"....ต้นสาแหรก ของตั้น จิตภัสร์ กฤดากร มาจากเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นพระอัยกา (ตา) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระปัยกา (ทวด) ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร...."
ต้นสาแหรก ของตั้น จิตภัสร์ กฤดากร มาจาก สายกฤดากร และ สายสนิทวงศ์
โดยทาง สายสนิทวงศ์ มาจากมหาอำมาตย์เอก พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (นามเดิม:หม่อมราชวงศ์สท้าน หรือ หม่อมราชวงศ์กลาง) (24 มิถุนายน พ.ศ. 2409 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483)
มหาอำมาตย์เอก พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (นามเดิม:หม่อมราชวงศ์สท้าน หรือ หม่อมราชวงศ์กลาง) (24 มิถุนายน
พ.ศ. 2409
- 20 ตุลาคม
พ.ศ. 2483
)
อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
(พ.ศ. 2452 – 2455) และกระทรวงคมนาคม
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
องคมนตรี
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระอัยกา (ตา) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
และเป็นพระปัยกา (ทวด) ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
รวมทั้งเคยเป็นข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนบริเวณตอนเหนือของสยามกับหลวงพระบาง
ในแคว้นอินโดจีนของฝรั่งเศส
ระหว่าง พ.ศ. 2447
- พ.ศ. 2450
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์และท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ไปปฏิบัติราชการ ตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสายปัญญา โดยเมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์ ท่านเป็นต้นคิดในหมู่ทายาท ให้นำวังของพระบิดา มาก่อตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี โดยได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ด้วยไข้มาลาเรีย เบาหวาน และโรคหัวใจ สิริอายุ 74 ปี
บุตร-ธิดา
- ท่านผู้หญิงตาด วงศานุประพัทธ์
ท่านผู้หญิงตาด วงศานุประพัทธ์ (สาวตาด สิงหเสนี) เป็นธิดาพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (เอม สิงหเสนี) กับคุณหญิงขลิบ ณรงค์เรืองฤทธิ์ มีบุตร-ธิดา 6 คน คือ
- หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เสกสมรสกับ หม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์ และหม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์ ธิดาหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ มีธิดารวม 3 คน ดังนี้
- ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา ภริยาหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
- อรอำไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หลวงจรัญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์)
- หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) เสกสมรสกับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน ดังนี้
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คุณวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- พิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- มนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงแส สนิทวงศ์ เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์) มีโอรสธิดา ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร*
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
- ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) นามเดิม บาง ณ บางช้าง
มีบุตรธิดา 3 คน ดังนี้
- หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) มีบุตรธิดา 4 คนดังนี้
- หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
- สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร)
- หม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์
- พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เสกสมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (หงสนันทน์) มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้
- พลอากาศเอก จารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- คุณหญิงบุษยา ไกรฤกษ์
- พันตรี ภาดร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์) เสกสมรสกับนายสุรเทิน บุนนาค มีบุตรธิดา ดังนี้
- พลตรีกรีเมศร์ บุนนาค
- พันโทสุรธัช บุนนาค
- อุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงสารภี มิ่งเมือง)
- บุตร-ธิดา ที่เกิดกับภรรยาอื่นๆ ได้แก่
- หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงสงบ (จู๊ด) สนิทวงศ์ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก
หมายเหตุ * : กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์มีพระโอรส-ธิดา ทั้งสิ้น 14 พระองค์ โดยหนึ่งในพระโอรส คือ ม.จ.เสริมสวาสดิ์ กฤดากร ซึ่งมีโอรสกับม.ล.แส สนิทวงศ์คือ ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร บิดาของ ม.ล.ปิยาภัสร์ กฤดากร มารดาของ “ตั๊น จิตภัสร์”
อนึ่ง ม.ล.แส สนิทวงศ์ นั้นถือเป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับ ม.ล.บัว กิติยากร พระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมรสกับ ท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ผู้ตามเสด็จฯตกที่ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2540 โดยบุตรสาวคนโตระหว่าง ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กับ ท่านผู้หญิงวิยะฎา คือ ม.ล.ต้น ปิยาภัสร์ ซึ่งเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สายกฤดากร มาจาก ต้นสกุล “กฤดากร” คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้ากฤดาภินิหารพระราชโอรสองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับเจ้าจอมมารดากลิ่น กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์มีพระโอรส-ธิดา ทั้งสิ้น 14 พระองค์ โดยหนึ่งในพระโอรส คือ ม.จ.เสริมสวาสดิ์ กฤดากร ซึ่งมีโอรสกับม.ล.แส สนิทวงศ์คือ ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร บิดาของ ม.ล.ปิยาภัสร์ กฤดากร มารดาของ “ตั๊น จิตภัสร์”
**
ม.จ.สิทธิพร กฤดากร และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ผู้ร่วมก่อการและแกนนำ “กบฏบวรเดช” ที่พยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. 2476
|
|
|
ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏผู้ร่วมก่อการกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ใน “กบฏบวรเดช” เมื่อ พ.ศ. 2476 ถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คุมขังที่เรือนจำบางขวาง แล้วย้ายไปคุมขังที่ทัณฑนิคม เกาะตะรุเตา ก่อนย้ายมาเกาะเต่า ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ.2487
สายเลือดและสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลสำคัญในสกุลกฤดากร อย่าง “พระองค์เจ้าบวรเดช-ม.จ.สิทธิพร” ผู้นำกบฏบวรเดชพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร กับ “จิตภัสร์ กฤดากร ณ อยุธยา” จึงกลายเป็นความบังเอิญในรอบ 80 ปี ที่ใครหลายคนถึงกับอุทานว่า “เหลือเชื่อ” ดังที่ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เคยกล่าวไว้ว่า
“ก่อนหน้านี้ มีนักวิชาการประณามกระบวนการของมวลมหาประชาชนภายใต้การนำของลุงกำนันว่าเป็น “กบฏอนุรักษ์นิยมครั้งที่ 2” ต่อจากครั้งแรกคือกบฏบวรเดชเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2476 อยู่แล้ว พอ “ตั๊น” จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี มีอันต้องเปลี่ยนนามสกุลเป็น “กฤดากร ณ อยุธยา” ก็เลยเข้าทางพากันชี้นิ้วว่าเห็นมั้ยๆ นี่คือสายตระกูลของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช (พระนามเดิมคือ ม.จ.บวรเดช กฤดากร) ผู้ก่อกบฏอนุรักษ์นิยมครั้งแรกเมื่อปี 2476 ไง
“ที่จริง เธอเป็นหลานตาทวดคนหนึ่งของ ม.จ.เสริมสวาสดิ์ กฤดากร ผู้เป็นโอรสร่วมบิดาเดียวกับ ม.จ.บวรเดช กฤดากร ”