก็เป็นพรรณไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่ปลูกง่าย และมีความสวยงามอยู่เสมอ
โดย ต้นพุทธรักษา มีชื่อเรียกอื่นว่า พุทธศร หรือ บัวละวงศ์ เป็นพืชในวงศ์ CANNACEAEชื่อสามัญ Canna, Indian shoot และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Canna generalis เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 12 เมตร โดยมีเหง้าอยู่ใต้ดิน และเจริญเติบโดด้วยการแตกหน่อ มีใบสีเขียวลักษณะเรียวแหลม ออกดอกได้หลายสี ทั้งสีเหลือง สีแดง สีแสด สีชมพู สีขาว ซึ่งจะออกดอกเป็นช่อ ๆ ช่อละ 8-10 ดอก ความยาวดอกประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีกลีบดอก 3 กลีบ หากบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร และออกดอกตลอดทั้งปี
ความหมายของดอกพุทธรักษา
เนื่องจาก ดอกพุทธรักษา มีสีเหลืองงามซึ่งตรงกับสีของวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันจันทร์) รวมทั้งเป็นไม้มงคลที่คนไทยเชื่อกันว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าที่คอยคุ้มครองปกปักษ์รักษา ให้มีความสงบสุข ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ และรอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงได้ ดังนั้นดอกพุทธรักษาจึงเป็น ดอกไม้วันพ่อ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นอย่างดี ที่จะใช้เป็นตัวแทนในการมอบความเคารพบูชาให้กับพ่อ และอวยพรให้พ่อได้มีการคุ้มครองปกป้อง อย่างสงบสุขร่มเย็นโดยไม่มีอันตรายใด ๆ นั่นเอง
การปลูกต้นพุทธรักษา
1. ปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โดยนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้าน วิธีการปลูกให้ขุดหลุม 30x30x30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กับ ดินร่วน อัตราส่วน 1:1 หากปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ให้ใช้แปลงปลูกขนาด 2x10 เมตร
2. การปลูกในกระถางควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน และแกลบผุ อัตราส่วน 1:1:1 และควรเปลี่ยนกระถางเดือนละ 1 ครั้ง
การดูแลรักษา
ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัด
ชอบน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 ครั้งต่อวัน
เติบโตได้ดีในดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย
ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักครั้งละ 500 กรัม 1 กิโลกรัมต่อกอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง
ได้รู้จักกับประวัติและความหมายของดอกพุทธรักษากันไปแล้ว คงช่วยทำให้การกราบพ่อในวันพ่อแห่งชาติของคุณมีความหมายมากขึ้น หรือถ้าจะให้ดีลองปลูกต้นพุทธรักษาติดบ้านเอาไว้ให้เป็นไม้มงคลประจำบ้านซะเลยก็คงดีเหมือนกันนะ
EmoticonEmoticon