จากลูกร้านหอยทอดที่ทรงวาด สู่ อภิมหาเศรษฐีไทย
ประวัติและอดีตของเจริญ สิริวัฒนภักดี
เจริญ สิริวัฒนภักดี มีนามสกุลเดิมก่อนปี 2530 ว่า “ศรีสมบูรณานนท์” ซึ่ง “สิริวัฒนภักดี” ที่ใข้ทุกวันนี้ เป็นนามสกุลพระราชทานทำให้เขากลายเป็น “ต้นตระกูลพระราชทาน” ไปในทันทีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530
นายเจริญมีชื่อจีน ว่า โซวเคียกเม้ง (เคียกเม้ง แซ่โซว) เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2487 เป็นบุตรคนที่ 2 ของ นายติ่งเลี้ยง แซ่โซว และนาง นางเซียงเต็ง แซ่แต้ มีพี่น้องทั้งหมด 11 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 5 คน
ลูกร้านหอยทอดย่านทรงวาด
ครอบครัวของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี มีอาชีพขายหอยทอดอยู่ในซอยติดกับโรงเรียนเผยอิง ครอบครัวอบรมแบบคนจีนสมัยก่อน แต่ไม่บังคับว่าจะต้องไปเรียนทางไหน มีหลายแนว คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เรียนจบเพียงชั้น ป. ๔ ที่โรงเรียนเผยอิง น้องๆหลายคนเรียนที่โรงเรียนโกศลวิทยา
คุณเจริญ เป็นคนมีหัวการค้าตอนเด็กๆ เอาของมาขายในโรงเรียนเป็นประจำ เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งเป็นที่เอ็นดูของผู้ที่รู้จักโดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ อายุได้ 11 ปี เลิกเรียนหนังสือ ไปรับจ้างเข็นรถสินค้า และขายของตามฟุตบาท
ใช้เวลาเรียนถึง 8 ปีกว่าจะจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มาเป็น จับกัง
ซึ่งระหว่างเรียนนายเจริญ ต้องทำงานโดยการนำของไปขายที่โรงเรียนทุกวัน เมื่อ จบชั้นป.4 นายเจริญออกมาเป็น"กุลี" หรือ "จับกัง" รับจ้างเข็นรถเข็น ในย่านสำเพ็งและทรงวาด
จากชีวิตลูกจ้างมาเป็นเถ้าแก่
เป็นลูกจ้างที่บริษัท ย่งฮะเฮง หลังจากนั้นก็เป็นลูกจ้าง หจก.แพน อินเตอร์ ซึ่งเป็น ”ซัพพลายเออร์” ให้โรงงานสุราบางยี่ขันเอง นำมาสู่การรู้จักกับนายจุล กาญจนลักษณ์” ผู้เชี่ยวชาญการปรุงรสสุรา ต่อมาในปี 2505 ก็ลาออกจาก หจก.แพนอินเตอร์ มาเป็นผู้จัดส่งสินค้าต่างๆ ให้กับ โรงงานสุราบางยี่ขัน ต่อมาได้ไปขายของในโรงงานสุราบางยี่ขัน
และได้มีโอกาสทำงานที่นั่นเพราะ ค่าที่มีบุคคลิกอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นที่ถูกอกถูกใจของ “สหัส มหาคุณ” ซึ่งเป็นหุ้นส่วน ของโรงงานสุราบางยี่ขัน นายเจริญ สนใจในธุรกิจนี้เป็นอย่างมาก พร้อมทั้งตั้งใจแน่วแน่ไว้ว่าจะต้องเข้ามาในธุรกิจนี้ให้ได้ เขาเรียนรู้ทั้ง “กลยุทธ์” และ “เคล็ดลับ ” ในการทำธุรกิจ จากสหัส มหาคุณ จนขึ้นชื่อว่าเป็นขุนพลเคียงกาย (จะมีรายละเอียดในตอน พยัคฆ์ซ่อนเขี้ยว ต่อไป)
สู่วงการสุรา
ต่อมา สหัส มหาคุณ ขายหุ้นบริษัทโรงงานสุรามหาคุณให้กับเถลิง เหล่าจินดาและ เจริญได้เข้ามาเป็นมือขวา พร้อมทั้งหุ้นส่วน กับ เถลิง เหล่าจินดา ปี 2518 เจริญ เข้าซื้อบริษัทธารน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตสุราธารวาวิสกี้ จำกัด ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัทแสงโสม จำกัด ปี 2522
สัมปทานผลิตสุราของโรงงานสุราบางยี่ขันสิ้นสุดลง เจริญ สิริวัฒนภักดี เข้าชิงประมูลสัมปทานต่อ จึงเป็นที่มาที่ทำให้ เจริญ เป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับ กลุ่มสุรามหาราษฏร์ โดยการนำของ สุเมธ เตชะไพบูลย์ ด้วยความเจนจัดมากกว่า ทำให้ สุเมธ เตชะไพบูลย์ ชนะไปอย่างขาดลอย จากการพ่ายแพ้ เจริญไม่ได้ย่อท้อ หรือหมดกำลังใจ เจริญ จับมือร่วมกับ เถลิง เหล่าจินดา และจุล กาญจนลักษณ์ ซึ่งเป็นคนปรุงรสสุราแม่โขง เป็นพันธมิตรกัน ใช้ทุกวิถีทางในการต่อสู้ เริ่มตั้งแต่ รสชาติของสุราที่ผลิต รวมไปถึงกลยุทธ์ทางการตลาด ต่อมามีการประมูลสัมปทานโรงงานสุราจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของกรมสรรพสามิต เจริญ ชนะการประมูลอย่างขาดลอยและใช้ ที่นี่ เป็นฐานผลิตสุรา “หงษ์ทอง” การต่อสู้ของสองยักษ์ใหญ่ดำเนินไปจนกระทั่ง กระทรวงการคลังเข้ามาสงบศึกโดยการ ให้สองกลุ่ม จับมือเซ็นสัญญาเป็นหุ้นส่วนต่อกัน
เมื่อพบรักกับลูกเจ้าสัว( วรรณา แซ่จิว) พยัคฆ์ก็เสียบปีก
คุณเจริญ แต่งงานกับ คุณวรรณา แซ่จิว ผู้เป็นบุตรีของเจ้าสัว กึ้งจู แซ่จิว ผู้กว้างขวางในวงธุรกิจการเงิน อดีดรองประธานกรรมการธนาคารมหานคร และเพื่อนสนิทร่วมชั้นเรียนของเจ้าสัว ชิน โสภณพนิช ผู้เป็นประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ ที่เกื้อกูลด้านการเงินให้กับธุรกิจของคุณเจริญ และเป็นสายสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองตระกูลต่อมาเป็นลำดับ ตรงจุดนี้คือจุดที่สร้างฐานการเงินให้กับคุณเจริญ นายกึ้งจู ได้ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากนาย ชิน เพื่อเอาเงินมาทำธุรกิจค้าเหล้า จนถือว่ามีฐานะทางการเงินดีเยี่ยม
ผงาด ขยายธุรกิจ และเริ่มการเทคโอเวอร์(พ่อตารวยซะอย่าง)
ในขณะเดียวกันพ่อตาของคุณเจริญ ก็เข้ายึดบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จากตระกูลเตชะไพบูลย์ และภายหลังทาง สุเมธ เตชะไพบูลย์ ได้ขายหุ้นให้กับทาง เจริญ วัฒนภักดี ทำให้คุณเจริญ และพ่อตามีสองขาหนุนเนื่องกัน และก็เริ่มยิ่งใหญ่ขึ้นในปี 2530 ก็เข้ายึดครองกิจการ การเงิน ทั้งธนาคาร และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไว้ ขยายธุรกิจสุราดั้งเดิมใข้เครือข่ายการค้าแบบเดิมภายใต้ระบบเอเยนต์ และ ระบบขายพ่วง(สุราพ่วงเบียร์ สุราพ่วงโซดา) ที่เข้มแข็ง จากนั้นเดินหน้าสู่ธุรกิจเบียร์ บุกตลาดใหม่ๆเช่น ธนาคาร หุ้น หรือ ที่ดิน เป็นต้น จนกระทั่งเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งของเมืองไทย
- ปี 2518 บริษัทธารน้ำทิพย์ ผู้ผลิต “ธาราวิสกี้” ของ “พงส์ สารสิน” และ “ประสิทธิ์ ณรงค์เดช” ประสบภาวะขาดทุนและประกาศขาย กลุ่มเจ้าสัวเถลิงและ “เจริญ” จึงเข้าซื้อกิจการ ซึ่งก็คือบริษัทแสงโสมในปัจจุบัน
- ปี 2529 “เจริญ” ที่ได้กลายเป็น “เจ้าสัว” ไปแล้ว ได้เข้าสู่ธุรกิจธนาคาร และการเงิน ด้วยความช่วยเหลือของ “พ่อตา” เข้าไปซื้อหุ้นในธนาคารมหานคร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มหาธนกิจ ซื้อหุ้นในบริษัทอาคเนย์ประกันภัย และอีกหลายกิจการ
- ปี 2537 ซื้อกิจการกลุ่มโรงแรมอิมพีเรียล ที่มีโรงแรมในเครือจำนวนมากจากนายอากร ฮุนตระกูล และจากนั้น “เจ้าสัวเจริญ” ก็ขยายธุรกิจอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีทายาท 5 คน พร้อมสานต่อ คือ อาทินันท์ วัลลภา ฐาปน ฐาปนี และปณต
ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่เป็นเลื่องลือของ “เจ้าสัวเจริญ” คือ การซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมทุน รอคอยโอกาส ที่สำคัญ “คุณธรรมน้ำมิตร” ที่ว่า “บุญคุณต้องทดแทน” ทำให้เส้นทางของ “เจ้าสัวเจริญ” ยังมีโอกาสอีกยาวไกล ทำการเทคโอเวอร์หลายกิจการต่อเนื่อง
- ปี 2549 การเทคโอเวอร์ โออิชิ กรุ๊ป (OISHI) ของ ตัน ภาสกรนที ,
- ปี 2550 เทคหุ้นยูนิเวนเจอร์ (UV) ในปี
- ปี 2551 ตึกเนชั่น เมื่อปี
- ปี 2553 บริษัทเสริมสุข
- ปี 2559 “เจ้าสัวเจริญ” ก็ได้เทคโอเวอร์ที่ฮือฮาและถูกพูดถึงเป็นข่าวใหญ่คือดีลบิ๊กซีที่ปิดไปเมื่อ 7 กุมภาที่ผ่านมา
ส่วนผลิตภัณฑ์ภายใต้กิจการของ “เจ้าสัวเจริญ” ที่พบเห็นกันบ่อยเป็นประจำประกอบด้วย โออิชิ (ทั้งร้านอาหาร และเครื่องดื่ม), เบียร์ช้าง , สุราแสงโสม, Blend285, แรงเยอร์, est, รวมถึงแลนด์มาร์คดังริมเจ้าพระยาอย่างเอเชียทีค ล้วนแล้วเป็นของเจ้าสัวที่ชื่อว่า เจริญ สิริวัฒนภักดี สุดสุด
EmoticonEmoticon