นายเอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการด้านกฎหมาย กล่าวถึงผลคดีจำนำข้าวว่า ได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับการเมืองไทย เพราะถ้ารัฐมนตรี-ข้าราชการ มีข่าวทุจริต แล้วนายกรัฐมนตรีหรือผู้มีตำแหน่งสูงกว่าไม่เข้ามาจัดการทันที เท่ากับมีความผิดร่วมไปด้วย และด้วยมาตรฐานตรงนี้ แนะนำให้ไปยื่นเอาผิดผู้มีอำนาจ ทั้งนายกฯ ทั้งรัฐมนตรี ในยุคที่มีการจัดซื้อเครื่อง GT200 รวมไปถึงเรือเหาะ ล้อกับที่ ป.ป.ช. และ สตง.รับเรื่องไปแล้ว หากศาลตัดสินว่าทั้ง 2 เรื่องผิด ผู้มีอำนาจในยุคนั้น ก็ต้องผิดไปด้วย เหมือนที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประสบ
นายเอกชัย กล่าวต่อว่า แม้เอกสารคำวินิจฉัยฉบับเต็มยังไม่ออก แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถกล่าวได้คือ คดีจำนำข้าวเป็นคดีการเมือง เพราะเป็นนโยบายการเมือง ถูกฟ้อง และถูกขยายโดยนักการเมืองมาตลอด สำหรับกระบวนการยุติธรรมซึ่งเกี่ยวกับคดี ล้วนถูกต้องคำถาม โดยเฉพาะการแนบเอกสารเพิ่มเข้ามาจำนวนมหาศาล ที่ไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งเลย ทั้งนี้ เป็นเรื่องขัดหลักการ เพราะอันที่จริงศาลต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายนางสาวยิ่งลักษณ์อธิบายจนสิ้นสงสัย แต่นี่กลับรวบรัดตัดความตัดสินคดี ที่ตนว่าไม่เป็นธรรมกับฝ่ายนางสาวยิ่งลักษณ์
เมื่อถามว่า พอใจกับผลการตัดสินหรือไม่ นายเอกชัยระบุว่า ขอดูเอกสารคำวินิจฉัยฉบับเต็มที่น่าจะออกสู่สาธารณะชน ในสัปดาห์นี้ก่อนว่ามีเนื้อหาอย่างไรบ้าง ตนหวังว่าคำอธิบายจะชัดเจนทั้งต่อสังคมและฝ่ายจำเลย ดังแสงอาทิตย์สาดส่อง ซึ่งเป็นคำที่นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีต ป.ป.ช.เคยพูดไว้ เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว กระบวนการยุติธรรมไทย ที่รวมถึงศาลย่อมจะถูกสั่นคลอน
นายเอกชัยกล่าวถึงการณ์อุทธรณ์ว่า เมื่อกฎหมายฉบับใหม่ตั้งเงื่อนไขให้จำเลยต้องมาศาล เท่ากับฝ่ายนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่อุทธรณ์แน่นอน
ที่มา: คมข่าว
"สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน" เตรียมรื้อคดี "GT 200" ตรวจสอบใหม่อีกครั้ง พร้อมสอบตัวแทนจำหน่ายในไทย ที่อาจเข้าข่ายการฟอกเงิน
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยกรณีศาลอังกฤษพิพากษายึดทรัพย์ผู้ผลิตเครื่องตรวจจับระเบิดปลอมรุ่น GT 200 ว่า สตง.เตรียมรื้อคดีนี้ตรวจสอบใหม่อีกครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินคดีจากเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่า ดำเนินการสอบสวนอยู่ในขั้นตอนใดแล้วและประเมินความเสียหายของหน่วยงานรัฐที่ได้รับผลกระทบจากการจัดซื้อเครื่อง GT 200 ไม่ได้ประสิทธิภาพตามโฆษณาอวดอ้าง
“จะตรวจสอบข้อมูลบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน พร้อมส่งเรื่องให้ที่ประชุมศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พิจารณาด้วย” นายพิศิษฐ์ กล่าว
“จะตรวจสอบข้อมูลบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน พร้อมส่งเรื่องให้ที่ประชุมศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พิจารณาด้วย” นายพิศิษฐ์ กล่าว
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
19 มิ.ย.2559 จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลประเทศอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 7.9 ล้านปอนด์ (ราว 395 ล้านบาท) จาก เจมส์ แมคคอร์มิค ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแมคคอร์มิคและพรรคพวกซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
แฟ้มภาพประชาไท
ล่าสุดวันนี้ (19 มิ.ย.59) สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า สตง.จะรื้อเรื่องนี้ขึ้นมาตรวจสอบใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สตง. ตรวจสอบข้อมูลพบว่าหน่วยงานราชการไทยหลายแห่งได้จัดซื้อเครื่องจีที200 มาใช้ ขณะที่เครื่องมือถูกตรวจสอบพบว่ามีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ และได้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบข้อมูลบริษัทเอกชนซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับหน่วยงานราชการไปแล้ว
"ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ สตง. นำข้อมูลการตรวจสอบเรื่องจีที 200 ขึ้นมาดูอีกครั้ง และจะมีการนำเสนอเรื่องให้ที่ประชุมศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) พิจารณาด้วย" พิศิษฐ์ กล่าว
พิศิษฐ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกรณีประมูลขายซากชีนุก 420 ล้าน และกรณีการจ้างที่ปรึกษารถไฟรางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 117.6 ล้านบาท ว่า ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล และไม่มีปัญหาเรื่องการถูกล็อบบี้แต่อย่างใด
ที่มา: ประชาไท
EmoticonEmoticon