แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทำไมต้องปิดข่าว แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทำไมต้องปิดข่าว แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สัญญาณวิกฤติเศรษฐกิจของจริง มาแล้ว......

สัญญาณเผาจริงมาแล้ว.....  


สถิติการไฟฟ้าของประเทศลดลงกว่า 3 % (ทั้งการใช้สูงสุดและการใช้ในระบบรวม)ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดอีกครั้งในประวัติศาสตร์ประเทศไทย เป็นตัวเลขที่แสดงอาการให้เห็นถึงการตกต่ำขีดสุดอีกครั้ของ สภาวะเศรษฐกิจ  ซึ่งเป็นลักษณะอาการเดียวกันกับเหมือนช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่เศรษฐกิจตกต่ำถึงขีดสุด และตัวเลขสถิติการใช้ไฟฟ้าของประเทศในช่วงนั้นก็ลดต่ำลงสองปีซ้อน(ปี 41-42) และส่งผลให้ความยากลำบากของสภาวะทางเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าวก็ต้องใช้เวลาอีกยาวนานหลายปีกว่าจะฟื้นฟูได้.........


"....ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือพีกปีนี้ ลดต่ำลงกว่าปีที่แล้ว และส่งผลให้การใช้ก๊าซธรรมชาติลดลงตามการใช้ไฟฟ้าในระบบของ 3 การไฟฟ้าลดลงในช่วง 6 เดือนแรก หรือลดลงประมาณ 6 พันล้านหน่วย..."  ชี้แจงโดย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน   (ข่าวใน กรุงเทพธุรกิจ 11 สิงหาคม 60) 



ที่มา : EGAT


ฟังความเห็นจาก กูรูด้านการพลังงาน มีประสบการณ์ตรงในการให้คำปรึกษาหลายประเทศในเรื่องการพลังงาน......

สัญญาณ ที่ทุกท่าน ควรต้องทราบ
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่หลังสงครามโลก
ไทยพัฒนา ด้านพลังงานไฟฟ้า มาอย่างยั่งยืน
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นตลอดควบคู่ความเจริญ
เราใช้ระบบ Grid line เชื่อมการใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ
ตั้งแต่เมื่อกว่า 50 ปี พลังงานไฟฟ้าที่ใช้เพิ่มชึ้นทุกปี
มากบ้าง น้อยบ้าง ตามเศรษฐกิจ ที่พัฒนา
เปรียบอัตราเพิ่มของการใช้ไฟฟ้า ก็เช่นกันกับ
การเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกัน ของ GDP
ปีนี้ คือ ปีแรก ที่อัตราการใช้ไฟฟ้า ลดลงจากปีก่อน
แค่ครึ่งปี ลดหายไป ถึง 6,000 ล้านหน่วย(kWh)
ถ้าคิดที่ หน่วยละ 4.30 บาท ของผู้ใช้ครัวเรือน
รายได้จากการขายไฟฟ้า หายไป 25,800 ล้านบาท
ในครึ่งปีที่ผ่านมา จากยอด 500,000 ล้านบาท/ปี
หรือ 250,00 ล้านบาท/ครึ่งปี ดังนั้น
25,800 x100 หาร 250,000= 10.32%
เท่ากับมากกว่า 10% ที่เป็นการลดลงของภาคครัวเรือน
การที่ภาคส่วนอื่น ยังไม่ลดลง และก็คงต้องเพิ่ม
ก็ยิ่งหมายถึง การลดการบริโภคไฟฟ้าของประชาชน
เกินเลยยิ่งกว่า แค่10% จนอาจใกล้ 15-20% ซ้ำไป
นั่นคือ ความสุข ที่ชาวบ้าน จงใจประหยัด
ด้วยความตั้งใจ เพื่อลดรายจ่ายการบริโภคไฟฟ้า
ที่ถือเป็นปัจจัยดำรงชีพขั้นพื้นฐานสำคัญยิ่งยวด
ที่เกิดจาก ทั้งขาดความมั่นใจ และ รายรับที่ลดไป
มันเป็นสัญญาณ ที่ต้องห่วงใย ว่า "อันตรายมากๆ"
ที่ผู้บริหารชาติ คงยังไม่เข้าใจ
กว่าจะรู้ตัว ว่าเกิดอะไรขึ้น มันก็สายเกินไป
อนาคตของชาติ กับ ความอยู่ดีกินดีของทุกท่าน
มันจะประทาน มาได้ จากที่ไหนกัน

จากข่าว :..ยอดใช้ไฟฟ้าครึ่งปีแรกลดลง 6 พันล้านหน่วย

"ปลัดพลังงาน" เผยยอดใช้ไฟฟ้าครึ่งปีแรกลดลง 6 พันล้านหน่วย หลังภาคครัวเรือนใช้ลดฮวบ เตรียมประชุมปรับแผนยุทธศาสตร์ในอนาคต ก.ย.นี้
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน จะประชุมระดมความคิดเห็นเดือนกันยายนนี้ เพื่อปรับแผนยุทธศาสตร์ในอนาคตรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลต่ออนาคต เช่น นวัตกรรมสำรองพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้น รวมทั้งราคาพลังงาน โดยจะมีการพิจารณาถึงปัจจัยที่ปรับ 5 แผนหลักของกระทรวงทั้งแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี ) แผนน้ำมัน แผนก๊าซฯ แผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนพลังงานทดแทน โดยในส่วนของแผนพีดีพี ได้สั่งการให้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เร่งสรุปแนวโน้มเบื้องต้นให้เสร็จในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้

"เบื้องต้น สนพ.ได้เสนอการปรับแผนพีดีพี โดยดูตัวเลขแล้วให้ไปทบทวนใหม่ เพราะตัวเลขเรื่องประเมินนวัตกรรมใหม่ เช่น สำรองไฟฟ้า อยู่ในตัวเลขที่สูงมาก ทั้งที่ขณะนี้โลกอยู่ในระหว่างพัฒนา ต้นทุนสูงและยังไม่ชัดเจนว่าจะสำรองพลังงานได้ยาวนานเพียงใด โดยขอให้ สนพ.พิจารณาหลากหลายประเด็นมากขึ้น"

ทั้งนี้ ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือพีกปีนี้ ลดต่ำลงกว่าปีที่แล้ว และส่งผลให้การใช้ก๊าซธรรมชาติลดลงตามการใช้ไฟฟ้าในระบบของ 3 การไฟฟ้าลดลงในช่วง 6 เดือนแรก หรือลดลงประมาณ 6 พันล้านหน่วย จากการประเมิน คาดว่ายังไม่เกิดผลกระทบจากการที่ภาคเอกชนมีการผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือไอพีเอสมากขึ้น เพราะมีปริมาณไม่มากนักเบื้องต้น 200 เมกะวัตต์ ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมยังเติบโตร้อยละ1-2 ซึ่งน่าจะเกิดจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาคครัวเรือนมีการใช้ไฟฟ้าลดลงมาก ในส่วนนี้ อาจจะเกิดจากอากาศปีนี้ร้อนน้อยกว่าปีที่แล้ว และมีฝนตกน้ำท่วม หรืออาจจะมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยข้อมูลทั้งหมดจะต้องมีการวิเคราะห์ และใช้สำหรับการปรับแผนกันต่อไป

สำหรับการใช้ไฟฟ้าทั้งปี ในปี 2560 ทางกระทรวงพลังงานยังคาดว่าจะอยู่ที่ 186,484 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวมของประเทศ (Energy Intensity) คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการใช้พลังงานของประเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ออกหนังสือด่วนเตือน 7 จังหวัดเฝ้าระวัง! เหตุเร่งปล่อยน้ำลงเจ้าพระยา


หนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 3 จากสำนักงานชลประทานที่ 12 ถูกส่งไปยังผู้ว่าราชการ 7 จังหวัด ในเขตลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และ ลพบุรี เพื่อแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่พักอาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำที่อาจเพิ่มขึ้นมาอีกระลอก หลังกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ช่วงวันที่ 6-9 มิถุนายน ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้นทั่วทุกภาค ประกอบกับหากมีฝนตกท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ระดับน้ำในพื้นที่ริมแม่น้ำจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 12 ได้คอยควบคุมปริมาณการไหลของน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม


วันที่ 8 มิ.ย. 60 นายสุชาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 จ.ชัยนาท เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจุดวัดน้ำหน้าค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ที่ไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา พบว่า เริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยวัดได้ 1,031 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ขณะที่ระดับน้ำที่จุดวัดน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระดับน้ำลดลง 8 เซนติเมตร วัดได้ล่าสุด 16.70 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ปภ.เตือน 6 จว.ริมแม่น้ำชี-มูนตอนล่าง เตรียมรับมือมวลน้ำ ด้าน ร้อยเอ็ด และอุบลฯ ยังอ่วม จมหลายร้อยหมู่บ้าน

กรมปัองกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือน 6 จังหวัด ริมแม่น้ำชี-มูนตอนล่าง เตรียมรับมือมวลน้ำที่หลากมา  ส่วนจว.อุบลฯ ยังอ่วม ทหารเร่งช่วยอพยพชาวบ้านหนีน้ำ  และจังหวัดร้อยเอ็ด ก็จมน้ำหลายร้อยหมู่บ้าน 

แยกเป็น 
ลุ่มน้ำชีตอนล่าง 3 จังหวัด ประกอบด้วย 
1.กาฬสินธุ์ ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ ร่องคำ กมลาไสย และฆ้องชัย 
2.ร้อยเอ็ด ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ จังหาร และทุ่งเขาหลวง 
3.ยโสธร ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง มหาชนะชัย ค้อวัง และคำเขื่อนแก้ว 

ลุ่มน้ำมูนตอนล่าง 4 จังหวัด ประกอบด้วย 
1.ร้อยเอ็ด ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ บ้านกู่ และสุวรรณภูมิ 
2.สุรินทร์ ในพื้นที่ อ.ท่าตูม 
3.บุรีรัมย์ ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ คูเมือง กัณทรารมย์ และสตึก 
4.อุบลราชธานี ในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง เขื่องใน สว่างวีระวงศ์ ตาลสุม ม่วง สามสิบ ดอนมดแดง ตระการพืช ผล และพิบูลมังสาหาร

บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ท้ายน้ำที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอาจได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน ทำให้ระดับน้ำท่วมมีแนวโน้มทรงตัวและเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงพื้นที่ประสบอุทกภัยขยายวงกว้างมากขึ้น จึงประสานศูนย์ปภ.เขต และสำนักงานปภ.จังหวัด ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 6 จังหวัดลุ่มน้ำชีตอนล่างและลุ่มน้ำมูนตอนล่าง จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมปฏิบัติการและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงประสานการติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ลำน้ำสายหลัก พร้อมเชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัด
วันเดียวกัน นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านจุดหนักที่สุดแล้ว จากนี้ไปสถานการณ์จะคลี่ลายลงไปเรื่อยๆ สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชีตอนบนและตอนกลาง ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่มี น้ำเอ่อล้นตลิ่ง ส่วนแม่น้ำชีตอนล่างตั้งแต่ จ.ร้อยเอ็ด ลงมาจนถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ำมูน ยังคงมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำในเขต อ.จังหาร และอ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด อ.เมือง และอ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
สำหรับลำน้ำปาว และลำน้ำยัง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำชี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง ส่วนลุ่มน้ำมูนยังคงมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งบางจุดในลุ่มน้ำมูลตอนล่าง เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากลุ่มน้ำชีและลำเซบาย ก่อนจะไหลลงมาถึงสถานีวัดน้ำ บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลผ่านในเกณฑ์ 2,768 ลบ.ม.ต่อวินาที สูงกว่าตลิ่ง 0.78 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดอยู่ในเกณฑ์ 3,000-3,200 ลบ.ม.ต่อวินาที และจะสูงกว่าตลิ่งประมาณ 1 ม. ในวันที่ 10 ส.ค.นี้ แต่จะไม่ส่งผลกระทบในพื้นที่เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี กรมชลฯได้ให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ติดตามเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำมูนอย่างใกล้ชิด

ที่มา : ข่าวสด

>>>>>>>>> แจกฟรี : Free VPN <<<<<<<<<

มวลน้ำเหนือมาแล้ว พื้นที่ตอนล่าง(เมืองกรุง)เตรียมระวังภัยให้ดี


สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จ.พิษณุโลก

ด้านสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ที่ จ.พิษณุโลก เกิดฝนตกหนักตลอดคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน บริเวณ ม.3 และม.5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง เบื้องต้นเทศบาลตำบลพลายชุมพล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 2 ตัว เร่งระบายน้ำออกลงสู่คลองชลประทาน แต่ปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่เป็นจำนวนมากจึงร้องขอเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ จากปภ.เขต 9 มาช่วยเสริม หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติมคาดว่าคืนนี้ระดับน้ำจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ


วันเดียวกัน นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำบำรุงรักษายม-น่าน ประกาศ แจ้งเตือนภาวะน้ำเอ่อล้นตลิ่งให้นายอำเภอ คณะทำงานบางระกำโมเดล 60 เฝ้าระวังสภาวะน้ำเอ่อล้นตลิ่งที่พื้นที่ต่ำลุ่มน้ำยมใน อ.พรหมพิราม, อ.บางระกำ และอ.เมือง จ.พิษณุโลก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เนื่องจากมีปริมาณฝนตกชุกในพื้นที่จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค.เป็นต้นมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่าที่อยู่ในลำน้ำสาขา ลำน้ำสายหลัก มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทุกประตูระบายน้ำที่เป็นจุดเฝ้าระวัง
โดยเฉพาะด้านท้ายน้ำ ที่ประตูระบายน้ำคลองบางแก้ว ต.บางระกำ ระดับอยู่ในเกณฑ์สีส้ม ต้องแจ้งเตือนภาวะน้ำเอ่อล้นตลิ่ง (ต่ำกว่าจุดวิกฤต 17 ซ.ม.) บ้านเรือนที่อยู่ใกล้คลองเมม-คลองบางแก้ว ให้เตรียมขนของขึ้นที่สูง และหากเป็นพื้นที่เกษตรที่ยังไม่เก็บเกี่ยวผลผลิต ให้เร่งเก็บเกี่ยวเพราะอาจเกิดภาวะน้ำท่วมขัง และระบายลงคลองไม่ได้
สถานการณ์น้ำจ.พระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ด้านล่าง

ทั้งนี้หลังจากฝนตกต่อเนื่อง ทำให้แม่น้ำยมสายเก่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดที่บริเวณประตูระบายน้ำคลองบางแก้วจากเวลา 06.00-09.00 น. ที่ผ่านมา ระดับน้ำขึ้นชั่วโมงละ 2 ซ.ม. ระดับน้ำล้นสปิลเวย์ 14 ซ.ม. ประตูระบายน้ำคลองบางแก้วต้องเปิดประตูระบายน้ำ 3 บานจากทั้งหมด 5 บาน เพื่อพร่องน้ำไปสู่แม่น้ำยมสายใหม่ให้ลงไปสู่ จ.พิจิตร ก่อนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ จ.นครสวรรค์ ขณะที่บางส่วนของแม่น้ำยมสายเก่า โดยเฉพาะที่ลุ่มต่ำ ระดับล้นตลิ่งท่วมพื้นที่เกษตรกรรมบ้างแล้วหลายจุดพื้นที่กว่า 10,000 ไร่
สถานการณ์ลุ่มน้ำต่างๆ

ที่มา : ข่าวสด
แจกฟรี : Free VPN

เร่งปล่อยน้ำจาก เขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ 11 แห่ง ทำไมไม่เตือนประชาชน!

เร่งปล่อยน้ำจาก เขื่อนเก็บน้ําขนาดใหญ่ เนื่องจากระดับน้ําสูงกว่าเกณฑ์ 11 แห่ง  ทำไมไม่เตือนประชาชน!

เขื่อน ขนาดใหญ่มีระดับน้ําสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ําสูงสุด 11 แห่งสั่งเฝ้าระวัง ตลอด 24 ชั่วโมง  ทำไมไม่เตือนประชาชน!

กรมชลประทานรายงานอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่มีระดับน้ําสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ําสูงสุด 11 แห่งสั่งเฝ้าระวัง ตลอด 24 ชั่วโมง กรมชลประทานรายงานว่าปัจจุบันอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่มีระดับน้ําสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ําสูงสุด (upper rule curve) 11 แห่ง คือ
-  เขื่อนกิ่วคอหมา 
-  เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน 
-  เขื่อนน้ําอูน 
-  เขื่อนห้วยหลวง 
-  เขื่อนน้ําพุง 
-  เขื่อนจุฬาภรณ์
-  เขื่อนอุบลรัตน์ 
-  เขื่อนลําปาว 
-  เขื่อนสิรินธร 
-  เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
-  เขื่อนทับเสลา 



ส่วนอ่างเก็บน้ําขนาดกลางที่มีปริมาณน้ําเก็บกักอยู่ระหว่าง ร้อยละ 80-100 จํานวน 153 แห่ง และอ่างเก็บน้ําที่มีปริมาณน้ําเก็บกักมากกว่าร้อยละ 100 จํานวน 77 แห่ง ซึ่งปัจจุบัน อ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่และ ขนาดกลาง มีปริมาณน้ํารวม 48,476 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 64 มากกว่าปี 2559 รวม 13,804 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ําได้อีก 26,739 ล้าน ลบ.ม. สําหรับอ่างเก็บน้ําขนาดกลางที่มีระดับมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างเก็บน้ํา หลายอ่างได้จัดทํากาลักน้ํา เพื่อช่วย เพิ่มอัตราการระบายอีกช่องทางหนึ่ง

หลักฐานการเร่งระบายน้ำในลุ่มน้ำภาคกลาง


นอกเหนือจากการระบายน้ําปกติของตัวอ่าง ให้เหลือปริมาณน้ําตํ่ากว่าร้อยละ 80 อาทิ อ่างเก็บน้ําด่านชุมพล อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด อ่างเก็บน้ําห้วยลิ้นควาย อ่างเก็บน้ําห้วยน้ําสวย และอ่างเก็บน้ําห้วยน้ําแห้ว จังหวัดเลย อ่างเก็บน้ําลาดกระทิง ตําบลลาดกระทิง อําเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ําห้วยเรือ ตําบลดงมะไฟ อําเภอเมืองจังหวัดสกลนคร เป็นต้น โดยไม่ให้กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ํา พร้อมให้เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบบริหารจัดการน้ํา ติดตาม วิเคราะห์และเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ตลอด 24 ชั่วโมง และประสานเรื่องข้อมูลและ การแจ้งเตือนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ พร้อมเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ บรรเทา และแก้ไขสถานการณ์ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ปริมาณน้ำฝนสะสมในภาคเหนือ

สถานการณ์น้ำ จ.พระนครศรีอยุธยา



อยากทราบข้อมูลเพเพิ่มเติม ติดต่อ : ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ํา กรมทรัพยากรน้ํา โทร.02-2716000 ต่อ 6445 E-mail: mekhala@dwr.mail.go.th

ที่มา :  ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ํา กรมทรัพยากรน้ํา


>>>>>>>>>> แจกฟรี : FREE VPN <<<<<<<<<

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ชาวเน็ตโวยย้ำ ทำไมไม่มีการเตือนภัยใดๆจากทางราชการ กรณีน้ำท่วมในจังหวัดสกลนคร!

ชาวเน็ตแนะนำให้ผู้เสียหายรวมตัวกันฟ้องทางราชการ



ชาวเน็ตโวยย้ำ ทำไมไม่มีการเตือนภัยใดๆจากทางราชการ ในจังหวัดสกลนคร!  ทั้งที่มีเวลาร่วม 5-6 ชั่วโมงที่มวลน้ำก้อนใหญ่จะเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมือง สกลนคร....


เลยเกิดความสงสัยว่า อ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้นแตกตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า  จนถึงเวลาประมาณบ่ายโมง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปอยู่ที่ไหน ไปทำอะไรกันอยู่   รวมถึง หอเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ทำอะไรอยู่

วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การบริหารจัดการและวางแผนป้องกันน้ำท่วม เขาต้องทำกันอย่างไร?

การบริหารจัดการและวางแผนป้องกัน บรรเทาสาธารณภัยจากน้ำท่วม เขาทำกันอย่างไร?(มีคลิป)



- หากจะวางแผน การบริหารจัดการ ป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วม ต้องทำอย่างไร?  

- จากกรณีจ.สกลนคร ที่ไม่มีการเตือนภัย  ไม่มีการอพยพล่วงหน้า ไม่มีการบริหารจัดการทรัพยากร(เรือ รถ และอุปกรณ์ต่างๆ) ทำให้ สังคมได้เรียนรู้อะไรบ้าง  


- ลองไปฟัง แนวทางบริหารจัดการและวางแผน ป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมแบบเป็นมืออาชีพ ว่า ควรจะทำอย่างไร........

(ฟังทั้งคลิป และศึกษาเอกสารวิจัย)



กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม



1. การป้องกัน (Prevent) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  • การสำรวจ วิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ประวัติคาบความซ้ำของการเกิดภัยพิบัติ
  • ใช้ประโยชน์จากบทเรียนที่ได้รับจากช่วงวิกฤติการณ์น้ำท่วมจริง
  • ปรับแบบจำลองและข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
  • จัดระบบการรับผลย้อนกลับ (Feed Back) ที่เหมาะสม เพื่อทำให้แผนงานการป้องกันมีการปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น



2. การเตรียมการ (Preparation) ซึ่งสามารถให้รายละเอียดของสถานที่ เวลา และขนาดหรือ ปริมาณของความรุนแรงของภัยพิบัติน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น


  • การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบ GIS และ ข้อมูลสำรวจระยะไกล (RS) มาจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ (spatial modeling) เพื่อคำนวณหาสภาพน้ำฝน ร่วมกับ Meteorological model, น้ำท่า (ในแม่น้ำ) น้ำในที่ราบลุ่มแม่น้ำ (น้ำทุ่ง) ร่วมกับ Hydrological & Hydraulic models ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นพลวัต (Dynamics)


  • การทดลองสร้างสมมุติฐานจากแบบจำลองน้ำท่วม (Scenarios)
  • จัดทำ Flood hazard และ flood risk maps & models เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ของการคาดการณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและการเตือนภัย


  • การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามเพื่อปรับแก้แบบจำลองให้ถูกต้องมากขึ้น
  • การเตรียมการด้านการอพยพโยกย้าย คน สัตว์และสิ่งของ
  • การเตรียมความพร้อมในการป้องกันทางกายภาพ เช่น การสร้างแนวกั้นน้ำท่วม


3. การปฏิบัติการในช่วงวิกฤติ (Crisis) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการเมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วมแล้วในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยวัตถุประสงค์เพื่อ


  • การประเมินความเสียหายอย่างเร่งด่วน เพี่อกำหนดแนวทางในการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ
  • การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อการเตือนภัยในช่วงวิกฤติ และการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป
  • การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามที่เป็นปัจจุบัน เพื่อปรับแก้แบบจำลองให้มีความถูกต้องมากขึ้น โดยการวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อประเมินหาพื้นที่ภัยพิบัติและพื้นที่เสี่ยง ภัยจากน้ำท่วมในแต่ละวัน และส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับขั้นตอนการเตรียมการ เพื่อจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการคาดการณ์ขยายผลการเตรียมการต่อไป ทั้งในพื้นที่วิกฤติและในพื้นที่ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าของลุ่มน้ำหรืออยู่ ท้ายเขื่อนที่จะเกิดความเสียหายในลำดับต่อไป

  • การปฏิบัติการณ์ทันทีตามสภาพของความรุนแรงและความเสียหายในแต่ละ พื้นที่โดยการจัดหน่วยช่วยเหลือเฉพาะกิจ/ฉุกเฉินเข้าพื้นที่ที่วิกฤติ ทำการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบวิกฤติน้ำท่วม
  • การลดความรุนแรงของวิกฤต (เช่น การจัดการกับพื้นที่ขวางทางน้ำ การเร่งระบายน้ำ การซ่อมบำรุงเฉพาะกิจสำหรับแนวกั้นน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือและลดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย เป็นต้น)



4. การประเมินความเสียหาย (Assess) หลังเกิดวิกฤติ (Post-Crisis) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการหลังจากเกิดสภาวะน้ำท่วมแล้ว ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • การจัดทำบัญชีรายการความเสียหาย เพื่อวางแผนและการจัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟู
  • การนำสารสนเทศมาประมวลผลการจัดการสำหรับเครื่องกลหนักทั้งหลาย
  • การประเมินข้อจำกัดและความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ในการป้องกันในระยะยาวหรือการเกิดขึ้นอีกใน อนาคต สำหรับระบบและแบบจำลองของการจัดการน้ำท่วมที่ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง





จากการนำเสนอข้อมูลชุดน้ำท่วมสกลนคร ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสนอทางออกและแนวทางป้องกันปัญหา จะทำให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาในส่วนงานต่างๆต่อไป.....

หมายเหตุ : ขอขอบคุณ ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย และ ช่อง 16 ไว้ ณ ที่นี้

ที่มา :  Geo-InformaticS Center for Thailand (GISTHAI)

อ้างอิง :  http://www.gisthai.org/v2/index.php/2015-02-04-07-55-43/2015-02-04-08-47-03/31-2015-02-25-16-10-06/53-2015-02-25-16-06-28




ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

ป้ายกำกับ

กลับไปหน้าแรก