วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

น้ำท่วมสกลนครหนักและรุนแรง แต่ทำไม ระบบเตือนภัยแห่งชาติ ไม่มีการเตือนใดๆ

จนถึงเวลานี้ จ.สกลนครและ จ.ร้อยเอ็ด ยังไม่ถูกจัดอยู่ในระบบเตือนภัยใดๆเลย



แผนที่แจ้งพื้นที่ภัยพิบัติ ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2560 (ในเว็บของกรมฯ)

น้ำท่วมสกลนครหนักและรุนแรง แต่ทำไม ระบบเตือนภัยแห่งชาติ ไม่มีการเตือนใดๆ?

ด้วยความสงสัยว่า ระบบเตือนภัยแห่งชาติ ทำไมถึงไม่ส่งสัญญาณเตือนใดๆออกมาเลย ในขณะที่เกิดภัยพิบัติที่สกลนคร ทำให้ แอดมิน ได้เข้าไปดูในเว็บไซด์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็พบข้อมูลอันน่าตกใจมาก สำหรับประชาชนชาวไทยทุกคน ที่ต้องฝากชีวิต และเสี่ยงเป็น เสี่ยงตายไว้กับ โครงสร้างการบริหารและประสิทธิภาพในการเตือนภัยของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งนี้



เว็บไซด์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


ข้อสังเกตุจากระบบงานเตือนภัยแห่งชาติ แอดมิน ได้พบดังนี้

1. ในแผนที่ระบบเตือนภัย  ไม่มีการเตือนภัยของ จ.สกลนคร จ.นครพนม และ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งกำลังประสบภัยอย่างหนักในขณะนี้(ดูแผนที่รูปบน)

2. ทำไมเมื่อเกิดภัยพิบัติรุนแรงขนาดใหญ่ที่จ.สกลนคร และต่อไปอาจเป็นจังหวัดใดก็ได้  การรับมือภัยพิบัติขนาดนี้ จึงใช้การรับมือ ด้วย โครงสร้างการรับมือ ภัยพิบัติระดับ 2 เท่านั้น(ระดับท้องถิ่น)

โครงสร้างการสั่งการตามกฎหมาย เมื่อเกิดภัยพิบัติ


3. ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ได้มีโทรสารถึง ผวจ.ทุกจังหวัด(ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด) จาก กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง โดยเป็นการแจ้งเตือนให้ 36 จังหวัดทั่วประเทศ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ และ ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ/เผชิญ เหตุ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหนังสือ บกปภ.ช. ด่วนที่สุด ที่ มท 0622(บกปภ.ช.)/249 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2560*

แต่ หลังจากนั้น เมื่อมีแนวโน้ม เกิดเหตุรุนแรงขึ้นที่จังหวัด สกลนครแล้ว ยังไม่พบ หนังสือสั่งการ คำสั่ง และหรือ โทรสารใดๆ จาก ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง )


โทรสารฉบับเดียวที่แจ้งไป 36 จังหวัดทั่วประเทศ (หลังจากนั้นไม่มีอีกเลย)

4. ทำไมจึงไม่มีการประกาศ ให้ จ.นครพนม จ.สกลนคร จ.ร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติระดับ 3 หรือ พื้นที่ประสบภัยพิบัติขนาดใหญ่ ซึ่งมีผลให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจตามกฎหมาย ที่จะแก้ปัญหา และใช้งบประมาณฉุกเฉิน ได้ทันท่วงที และสามารถบูรณาการให้หน่วยงานจากส่วนราชการส่วนกลาง ต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่

ระดับการใช้อำนาตตามกฎหมาย ในกรณีเกิดภัยพิบัติ นี่อาจเป็นสาเหตุให้ เรือจอดในโกดัง


5. เมื่อไม่มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบสาธารณภัยระดับ 3 หน่วยงานต่างๆ ก็ทำได้แค่เตรียมพร้อมสนับสนุนเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามโทรสาร ที่ มท 0627 /ว 373 วันที่ 27 กรกฎาคม 2560 จาก อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ผู้อ านวยการกลาง ถึง ผู้อ านวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4  5 6 7 8 9 13 14 16 และ 17 * 

ซึ่งมีเพียงเตรียมการให้การสนับสนุนเท่านั้น มิได้ปฏิบัติตามแแผนปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ/เผชิญเหตุ และป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขนาดใหญ่   ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุให้ เรือ และรถ จึงยังจอดอยู่ในโกดัง

โทรสารให้ ศปภ.เขต เตรียมพร้อมสนับสนุน(มิใช่เตรียมพร้อมปฏิบัติตามแผน)

6. เมื่อน้ำเริ่มลดลง และ มีนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่  ก็มีภาพแบบนี้เกิดขึ้น  




ซึ่งการระดมสรรพกำลัง ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นขบวนต้อนรับ คนๆเดียว  อย่างนั้นหรือ?  แล้วคนเดือดร้อนมากก่อนหน้านี้ไม่กี่วันเล่า ?





ผุ้คนที่ประสบความเดือดร้อนแสนสาหัสก่อนหน้านี้ ไม่กี่วันเล่า  กรมฯนี้ไปทำอะไรกันอยู่



7. ในห้วงเวลาที่ อ่างเก็บน้ำแตก  ทำไมจึงไม่มีการประกาศเตือนใดๆออกมาทั้งสิ้น เพราะเหตุใด



                                  

ทั้งที่ ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2558 ได้กำหนด ผู้รับผิดชอบในการประกาศเตือนภัย และ กำหนดการอพยพไว้แล้ว แต่ทำไม ถึงไม่มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าว

มาตราแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนได้รับทราบ แต่ทำไมไม่มี

รวมทั้งการแจ้งเตือนให้มีการอพยพจากพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว ตามแผนป้องกันสาธารณภัย


 มาตราการเตรียมการรับมือและจัดทำแผยอพยพ  แต่ก็ไม่มีใครปฎิบัติตาม



ใครคือผู้บกพร่อง  ผู้ปฏิบัติ  ผู้สั่งการ หรือ ใคร รวมถึงแผนงาน และโครงสร้างในการป้องกันและบรรเทาสาธารภัยที่มีอยู่ มีประสิทธิภาพ เพียงพอหรือไม่ ?  หากเป็น ระดับความรุนแรงที่มากกว่านี้ พื้นที่กว้างขวางกว่านี้  อะไรจะเกิดขึ้น.......

ทั้งหมดนี้ สังคมต้องการคำตอบ?


เอกสารอ้างอิง : 
- http://122.155.1.143/th/cms-download_content.php?did=4331
- http://122.155.1.143/th/cms-download_content.php?did=4330



EmoticonEmoticon

ที่ดินทรัพย์สินส่วนสาธารณประโยชน์ และที่ดินกว่า 2600 ไร่ ขุมทรัพย์หลายแสนล้าน กลางกรุง!

ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สิน ฯ มีที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,060,000 ตารางวา หรือ 2,650 ไร่ โดยที่ดินผืนใหญ่ที่สุด 300 ไร่อยู...

กลับไปหน้าแรก