วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การบริหารจัดการและวางแผนป้องกันน้ำท่วม เขาต้องทำกันอย่างไร?

การบริหารจัดการและวางแผนป้องกัน บรรเทาสาธารณภัยจากน้ำท่วม เขาทำกันอย่างไร?(มีคลิป)



- หากจะวางแผน การบริหารจัดการ ป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วม ต้องทำอย่างไร?  

- จากกรณีจ.สกลนคร ที่ไม่มีการเตือนภัย  ไม่มีการอพยพล่วงหน้า ไม่มีการบริหารจัดการทรัพยากร(เรือ รถ และอุปกรณ์ต่างๆ) ทำให้ สังคมได้เรียนรู้อะไรบ้าง  


- ลองไปฟัง แนวทางบริหารจัดการและวางแผน ป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วมแบบเป็นมืออาชีพ ว่า ควรจะทำอย่างไร........

(ฟังทั้งคลิป และศึกษาเอกสารวิจัย)



กระบวนการและขั้นตอนในการจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม



1. การป้องกัน (Prevent) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  • การสำรวจ วิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ประวัติคาบความซ้ำของการเกิดภัยพิบัติ
  • ใช้ประโยชน์จากบทเรียนที่ได้รับจากช่วงวิกฤติการณ์น้ำท่วมจริง
  • ปรับแบบจำลองและข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
  • จัดระบบการรับผลย้อนกลับ (Feed Back) ที่เหมาะสม เพื่อทำให้แผนงานการป้องกันมีการปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น



2. การเตรียมการ (Preparation) ซึ่งสามารถให้รายละเอียดของสถานที่ เวลา และขนาดหรือ ปริมาณของความรุนแรงของภัยพิบัติน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น


  • การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบ GIS และ ข้อมูลสำรวจระยะไกล (RS) มาจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ (spatial modeling) เพื่อคำนวณหาสภาพน้ำฝน ร่วมกับ Meteorological model, น้ำท่า (ในแม่น้ำ) น้ำในที่ราบลุ่มแม่น้ำ (น้ำทุ่ง) ร่วมกับ Hydrological & Hydraulic models ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นพลวัต (Dynamics)


  • การทดลองสร้างสมมุติฐานจากแบบจำลองน้ำท่วม (Scenarios)
  • จัดทำ Flood hazard และ flood risk maps & models เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ของการคาดการณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและการเตือนภัย


  • การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามเพื่อปรับแก้แบบจำลองให้ถูกต้องมากขึ้น
  • การเตรียมการด้านการอพยพโยกย้าย คน สัตว์และสิ่งของ
  • การเตรียมความพร้อมในการป้องกันทางกายภาพ เช่น การสร้างแนวกั้นน้ำท่วม


3. การปฏิบัติการในช่วงวิกฤติ (Crisis) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการเมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วมแล้วในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยวัตถุประสงค์เพื่อ


  • การประเมินความเสียหายอย่างเร่งด่วน เพี่อกำหนดแนวทางในการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ
  • การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อการเตือนภัยในช่วงวิกฤติ และการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป
  • การสำรวจเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในภาคสนามที่เป็นปัจจุบัน เพื่อปรับแก้แบบจำลองให้มีความถูกต้องมากขึ้น โดยการวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อประเมินหาพื้นที่ภัยพิบัติและพื้นที่เสี่ยง ภัยจากน้ำท่วมในแต่ละวัน และส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับขั้นตอนการเตรียมการ เพื่อจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการคาดการณ์ขยายผลการเตรียมการต่อไป ทั้งในพื้นที่วิกฤติและในพื้นที่ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าของลุ่มน้ำหรืออยู่ ท้ายเขื่อนที่จะเกิดความเสียหายในลำดับต่อไป

  • การปฏิบัติการณ์ทันทีตามสภาพของความรุนแรงและความเสียหายในแต่ละ พื้นที่โดยการจัดหน่วยช่วยเหลือเฉพาะกิจ/ฉุกเฉินเข้าพื้นที่ที่วิกฤติ ทำการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบวิกฤติน้ำท่วม
  • การลดความรุนแรงของวิกฤต (เช่น การจัดการกับพื้นที่ขวางทางน้ำ การเร่งระบายน้ำ การซ่อมบำรุงเฉพาะกิจสำหรับแนวกั้นน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย เพื่อช่วยเหลือและลดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย เป็นต้น)



4. การประเมินความเสียหาย (Assess) หลังเกิดวิกฤติ (Post-Crisis) เป็นขั้นตอนการปฏิบัติการหลังจากเกิดสภาวะน้ำท่วมแล้ว ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • การจัดทำบัญชีรายการความเสียหาย เพื่อวางแผนและการจัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟู
  • การนำสารสนเทศมาประมวลผลการจัดการสำหรับเครื่องกลหนักทั้งหลาย
  • การประเมินข้อจำกัดและความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ในการป้องกันในระยะยาวหรือการเกิดขึ้นอีกใน อนาคต สำหรับระบบและแบบจำลองของการจัดการน้ำท่วมที่ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง





จากการนำเสนอข้อมูลชุดน้ำท่วมสกลนคร ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสนอทางออกและแนวทางป้องกันปัญหา จะทำให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาในส่วนงานต่างๆต่อไป.....

หมายเหตุ : ขอขอบคุณ ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย และ ช่อง 16 ไว้ ณ ที่นี้

ที่มา :  Geo-InformaticS Center for Thailand (GISTHAI)

อ้างอิง :  http://www.gisthai.org/v2/index.php/2015-02-04-07-55-43/2015-02-04-08-47-03/31-2015-02-25-16-10-06/53-2015-02-25-16-06-28





EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก